ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สงขลาเมืองเก่า ย้อนรอยวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในคาบสมุทรสทิงพระ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

รายละเอียดคำขวัญ : แหลงสงขลา ใส่ผ้าเกาะยอ นั่งสามล้อชมเมืองเก่า กินข้าวสตู ดูวิถีชีวิตตาล นมัสการหลวงปู่ทวด


เสน่ห์วิถีไทยในเส้นทางมรดกวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย

วิถีด้านภาษา :  การเชิญชวนใช้ภาษาถิ่นใต้สงขลาในการเยี่ยมชมโดยบันทึกเสียง แล้วเปิดในบริเวณพื้นที่จัดแสดง

วิถีด้านการแต่งกาย : ผู้ร่วมกิจกรรมแต่งกายด้วยผ้าทอเกาะยอ ซึ่งจะเป็นผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสงขลา มีลายผ้าที่มีการออกแบบโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น และได้รับพระราฃทานชื่อลายผ้า "ลายราชวัตร" ในพื้นที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายชุมชนตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา

วิถีด้านที่อยู่อาศัย : นำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับชุมชนเมืองเก่าถนนนครนอกนครใน  ซึ่งจะมีสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมกับชิโนโปตุกีส ในพื้นที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายในชุมชนตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา

วิถีด้านอาหาร : นำเสนอทนิทรรศการเกี่ยวกับอาหารข้าวสตู เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2480 จนถึงปัจจุบัน  ต้นตำรับของความอร่อยคือ โกลัก ซึ่งเป็นชาวจีนไหหลำที่เดินทางมาหากินในเมืองสงขลา และทั้งสองได้อาศัยอยู่ด้วยกัน เพราะโกลักไม่มีครอบครัวโกลักจึงได้ถ่ายทอดสูตรการทำสตูหมูไก่ จากครั้งที่เคยเป็นกุ๊กอยู่ในเรือฝรั่ง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วิธีการกินแบบดั้งเดิม สตูส่วนใหญ่จะรับประทานคู่กับเนื้อหมู 3 ชั้น เป็นอาหารประจำถิ่นของจังหวัดสงขลา อยู่บริเวณชุมชนเมืองเก่าของจังหวัดสงขลา บริเวณเก้าห้อง ถนนนางงาม ในพื้นที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา

วิถีด้านอาชีพ : นำเสนอวิถีชีวิตในเรืองของการประกอบอาชีพและงานศิลปะจักสาน ถักทอเส้นใยจากตาลโตนด ซึ่งจะมีมากในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งจะมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับตาลโตนด โดยการใช้ประโยชน์จากทุกๆ ส่วนของต้นตาลนำมาใช้ตั้งแต่ทำอาหาร ที่อยูู่อาศัย เครื่องใช้ โดยใช้ภฺมิปัญญาท้องถิ่นจะเป็นการสาธิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดในพื้นที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลคูขุด ตำบลท่าหิน ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ

วิถีด้านความเชื่อ : นำเสนอนิทรรศการ การบูชาหลวงปู่ทวดซึ่งเป็นพระเกจิที่เป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วประเทศ และที่สำคัญที่วัดพะโคะ ยังเป็นสถานที่กำเนิดของหลวงปู่ทวดทีมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลวงปูทวดตั้งแต่เด็ก ถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ ในพื้นที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลปากรอ อำเภอสทิงพระ

วิถีด้านศิลปะพื้นถิ่น : นำเสนอการแสดงการรำมโนราห์ ประกอบลีลาการเล่นดนตรีพื้นบ้านเครื่องดนตรีโนรา โดยใช้คนเล่นเครื่องดนตรีทั้ง ๕ ชิ้น เพียง ๒ คน ในพื้นที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com