ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ตำหนักนิล - ที่ตั้งพระราชวัง
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

พื้นที่ตำบลตันหยงลุโละและตำบลบาราโหมเป็นที่ตั้งของพระราชวังปัตตานี ที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2000 โดยรายาศรีวังสา กษัตริย์แห่งโกตามหลิฆัย เมืองหลวงของลังกาสุกะในขณะนั้น เนื่องจากพระองค์เห็นว่าเมืองเดิมที่อยู่ลึกเข้าไปจากชายฝั่งทะเลถึง 12 กิโลเมตร ไม่มีความสะดวกในการติดต่อค้าขายทางเรือในอดีต เนื่องจากทางน้ำตื้นเขิน พ่อค้าและนักเดินเรือค้าขายกันแถบบริเวณปากน้ำและชายทะเลแทน เมื่อรายาศรีวังสาได้ทรงเดินทางมาพักผ่อนและล่าสัตว์ใกล้ชายทะเลดังกล่าวก็ทราบว่า สถานที่แห่งใหม่นี้มีความเหมาะสมกว่า อีกทั้งมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่มากมายแล้ว และมีหมู่บ้านดั้งเดิมชื่อ "ปตานี" ตามชื่อเรียกชายชราคนหนึ่งชื่อ เอ็นซิค ตานี (Encik Tani) ที่เข้ามาอยู่อาศัยรุ่นแรกๆ เมื่อได้เลือกบริเวณพื้นที่เป็นหาดทรายสวยงามแห่งหนึ่งแล้ว รายาศรีวังสาได้เกณฑ์ราษฎรช่วยกันสร้างเมืองแห่งใหม่ โดยสร้างพระราชวังขึ้นริมฝั่งคลองตรงข้ามกับหมู่บ้านปตานี เรียกบริเวณดังกล่าวว่า โกตา อิสตานา (Kota Istana) ส่วนตำหนักที่สร้างขึ้นเรียกว่า "อิสตานานิลัม" หรือ "ตำหนักนิล" ด้านหน้าพระราชวังได้ขุดคูเมืองเชื่อมต่อคลองปาปิรี (Papiri) กับคลองกรือเซะ ทำให้ที่ตั้งของบริเวณที่เป็นพระราชวังมีคูเมืองที่ขุดขึ้นและมีคลองธรรมชาติล้อมรอบทั้งสี่ด้าน พื้นที่เขตพระราชวังเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า มีพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร โดยทิศเหนือและทิศใต้ ยาวประมาณ 1,300 เมตร ส่วนทิศตะวันตกและทิศตะวันออกยาวประมาณ 800 เมตร พระราชวังอิสตานา นิลัม มีความวิตรตระการตา แม้ว่าพระราชวัง อาจจะไม่ใหญ่โตนัก ดังที่ปรากฎในบันทึกการเดินทางเรื่องการผจญภัยในดินแดนมลายูของ จอห์น สมิธ เมื่อ พ.ศ. 2142-2148 (The Advanture of John Smith in Malaya 1600-1605) ข้อความตอนหนึ่งเขียนว่า "วังของกษัตริย์คือกระท่อมหลังใหญ่ สร้างด้วยไม้ มีระเบียง ต่อกันโดยรอบ ผนังสร้างด้วยไม้กระดาน พื้นที่ใช้ปาล์มชนิดหนึ่ง ปูทับด้วยเสื่อไม้ไผ่ การตกแต่งเป็นไปอย่างวิจิตรตระการตา" นอกจากบันทึกของ จอห์น สมิธ แล้ว อีกหลายปีต่อมาก็ปรากฎข้อความในบันทึกของ จอห์น นิวฮอฟฟ์ (John Nieuoff) เมื่อครั้งเดินทางมายังปัตตานี เมื่อพ.ศ.2196 ได้กล่าวถึงบ้านเมืองและพระราชวังที่ปัตตานี ข้อความตอนหนึ่งเขียนว่า "สภาพบ้านเมืองทั่วไปสร้างด้วยไม้และไม้ไผ่ ใช้ฝีมือการสร้างอย่างปราณีตสวย งาม ตัวเมืองและชานเมืองมีบ้านเรือนต่อกันเป็นแนวยาว พระราชวังของพระราชาและตำหนักต่างๆ ในพระ ราชวังสร้างอย่างสวยงาม" พระราชวังอิสตานานิลัม ใช้เป็นที่พักนักของกษัตริย์ต่อเนื่องมาหลายรัชสมัย แม้ ว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งและความไม่สงบกิดขึ้นทั้งเป็นเรื่องของภายในพระราชวังและความขัดแย้งกับเมือง อื่นๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ตาม


ปัตตานีเป็นสมรภูมิสงครามหลายครั้ง ในที่สุดสงครามกับสยามเมื่อ พ.ศ.2329 ตำหนักและพระราชวังถูกทำลาย คงเหลือเพียงร่องรอยที่ตั้งของพระราชวังและบ่อน้ำ 3 บ่อ หรือบ่อน้ำรูปดอกจิก ซึ่งกล่าวกันว่า คือ บ่อน้ำประจำราชสำนักพร้อมกับแผ่นหินปูพื้นขนาดใหญ่ยังคงที่ปรากฎเป็นหลักฐานสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------

    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com