ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

โปรแกรมที่ 3 สัมผัส ประวัติศาสตร์ 3 วัฒนธรรม ธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชน
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

โปรแกรมที่ 3 สัมผัส ประวัติศาสตร์ 3 วัฒนธรรม ธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชน 
กำหนดการเดินทาง  3 วัน 2 คืน

วันแรก   ปัตตานี – กับหัวเมืองประวัติศาสตร์
08.00 น.  คณะรับประทานอาหาร ณ ที่พัก จากนั้นออกเดินทางสู่
  • สักการะรูปเหมือนเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ณ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง กราบไหว้ขอพรจากเจ้าแม่ เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
  • ชมมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นับว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรูปทรงคล้ายกับ “ทัชมาฮาล” ประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ
  • เที่ยววัดวัดมุจลินทวาปีวิหารหรือวัดตุยง นมัสการหลวงพ่อดำถือเป็นวัดเก่าแก่และวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดปัตตานี ศูนย์กลางการปกครองเมืองหนองจิกเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งจวนเจ้าเมืองและที่ว่าการของผู้ว่าราชการเมืองมาหลายสมัย วัดตุยงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งให้กำเนิดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมแห่งแรกของมณฑลปัตตานี จากการที่ วัดมุจลินทวาปีวิหาร ได้มีการปรับปรุงกิจการจนเกิดความรุ่งเรืองก้าวหน้า เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอก ประเทศ จึงทรงมีพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดมุจลินทวาปีวิหารขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
  • ชมวังหนองจิก ซึ่งเป็น 1 ในวัง 7 หัวเมือง อยู่ที่บ้านตุยง  เจ้าเมืองหนองจิกคนสุดท้ายคือ พระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์ ฯ (พ่วง ณ สงขลา ) ได้ใช้วังนี้อยู่  สันนิษฐานว่าวังนี้สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2437  ตัววังนี้ที่เหลืออยู่ประกอบด้วยอาคารสองหลัง  เป็นอาคารชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร  อาคารที่เป็นตัววัง ถูกรื้อถอนไประหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา  อาคารที่เหลืออยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก
  • จากนั้นเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน มีต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลาคีรี ถูกค้นพบโดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว) อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ประกอบด้วยจุดเด่นตามธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง

12.00 น. รับประทานอาหาร  ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จากนั้น
  • นำคณะสัมผัสธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ชม “ผาพญางู”แหล่งท่องเที่ยวใหม่บนน้ำตกทรายขาวมีลักษณะคล้ายงูใหญ่ ใจดีสื่อถึงความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี
  • แวะซื้อสินค้า OTOP ของอำเภอโคกโพธิ์
  • เยี่ยมชมวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างไห้)เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปีนมัสการหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนในภาคใต้ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้
  • เยี่ยมชมถ่ายรูปกับมัสยิดโบราณควนลังงา 300 ปี ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ มัสยิดควนลังงา ๓๐๐ ปีแห่งนี้จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของพ่อท่านศรีแก้วกับโต๊ะอิหม่ามในยุคนั้น โดยสร้างแบบศิลปะประยุกต์ ผสมผสานระหว่างพุทธกับมุสลิม ภายในมีสถานที่ในการประกอบพิธีละหมาด แต่เมื่อมองจากภายนอกจะคล้ายคลึงกับโบสถ์ในศาสนาพุทธ"

17.30 น.    บริการอาหาร จากนั้นเดินทางกลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย 

------------------------------

วันที่สอง ปัตตานี –  กับตำนานแห่งชนเชื้อสายจีน
08.00 น.   บริการอาหาร ณ ที่พัก จากนั้นออกเดินทางสู่ 
  • ชมมัสยิดกรือเซะ มรดกอารยธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลาง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย  มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้เป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือเซ๊ะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
  • สักการะสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
  • เที่ยวชมและเรียนรู้วิถีชุมชน การทำนาเกลือ ที่บ้านตันหยงลุโล๊ะ   ตำบลตันหยงลุโละ  เป็นตำบลที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย  ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำประมง  ทำนาเกลือ  ค้าขาย  รับจ้างทั่วไป  และที่สำคัญสามารถเลี้ยงหอยได้ดี  นอกจากนี้ตำบลตันหยงลุโละยังเป็นที่ตั้งของมัสยิดกรือเซะ  และฮวงซุ้ยเจ้าแม่ลิ้มกอเหนียว  ซึ่งเป็นโบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดปัตตานี  และตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย  สามารถพัฒนาและปรับปรุงเป็นที่ท่องเที่ยวประจำตำบล  อำเภอ  จังหวัด  ได้ในอนาคต
  • เยี่ยมชมความสวยงามของวังเก่า“วังยะหริ่ง”สร้างขึ้นแบบสไตล์ยุโรป ผสมผสานศิลปกรรมพื้นเมืองและชวาซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางเมืองยะหริ่ง
12.00 น. รับประทานอาหารทะเล ที่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จากนั้น
  • สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนบางปู กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พายเรือคะยักเที่ยวชมป่าชายเลนและอุโมงค์ป่าโกงกาง ที่สวยงาม จากฝีมือของธรรมชาติ เป็นชุมชนประมงพื้นบ้านอาศัยบริเวณป่าชายเลนเป็นที่ทำกิน เป็นชุมชน มุสลิม ทั้งหมด เดิมทำการประมง พื้นบ้านประมาณ 70% เลี้ยงเป็ดไข่ 30% แต่ปัจจุบันอาชีพหลักค้าขายเสื้อผ้ามือสอง ยังคงเหลือประมงพื้นบ้านประมาณ 30% เป็นชุมชุนที่ไม่มีของมึนเมาแต่งกายสุภาพ เป็นต้น
  • ชมมัสยิดบ้านดาโต๊ะ สุสานดาโต๊ะและชมพระอาทิตย์ตกดินที่แหลมตาชี ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง หรือแหลมโพธิ์ เป็นหาดทรายขาวยื่นต่อจากหาดตะโละกาโปร์ไปในทะเลอ่าวไทยทางทิศเหนือยาว 11 กม. เป็นป่าสนทะเล หาดทรายขาวสะอาด เหมาะสำหรับตากอากาศและเล่นน้ำทะเล อยู่ในเขตตำบลตะโละกาโปร์ การเดินทางไปแหลมตาชีไปได้ 2 ทาง คือ ทางน้ำและทาง
17.30 น.  รับประทานอาหาร จากนั้นเดินทางกลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย


------------------------------

วันที่สาม ปัตตานี –  กับการเยือนถิ่นเมืองเก่า -  และความทรงจำ แห่งรัฐปัตตานี  
08.00 น.  บริการอาหาร ณ ที่พัก จากนั้น 
  • เดินทางสู่ เมืองเก่ายะรัง อ.ยะรัง ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรลังกาสุกะเป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่ปกครองตำบลยะรัง และตำบลวัด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนสมัยเริ่มแรกประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย  และเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า "ลังกาสุกะ" หรือ "ลังยาเสียว" ตามที่หลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ ย่อมแสดงว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญตั้งอยู่ใกล้ทะเล มีอาณาเขตกว้างขวางเป็นดินแดนที่มั่งคั่ง มีบทบาททางเศรษฐกิจการเมืองเกี่ยวข้องกับดินแดน ซึ่งมีความเจริญขึ้นและพัฒนาสืบต่อเรื่อยมาอีกหลายสมัย นับเวลาเป็นพันปี ดังที่มีหลักฐานเป็นร่องรอยของคูน้ำ-คันดิน คูเมืองและซากเนินดินโบราณสถานในท้องที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานีในปัจจุบัน
  • เที่ยวชมวังพิพิธภักดี วังเก่าที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก และ วังสายบุรี วังพิพิธภักดี อยู่ตรงข้ามวังสายบุรี  พระยาพิพิธภักดีบุตรชายเจ้าเมืองยะหริ่งได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเรือนหอ  เป็นอาคารไม้สองชั้น  ฝีมือช่างท้องถิ่นโดยนำแบบตะวันตก  และศิลปะท้องถิ่นมาผสมผสานกัน คือมีหน้ามุขแบบตะวันตก ลูกกรงบันไดเป็นลายปูนปั้นรูปดอกไม้  ผนังกั้นห้องภายในอาคารเป็นผนังโค้งศิลปะแบบตะวันตก  ช่องลมเป็นลวดลายพรรณพฤกษาศิลปชวา  ปัจจุบันวังนี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์
  • ชมหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือกอและ หมู่บ้านปะเสยะวอ อ.สายบุรี เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือ กอและ ซึ่งเป็นเรือประมงของชาวปัตตานีและนราธิวาส มีลักษณะเป็นเรือหัวแหลมท้ายแหลม ระบายสีสันงดงาม เรือกอและของชาวบ้านปะเสยะวอมีทั้งขนาดใหญ่ที่เป็นเรือประมงจริงๆ และขนาดเล็กที่จำลองขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึก ฝีมือการต่อเรือกอและที่นี่ได้รับการยอมรับว่าประณีตงดงามด้วยลวดลายที่ผสมกลมกลืนกันระหว่างศิลปะไทยและมุสลิม นอกจากนี้บ้านปะเสยะวอยังมีชื่อเสียงในการทำน้ำบูดูรสดีอีกด้วย
12.00 น. รับประทานอาหาร จากนั้นเดินทางต่อ
  • แวะชมทัศนียภาพยามบ่ายของหาดมะรวด หาดราชรักษ์ และหาดแฆแฆ อ.ปะนาเระ ลักษณะเป็นหาดทรายกว้างล้อมรอบด้วยโขดหินกลมมนน้อยใหญ่ มีเนินและหุบเขาเตี้ยๆ สามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม เหมาะสำหรับการพักผ่อนในช่วงเช้าและเย็น
  • เยี่ยมชม “ย่านบ้านเก่า”  แวะร้านเพชรฮาดี แหล่งทำเครื่องประดับเพชร ทอง นาก  ลายพื้นเมืองชื่อดัง และซื้อของฝากสินค้าโอท็อป เมืองปัตตานี
17.30 น.  เดินทางกลับที่หมาย และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ ด้วยรอยยิ้มและความประทับใจ   


***โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com