ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 9 ซิงกอร่า – ลังกาสุกะ – รัฐเคดาห์ – ปีนัง – มะละกา ย่านสงขลาเมืองเก่า –กำแพงเมืองสงลา –พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา มัสยิดกรือเซะ – เจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว – พิพิธภัณฑ์ข้าว – ปีนัง เตลุกอินตัน รัฐเปรัค – มะละกา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

กำหนดการเดินทาง


วันแรก สงขลา-ปัตตานี

  • 07.00 น. รับประทานอาหาร 
  • 08.30 น. จากนั้นออกเดินทางสู่ย่านสงขลาเมืองเก่า ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง มีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และ ถนนนางงาม เป็นถนนที่ประกอบไปด้วยอาคารและสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวสงขลา ผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรม   เมื่ออดีตราว 200 ปีก่อน ตัวเมืองสงขลาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า "เมืองสงขลา ฝั่งแหลมสน" ย่านเมืองเก่า สงขลา ปัจจุบันถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงามยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ มีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิคสไตล์ ชิโนโปรตุกีส  และยังมีอาคารตึกแถวแบบจีนโบราณของชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่ปะปนกันทั้งสองฟากฝั่งถนน โดยอาคารหลายหลังมี การปรับปรุง ทาสีใหม่ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารอาคารเก่าเหล่านี้สะท้อนภาพการเป็นเมืองสำคัญด้านการปกครอง และทางเศรษฐกิจมา แต่ครั้งสมัยธนบุรีอีกทั้งการเป็นเมืองท่าติดทะเลทำให้ได้รับวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติ ผสมผสาน กันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัวแบบสงขลา ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือสิ่งปลูกสร้าง ชมย่านเมืองเก่าสงขลา กำแพงเมืองสงลา ชมสถาปัตยกรรมบ้านเรือยุคโคโลเนียลสไตล์ ถนนนางงาม นครนอก นครใน
  • 09.30 น. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ ตรงข้ามกำแพงเมืองจังหวัดสงขลา เป็นโบราณสถาน ของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน อายุกว่า 100 ปี ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ ของภาคใต้และของประเทศไทย  อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป สร้างเป็นตึกก่ออิฐ สอปูน 2 ชั้น หันหน้าสู่ทะเลสาบสงขลา
  • 11.00 น. เดินทางเข้าหาดใหญ่
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร ณ ร้านเจ๊ะการ์  จากนั้นเดินทางสู่ จังหวัดปัตตานี สักการะ
  • 14.30 น. เที่ยวชมวัดมุจลินทราปีวิหาร อำเภอหนองจิก ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาส ศูนย์กลางการปกครองเมืองหนองจิกเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งจวนเจ้าเมืองและที่ว่าการของผู้ว่าราชการเมืองมาหลายสมัย วัดตุยงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งให้กำเนิดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมแห่งแรกของมณฑลปัตตานี จากการที่ วัดมุจลินทวาปีวิหาร ได้มีการปรับปรุงกิจการจนเกิดความรุ่งเรืองก้าวหน้า เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอก ประเทศ จึงทรงมีพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดมุจลินทวาปีวิหารขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
  • 15.30 น. ไปอำเภอเมืองปัตตานีเที่ยวชมมัสยิดกรือเซะ มรดกอารยะธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลาง มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้เป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือเซ๊ะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
  • 16.00 น. สุสานเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
  • 17.00 น. ย่านเมืองเก่าปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญในอดีตค้าขายร่วมกับตะวันตก ชาวโปรตุเกส ชาวฮอลันดา เป็นต้น
  • 1.800 น. รับประทานอาหาร  ณ ห้องอาหารบุหงารายา พักผ่อนตามอะยาศัย
 
วันที่สอง ปัตตานี – มาเลเซีย  (อลอร์สตาร์-ปีนัง)    

  • 07.00 น. รับประทานอาหาร จากนั้นเดินทางสู่
  • 08.00 น. ด่านสะเดา เดินทางต่อไปเมือง อลอสตาร์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เที่ยวชมทัศนียภาพของเมืองอลอสตาร์ ณ หอคอย (Alor Star Tower) 
  • 09.00 น. พิพิธภัณฑ์ข้าว (Rice Museum) 
  • 12.00 น. รับประทานอาหารพื้นเมืองมาเลเซีย จากนั้นเดินทางสู่
  • 13.00 น. เมืองปีนัง เที่ยวชมย่านเมืองเก่า George Town (Penang World Heritage)
  • 15.00 น. ชมมัสยิดปีนัง และปฏิบัติศาสนกิจ
  • 16.00 น. ป้อมปืน สมัยอังกฤษปกครองมาเลเซีย 
  • 18.00 น. รับประทานอาหาร เดินทางสู่ที่พัก


วันที่สาม ปีนัง – เตลุกอินตัน รัฐเปรัค – มะละกา  

  • 07.00 น. รับประทานอาหาร จากนั้น
  • 08.00 น. เดินทางสู่เมืองเตลุก อินตัน (TelukIntan) รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย เที่ยวชมหอเอนที่มีอายุมากกว่า 200 ปี 
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร เดินทางต่อ
  • 15.00 น. ไปเมืองมะละกา เที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก (World Heritage Site) เช่น โบส์ถ์เซ็นต์พอล ป้อมปืนเอฟาร์โมซ่า ตึกแดง เรือสำเภาโบราณ
  • 18.00 น. ปฏิบัติศาสนกิจ ณ มัสยิดมะละกา จากนั้นรับประทานอาหาร และเข้าที่พัก
 
วันที่สี่ มะละกา – เดินทางกลับ   

  • 08.00 น. รับประทานอาหาร  จากนั้น
  • 09.00 น. นำคณะช้อปปิ้งสินค้าของที่ระลึก จากมะละกา ก่อนเดินทางกลับ
  • 12.00 น. เดินทางกลับที่หมาย 
  • 18.00 น. และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ  
 
                           ***โปรแกรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com