ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เที่ยวเมืองสงขลา ตอนที่ 2 ย่านเมืองเก่าสงขลา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

หลังจากที่เรารู้จักสถานที่ท่องเที่ยวสงขลาทั้งทะเลที่ขึ้นชื่อ จุดชมวิวที่สวยงาม และพิพิธภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรามาเรียนรู้เรื่องราววิถีชีวิต ความเป็นมาของชาวสงขลา ผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมกันบ้าง สำหรับคนหลงรักย่านเก่า เสน่ห์ของตึกไม้ และรอยยิ้มของผู้คน  ย่านเก่าสงขลา มีครบทุกคำตอบให้คุณค่ะ

ย่านเก่าสงขลา

นั่งรถโดยสารออกจากที่พักแต่เช้ามุ่งหน้าเข้าตัวเมืองสงขลา เพื่อจะมารื้อฟื้นอดีตถ่ายภาพบ้านไม้เก่าแก่ สวยๆ ที่ย่านตัวเมือง แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ต้องหาอะไรรับประทานก่อนค่ะ มาที่ร้านนี้ตามคำแนะนำของคุณลุงคนขับคนเดิมบอกว่า ถ้าข้าวแกงต้องยกให้ร้านเขาน้อย แต่ถ้าถ้าข้าวหมูกรอบ หมูแดง ข้าวหน้าเป็ด ต้องร้านนี้เลยหนู  คนท้องถิ่นแนะนำมาอย่างนี้มีหรือจะไม่ลอง มื้อเช้าในวันที่ 2 ของเรา จึงขอฝากท้องที่ร้านนี้ ร้านแสงทอง  จัดข้าวหน้าเป็ดมา 1 จาน รสชาติก็ถือว่าอร่อยในระดับนึงเลยทีเดียว 

หลังจากทานข้าวเสร็จแล้วก็นั่งมอเตอร์ไซต์มุ่งหน้ามาที่ย่านเมืองเก่าสงขลา บอกคนขับว่าไปถนนนครนอก นครในที่เป็นย่านเก่า เพียงไม่ถึง 5 นาทีก็นำพาเรามาถึงจุดเริ่มต้นของการเดินชมย่านเก่าที่ ประตูเมืองสงขลา ลักษณะการก่อสร้างผสมผสานศิลปะแบบจีนเข้ามาด้วย ย่านเก่าสงขลา มีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และ ถนนนางงาม  ถ้าเรามองมาที่ภาพประตูเมือง จะเห็นถนนขนาบข้าง 2 สาย ด้านซ้ายคือ ถนนนครนอก และด้านขวาคือ ถนนนครใน  เป็นถนนที่ขนานและเชื่อมต่อถึงกันด้วยซอยเล็ก ๆ ส่วนถนนนางงามก็จะอยู่ถัดจากถนนนครใน

ปัจจุบันถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงามยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ มีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิคสไตล์ ชิโนโปรตุกีส  และยังมีอาคารตึกแถวแบบจีนโบราณของชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่ปะปนกันทั้งสองฟากฝั่งถนน โดยอาคารหลายหลังมี การปรับปรุง ทาสีใหม่ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารอาคารเก่าเหล่านี้สะท้อนภาพการเป็นเมืองสำคัญด้านการปกครอง และทางเศรษฐกิจมา แต่ครั้งสมัยธนบุรีอีกทั้งการเป็นเมืองท่าติดทะเลทำให้ได้รับวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติ ผสมผสาน กันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัวแบบสงขลา ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือสิ่งปลูกสร้าง แม้ ปัจจุบันการค้าขายสมัยใหม่จะ ย้ายไปรวม ฐานที่หาดใหญ่ แต่ตึกเก่าที่คงสภาพอยู่กันอย่างหนาแน่นเหล่านี้ ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความรุ่งเรืองในอดีต และวัฒนธรรมที่ ผสมกลม กลืนกันมาอย่างแนบแน่นยาวนาน

การเดินเล่นชมเมืองเก่าหากตั้งใจมาเก็บภาพในแบบที่แสงสวย และไม่ร้อนมาก แนะนำให้มาแต่เช้าแต่ร้านค้าส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เปิด หรือไม่มาอีกครั้งในช่วงบ่ายแก่ๆ ไปแล้วก็ย่อมได้ แต่ถ้าเน้นเดินเล่น กินช้อป ก็น่จะหลัง 11 โมงไปแล้ว เพราะร้านค้าส่วนใหญ่ก็จะเริ่มทยอยเปิดกัน และที่สำคัญรถที่วิ่งผ่านไปมาบนถนนเส้นนี้ขับเร็วมากเดินให้ระวังนิดนึงค่ะ เพราะอาจโดนรถสอยได้ (ทั้งที่จริงๆแล้วถนนแคบแบบนี้ ชะลอช้าลงหน่อยก็ได้ )

ฉันเริ่มเดินจากถนน นครนอก  ถนนเส้นนี้ยังมีบ้านและตึกเก่าไม่มากนัก เดินไม่นานก็สุดซอยก็ตัดผ่านซอยเล็กๆ เข้ามาถึงถนนนครใน ซึ่งถนนเส้นนี้ จะมีตึกเก่าให้เราได้ชมมากที่สุด แสงยามเช้าสาดส่อง ร้านค้าบ้างร้านยังคงไม่เปิดทำการ บ้านเรือนที่สร้างส่วนใหญ่ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งเป็นแบบไม้เก่าแก่ หรือแบบปูนที่มีลักษณะรูปแบบที่แปลกตาไป  มองไปที่บานหน้าต่างคล้ายๆกับมีใครมาวาดไว้  บ้านชั้นเดียวหลังคามุงกระเบื้องแบบลาดเอียง สามารถแทกตัวท่ามกลางบ้านโบราณสองหลัง  ดูแล้วเท่ห์จริง ตึกเก่าสองหลังตึกด้านซ้ายดูแล้วแปลกตาดีค่ะ โดยเฉพาะหน้าต่าง

ถนนนครใน นครนอก จะมี ถนนเล็กๆ เชื่อมต่อถนนทั้งสองสาย สามารถเดินลัดเข้ามาได้ เรียกชื่อแตกต่างกันค่ะ มีทั้งถนนยะละ ปัตตานี  เดินมาเรื่อยๆ เกือบจะถึงต้นซอยของถนนนครใน เจอบ้านเก่าหลังนี้มีรถมอเตอร์ไซต์โบราณอยู่ด้านหน้าได้บรรยกาศสุดๆ  หน้าต่างโบราณประดับประดาด้วยกระจกสี  หน้าต่างของบ้านข้างๆ กันเป็นทรงสี่เหลี่ยม  บรรยากาศของถนนนครในยามเช้ายังเวียบสงบอยู่ ใช้เวลาเดินไม่นานเข้ากับถนนทั้งสองสายเพราะเป็นเพียงถนนสายสั้น ๆ นั่งพักสักครู่ ก็เดินมายัง ถนนถัดไป คือ ถนนนางงาม ที่มาของชื่อเนื่องมาจากนางงามของสงขลาบ้านอยู่ในถนนเส้นนี้  ถนนเส้นนี้เป็นถนน มากไปด้วย อาหารคาวหวานท้องถิ่นอันเลื่องชื่อซึ่งเอกลักษณ์ของถนนนางงามไปเสียแล้ว รวมทั้งมีร้านขายของฝากให้เราได้เลือกช้อปอีกด้วย ฝากท้องกับอาหารมื้อกลางวันไว้ที่ร้านนี้ค่ะ มีให้เลือกหลากหลายเมนู  สั่งเกาเหลาต้มยำปลากระพงมากิน  ชามใหญ่อร่อยเนื้อปลาสดมาก 

ร้านค้ายาเก่าแก่ คุณป้าเจ้าของร้านใจดีมาก เห็นกำลังถ่ายภาพมาเปิดผ้าคลุมที่ปิดตู้ยาไว้ให้ ชาวสงขลาน่ารักและเป็นมิตรจริงๆค่ะ เดินไปทางไหนก็จะพบเห็นแต่รอยยิ้ม  แวะซื้อของฝากกันบ้าง ที่ร้านขายไทย แขนมพื้นบ้านหลายร้านให้เลือกค่ะ  แต่ละร้านสังเกตจากป้ายมีคุณภาพการันตีจากสื่อต่างๆมาแล้ว

จบทริป 2 วัน ของการมาเที่ยวเมืองสงบ และอบอุ่นด้วยรอยยิ้ม ได้รู้จักเมืองสงขลาเกือบทุกแง่มุม ทำให้ฉันรู้สึกว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมาของการท่องเที่ยวฉันมองข้ามไปได้อย่างไร ทั้งๆที่เมืองนี้มีอะไรให้เราได้ท่องเที่ยวและเรียนรู้มากมาย ฉันรู้สึกขอบคุณโอกาสที่ทำให้ฉันได้มาเที่ยวสงขลาเร็วขึ้นหลังจากที่ผลัดจะไปมาหลายครั้งแต่ก็ไมได้ไปซักที  ณ ตอนนี้บอกได้เลยว่าฉันหลงรักสงขลา เข้าอย่างจังและตั้งใจไว้แล้วว่าจะกลับมาที่นี่อีกแน่นอน

-----------------------
(ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก เว็บไซต์ www.paiduaykan.com)

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com