ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานมรหุ่ม ( สุสานสุลต่าน สุไลมาน )
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ประวัติความเป็นมาของ สุลต่าน สุไลมาน (พระเจ้าเมืองสงขลาที่๑)

พระเจ้าเมืองสงขลา หรือ สุลต่าน สุไลมาน เป็นเจ้าเมืองสงขลาสมัยอยุธยาระหว่างปี พ.ศ. 2162-2211 เป็นผู้สร้างเมืองสงขลาริมเขาแดง ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ระหว่างครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 2 ถึงตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ความรุ่งเรืองของเมืองสงขลายุคนี้ เกิดจากการขยายตัวทางด้านการค้าของดัตช์ อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะบริเวณแหลมมาลายูและหมูเกาะอินโดนีเซียหรือเรียกกันสมัยนั้นว่า “หมู่เกาะอินเดียตะวันออก” เรื่องราวของเมืองสงขลายุคนี้ ส่วนใหญ่จึงปรากฏในเอกสารของชนชาติเหล่านั้น น่าแปลกใจที่ไม่มีเอกสารร่วมสมัยของฝ่ายไทยกล่าวถึงเรื่องนี้เลย มีเฉพาะพงศาวดารเมืองสงขลา ซึ่งเขียนขึ้นตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เท่านั้น ที่กล่าวไว้อย่างง่ายๆ ในเอกสารของชาวตะวันตก เรียกชื่อพระเจ้าเมืองสงขลาแตกต่างกัน เป็นต้นว่าของดัตช์ เรียกว่า “โมกุล” ของอังกฤษเรียกว่า “ดะโต๊ะ โมกอลล์) ในขณะที่ทางฝ่ายไทยโดยเฉพาะพงศาวดารเมืองสงขลา เรียกว่า “สุลต่าน สุเลมัน” และชาวเมืองสงขลารู้จักจากเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาว่า “สุลต่าน สุไลมาน”หรือ “ตามรหุม”

ในบันทึกของพ่อค้าฝรังเศส ซึ่งเข้ามาติดต่อกับไทยในปี พ.ศ. 2270 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หลังจากอยุธยาทำลายเมืองสงขลาแล้ว 7 ปีว่า พระเจ้าเมืองสงขลาเป็นแขกมาลายู ซึ่งตามความหมายของไทย ก็หมายถึง พวกมาเลย์บริเวณปลายแหลมมาลายู แต่ถ้าพิจารณาดูจากหลักฐานร่วมสมัยจริงๆ คือบันทึกของพ่อค้าชาวดัตช์แล้ว กลับกล่าวถึงไพล่พลของพระเข้าเมืองสงขลาในสมัยนี้ว่า “..มีกำลังกำยำล่ำสันชำนาญในการสู้รบ คุ้นเคยกับการใช้ปืน ทั้งปืนเล็กและปืนใหญ่..” กลุ่มชนชาวมาเลย์ที่มีลักษณะเช่นนี้ก็มีแต่พวกบูกิสหรือที่เรียกในพงศาวดารไทยว่า “พวกมักกะสัน” เท่านั้น พวกบูกิสมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่หมู่เกาะซีลีเบส ได้ก่อตั้งอาณาจักรกัสซาร์ ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2054-2203 ทำการค้าเครื่องเทศบริเวณหมู่เกาะเครื่องเทศมาก่อน แต่หลังจากดัตช์ขับไล่อังกฤษและพ่อค้าชาวพื้นเมืองโดยเฉพาะพวกบูกิส ออกจากหมู่เกาะเครื่องเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2162 แล้ว พวกบูกิสบางส่วนจึงออกเร่ร่อนอยู่น่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะพ่อค้า โจรสลัด และทหารรับจ้าง จึงเป็นไปได้อย่างมากที่เดียวที่พระเจ้าเมืองสงขลาและไพร่พลเป็นพวกบูกิสที่หลบหนีการสู้รบมาตั้งมั่นที่เมืองสงขลา โดยมีพวกมาเลย์กลุ่มอื่นๆ ที่ต่อต้านการผูกขาดการค้าของดัตช์บริเวณหมู่เกาะร่วมด้วย กล่าวคือร่วมกันพัฒนาเมืองสงขลาขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ ที่อยู่ห่างจากศูนย์แห่งอำนาจของไทย ดัตช์และโปรตุเกส จะเป็นพวกบูกิสหรือไม่ก็ตาม แต่พระเจ้าเมืองสงขลาจะต้องเป็นแขกมาลายูและนับถือศาสนาอิสลาม เข้ามาสร้างเมืองอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2162 เป็นต้นมา
โดยระยะแรกคือตั้งแต่ พ.ศ. 2162-2188 ในระยะ 23 ปี พระเจ้าเมืองสงขลายังเป็น “ข้าหลวงของพระเจ้ากรุงสยาม” อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช และมีความใกล้ชิดเป็นกรณีพิเศษกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ นายจอห์น จอร์แดน เคยรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ของบริษัทอังกฤษ ที่กัลกัตตาในปี พ.ศ. 2126 ว่า “…เราเห็นว่าจะไม่เป็นการผิดหวัง หากคิดสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นที่สงขลา ซึ่งอยู่ไปทางเหนือของปัตตานี้เป็นระยะทางประมาณ 24 ลีก อยู่ภายใต้การปกครองของดะโต๊ะ โมกอลล์ ข้าหลวงของพระเจ้ากรุงสยาม ข้าพเจ้าคิดว่าเราอาจใช้สงขลาเป็นที่ตระเวนหาสินค้าจากบริเวณใกล้เคียง เพื่อจัดส่งให้ห้างของเราที่กรุงสยาม โคชินไชนา บอร์เนียวและญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี..เชื่อว่าต่อไปคงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งแหล่งพักสินค้าที่ขึ้นที่นี่เพราะค่าใช้จ่ายในปัตตานีแพงมาก ทั้งยังไม่ค่อยได้รับความสะดวกอีกด้วย การตั้งสินค้าขึ้นที่สงขลาเสียค่าโสหุ้ยน้อยกว่าที่ปัตตานี เพราะที่สงขลาไม่ต้องเสียภาษีอากรเลยเพียงแต่ยอมเสียของกำนัลให้แก่ ดะโต๊ะ โมกอลล์ เพียงเล็กน้อยก็อาจนำสินค้าผ่านไปได้..

จึงเป็นไปได้ว่าการก่อตั้งเมืองสงขลาครั้งนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากเจ้าหน้าที่ของบริษัทอังกฤษ ซึ่งต้องการทำการค้าแข่งกับสถานีการค้าของบริษัทดัตช์ที่ปัตตานี หลังจากอังกฤษถูกขับไล่ออกจากหมู่เกาะเครื่องเทศในปี พ.ศ. 2175 เพราะปรากฏหลักฐานในระยะต่อมา เมืองสงขลาได้ชักชวนพ่อค่าต่างชาติ เข้าไปทำการค้าจนกิจการขยายออกใหญ่โตมาก ทำให้เจ้าหน้าที่บริษัทของดัตช์เริ่มกังวล จึงเดินทางไปยังเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเจรจาผูกขาดการค้าในเมืองสงขลาและกีดกันอังกฤษ แต่ทางฝ่ายนครศรีธรรมราชได้ปฏิเสธอย่างแนบเนียน ดัตช์ไม่สามารถจะเข้าไปผูกขาดการค้าในเมืองสงขลาเพียงแต่ขอร้องให้เปิดเมืองสงขลาเป็นเมืองท่าเสรี ซึ่ง ทางฝ่ายไทยก็ไม่ขัดข้อง ระหว่างปี พ.ศ. 2164-2185 สภาพแวดล้อมหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าในกรุงศรีอยุธยา หรือบริเวณปลายแหลมมาลายูและหมู่เกาะ ล้วนเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเมืองสงขลาทั้งสิ้น ระหว่างปี พ.ศ.2164-2166 อังกฤษและพ่อค้าชาวพื้นเมืองทั้งหมดถอนกิจการค้าจากหมู่เกาะเครื่องเทศดัตช์กลายเป็นชาติที่มีอำนาจสูงสุดบริเวณหมู่เกาะ กีดกันต่างชาติโดยใช้นโยบายทำสัญญาผูกขาดการค้ากับผู้ผลิตชาวพื้นเมืองพ่อค้าต่างชาติบางส่วนจึงเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานในเมืองสงขลาเพิ่มขึ้นจากนโยบายการค้าเสรีในขณะเดียวกันทางฝ่ายอยุธยากำลังประสบปัญหายุ่งยากภายใน เนื่องจากการตั้งตนเป็นกษัตริย์ของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ หรือพระเจ้าปราสาททอง ทางหัวเมืองภาคใต้เองก็วุ่นวายจากสงครามปราบกบฏเมืองนครศรีธรรมราชและปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ. 2167-2177 สงครามที่เกิดในเมืองทั้งสองคงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้พ่อค้าต่างชาติเข้ามาติดต่อเป็นลุกค้ากับเมืองสงขลามากขึ้น ขณะเดียวกันไพร่พลที่หลบหนีสงครามก็คงจะไปพึ่งผู้มีอิทธิพลคนใหม่คือพระเจ้าเมืองสงขลา จนเมืองสงขลาเข้มแข็งมั่งคงขึ้น

ในที่สุด พ.ศ.2185 พระเจ้าเมืองสงขลาถือโอกาส “ปลดแอกจากไทย” โดยไม่รทราบสาเหตุ กบฎเมืองสงขลาครั้งนั้นปรากฏในบันทึกของพ่อค้าฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเมืองไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในปี พ.ศ. 2230 หลังจากอยุธยาทำลายเมืองนี้ไปแล้ว 7 ปี “…เมือปี พ.ศ.2185 มีแขกมาลายูคนหนึ่งได้ไปตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองสงขลาและได้กบฏต่อพระเจ้ากรุงสยาม แขกมาลายูที่ได้ทำป้อม คู ประตู หอรบ อย่างแข็งแรงแน่นหนา และในไม่ช้าก็ได้ชักชวนบรรดาพ่อค้าทั้งหลายให้ไปทำการค้าขายในเมืองสงขลาอย่างใหญ่โตมาก ฝ่ายไทยก็ยกกองทัพไปปราบหลายครั้ง แต่ก็แพ้มาทุกทุกคราวพอสักหน่อยแขกมาลายูนี้ก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์เรียกกันว่า “พระเจ้าเมืองสงขลา”

พระเจ้าเมืองสงขลาคนที่ 1 (พ.ศ.2185-2211) ปกครองเมืองสงขลาเป็นอิสระจากไทยนานถึง 26 ปี ตลอดรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยที่ทางฝ่ายไทยต้องยอมรับรับอำนาจของพระเจ้าเมืองสงขลาในระยะต่อมา เพราะเมืองสงขลาในครั้งนั้นเป็นเมืองป้อมที่แข็งแกร่งคล้ายๆ กับบรรดาเมืองป้อมยุคเดียวกัน เช่น ปัตตาเวีย มะละกา เบนคูเลน เป็นต้น สงขลายังได้เปรียบที่มีทะเล ภูเขา และคลองขุดล้อมรอบเกือบทุกด้าน มีกำแพงเมืองและป้อมเมืองเรียงรายอยู่รอบเมือง ตัวเมืองไม่ใหญ่โตนักมีพื้นที่ภายในตัวเมืองเพียง 1 ตารางกิโลเมตรหรือ 625 ไร่เท่านั้น ขนาดเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชยุคเดียวกัน ป้อมปราการที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีบางป้อมที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ทุกอย่าง ชี้ให้เห็นว่าเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่ใช่ของเอเชีย ช่วงที่ก่อสร้างก็อาจจะเป็นอังกฤษหรือโปรตุเกส ความแข็งแกร่งของป้อมสามารถที่จะชี้เจตนาของผู้สร้างไว้ว่า ต้องการตั้งมั่นที่เมืองสงขลาอย่างถาวร
หลังจากพระเจ้าเมืองสงขลาที่ 1 สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2211 โอรสได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าเมืองสงขลาที่ 2 (มุสตาฟาร์) พ.ศ.2211-2223 ระยะนี้เองที่เมืองสงขลาเริ่มแผ่แสนยานุภาพ ไปยังหัวเมืองใกล้เคียงโดยเฉพาะเมืองพัทลุงและปัตตานี

มีหลักฐานยืนยันว่า สงขลาได้ทำสงครามยืดเยื้อกับปัตตานีเป็นเสลา 7-8 ปี คือระหว่างปี พ.ศ.2214-2221 ดังปรากฏในบันทึกของเจ้าหน้าที่บริษัทอังกฤษเมืองสุรัต ในอินเดียในช่วงเดียวกันว่า “…การศึกระหว่างราชาแห่งปัตตานีกับเจ้าเมืองสงขลา ยังคงดำเนินต่อไปแม้พระเจ้ากรุงสยามจะได้จัดส่งคณะราชทูต ไปเจรจาไกล่เกลี่ยให้ทั้ง 2 คืนดีกันก็ตาม เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระองค์อยู่มากเพราะหากว่าทั้ง 2 เมืองยังไม่สามารถปรองดองกันได้แล้ว ก็จะไม่อาจขนสินค้าสินค้าจำพวกผ้า หรือช้างลงมาได้โดยปลอดภัย ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการค้าอย่างใหญ่หลวง ราชาแห่งปัตตานีนั้นไม่ประสงค์ที่จะสงบศึก เพราะยังเชื่อว่าตนมีไพร่พลมากมาย ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ประสงค์จะสงบศึกด้วยเหมือนกัน แม้ว่าฝ่ายสงขลาจะมีไพร่พลถึง 1 ใน 4 ของอีกฝ่ายหนึ่งก็ตาม แต่มีไพร่พลที่มีพละกำลังล่ำสัน และชำนาญในการยุทธวิธีและคุ้นเคยกับการใช้ปืนมาก่อน ทั้งปืนขาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นทหารส่วนมากเป็นทหารฝึกใหม่ การรบยืดเยื้อมาหลายปี ในปี พ.ศ. 2221 เมืองทั้งสอง ก็ยังมีภาวะสงครามต่อกัน”

การเมืองบริเวณปลายแหลมมาลายู ระหว่างปี พ.ศ. 2185-2223 จึงมีลักษณะเป็นการถ่วงดุลอำนาจแบบ 3 เส้าระหว่างนครศรีธรรมราช มีอยุธยาเป็นฝ่ายอุปถัมภ์อยู่เบื้องหลังกับปัตตานีมีบริษัทดัตช์อยู่เบื้องหลัง และสงขลาซึ่งอาจจะมีบริษัทอังกฤษอยู่เบื้องหลัง การถ่วงดุลแบบ 3 เส้า ดำเนินไปเกือบ 40 ปี โดยทางฝ่ายอยุธยาพยายามจะทำลายระบบดุลแห่งอำนาจดังกล่าวเมื่อโอกาสอำนวย เพื่อดึงเอาศูนย์อำนาจย่อยๆ เหล่านี้เข้าสู่ศูนย์แห่งพระบรมเดชานุภาพส่วนกลางตลอดมาตามระบบบรรณาการ

ในปี พ.ศ.2221 ปัตตานี ซึ่งปลีกตัวเป็นอิสระจากไทยนานกว่า 40 ปี ยอมอ่อนน้อมต่อไทยอีกครั้ง ทำให้ดุลแห่งอำนาจเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทางฝ่ายไทยถือโอกาสขณะที่เมืองสงขลาโดดเดี่ยว เพิ่มอิทธิพลของเมืองสงขลาลง โดยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้ส่งทหารเอกคู่ใจคือพระยารามเดโช ลงมาเสริมสร้างอำนาจในเมืองนครศรีธรรมราช ในฐานะเจ้าเมืองคนใหม่และเริ่มประสานกำลังกับส่วนกลางเข้าตีเมืองสงขลาในปี พ.ศ.2223 ซึ่งเข้าใจว่าคงได้รับการสนับสนุนจากปัตตานี คู่อริเก่าของเมืองสงขลาด้วย ทางฝ่ายสงขลาก็คงยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทอังกฤษ กองทหารไทยจึงได้รับการต่อต้านอย่างเข้มแข็งในระยะแรก ต่อมาจึงหันไปใช้กลอุบาย กล่าวคือ แม่ทัพไทยลอบติดต่อเกลี้ยกล่อมผู้รักษาป้อมเมืองสงขลาคนหนึ่งได้สำเร็จ จึงสามารถเข้ายึดและเผารักษาป้อมเมืองสงขลาเสียย่อยยับ หลังจากเป็นอิสระอยู่นานถึง 38 ปี พระบรมเดชานุภาพแห่งกษัตริย์ไทยเริ่มแผ่ไปทั่วแหลมมาลายูอีกครั้ง หลังจากถูกบดบังมานาน การยึดและทำลายเมืองสงขลาครั้งนี้ มองซิเออร์ เวเรต์ พ่อค้าฝรั่งเศส ได้รายงานไปยังรัฐบาลของตนในปี พ.ศ. 2230 ว่า “…พระเจ้าเมืองสงขลา เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่จนสิ้นพระชนม์บุตรของพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ได้ครอบครองเมืองสงขลาต่อไป ครั้นเมื่อ 6 ปีที่ล่วงมาแล้ว พระเจ้ากรุงสยามได้ส่งกองทัพเรือซึ่งมีเรือรบเป็นอันมาก ให้มาตีเมืองสงขลาอย่างสามารถ และได้จับตัวไปได้ ก็โดยที่ผู้รักษาการป้อมแห่งนี้ได้คิดประทุษร้ายคือ ไทยได้ล่อลวงเกลี้ยกล่อมให้ผู้รักษาป้อมนี้ เอาใจออกหางจากนายของตนแล้วไทยจึงได้เข้าในป้อม แล้วเอาดอกไม้เพลิงโยนเข้าไปในเมือง เพลิงได้ติดลุกลามไหม้วังของพระเจ้าเมืองสงขลาจนหมดสิ้น ในระหว่างที่เกิดชุลมุนกันในเมือง ช่วยกันดับเพลิงนั้น ไทยก็ได้ยกทัพเข้าไปในเมืองได้ ไทยจึงได้ทำลาย ป้อม คู หอรบ และบ้านเรือน จนเหลือแต่แผ่นดินเพราะเกรงจะมีคนอื่นมาตั้งมั่นคิดกบฏอีก” และด้วยเหตุผลข้างต้นนี้เอง พระเจ้าเมืองสงขลาจึงไม่ปรากฏชื่อในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับใดๆ เลย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยขณะนั้นจงใจที่จะลืมเหตุการณ์เหล่านี้เสีย แม้แต่ชื่อของพระเจ้าเมืองสงขลา ก็ไม่มีบุตรหลานคนใดบันทึกไว้ นอกจากชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยเกือบจะผิดซ้ำสอง

เมื่อยกเมืองสงขลาให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์ แต่นับว่าโชคดีของชาวสงขลาในครั้งนั้นเพราะฝรั่งเศสได้ปฏิเสธว่าเป็นเมืองร้างสำนึกแห่งอดีตของสงขลา สมัยพระเจ้าเมืองสงขลาหรือสุลต่าน สุไลมาน จึงถูกลืมโดยจงใจจากส่วนกลาง แต่ความเปิดเผยและใจกว้างของเมืองสงขลายุคนั้น ทำให้โศนาฎกรรมที่พวกเขาได้รับแต่มีมีโอกาสบันทึกไว้ มีชาวต่างชาติในดินแดนอัสดงคตที่ห่างไกล ได้บันทึกไว้อย่างตรงไปตรงมา สำนึกแห่งอดีตเหล้านี้ ไม่ได้เป็นไปตามตำนานหรือวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับ “ตามรหุม” และ “ทวดหัวเขาแดง” ของชาวเมืองสงขลาอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นสำนึกแห้งอดีตที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีที่แล้ว สุสานสุลต่านสุไลมาน ซาร์ ตั้งอยู่ริมทางสายสิงหนคร-ระโนด ใกล้กับที่ว่าการอำเภอสิงหนคร มีลักษณะเป็นสุสานที่ทำศาลาครอบไว้ และมีจารึกภาษาอาหรับบอกไว้ว่า สุลต่านสุไลมานเป็นบุตรของดาโต๊ะโมกอลหรือโมกุล ซึ่งเป็นผู้สถาปนาเมืองสงเมืองสงขลาฝั่งเขาแดงและสุลต่านสุไลมานก็ได้เป็นข้าหลวงใหญ่ในแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น สุลต่านสุไลมานจึงได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่า “พระเจ้าเมืองสงขลาที่ 1″ และได้ประกาศเอกราชเป็นกบฏแข็งเมือง แต่ต่อมากรุงศรีอยุธยาได้ส่งทัพมาตีแตกเมื่อปี พ.ศ. 2223


-------------------
ขอขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก http://www.kontaiclub.com/เจ้าเมืองสงขลา-สุลต่านส/

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    อำเภอหัวเขา  ตำบลสิงหนคร  จังหวัดสงขลา

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com