ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องนุ่งห่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ในปี พ.ศ.2485 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ออกพระราชบัญญัติยกฐานะกรมสาธารณสุข ซึ่งขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
แยกออกมาเป็นกระทรวงสาธารณสุข และมีนโยบายที่จะจัดตั้งให้มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด ครบทุกจังหวัด
ในปลายปี พ.ศ. 2491 กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการที่จะยกฐานะสุขศาลาเทศบาลเมืองยะลาขณะนั้น 
เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดยะลา
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ขณะนั้นคือ ขุนสนองเวชกรรม จึงได้ร่วมมือกับคณะกรมจังหวัดยะลา
ซึ่งมี นายประเสริฐ กาญจนดุล เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด อยู่วางโครงการที่จะยกฐานะสุขศาลา
ขึ้นเป็นโรงพยาบาลต่อไป

แต่ในระหว่างที่กำลังจะเริ่มดำเนินการนั้น ขุนสนองเวชกรรม ก็ได้ถึงแก่กรรมลง ทางจังหวัดจึงได้มีหนังสือขอตัว
นายแพทย์ชาญ บุญมงคล ซึ่งขณะนั้นกำลังรับราชการเป็นนายแพทย์โทอยู่ที่โรงพยาบาลนราธิวาส 
ให้มาช่วยราชการ

ในการยกฐานะสุขศาลาขึ้นเป็นโรงพยาบาลยะลา
นายแพทย์ชาญ บุญมงคล ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็น และปรับปรุงสถานที่เดิมในที่สุดโรงพยาบาลยะลาก็ได้ยกฐานะโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492 โดยมีนายแพทย์ชาญ บุญมงคล 
เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก โดยเมื่อแรกก่อตั้งนั้นโรงพยาบาลมีอาคารที่มีมาแก่แต่เดิมสมัยเป็น
สุขศาลา 6 หลัง ได้แก่
- เรือนคนไข้ 2 หลัง รับคนไข้ได้ 18 เตียง
- อาคารผ่าตัด มีห้องผ่าตัด 1 ห้อง
- โรงครัว, โรงเก็บศพ และบ้านพัก อย่างละ 1 หลัง
โรงพยาบาลยะลา ในขณะนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมด 42 ไร่ 2 งาน สภาพของพื้นที่เป็นป่าไผ่ที่ลุ่มมีน้ำขังเป็นหลุม เป็นบ่อ ไม่มีถนน ไม่มีรั้ว อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ยังขาดแคลน นายแพทย์สสิกร ซึ่งมารับงานใหม่ได้ปรับปรุงพื้นที่ จัดทำถนน ขุนบ่อน้ำ ตั้งโรงสูบน้ำ เดินท่อประปาไปทั่วโรงพยาบาล เดินสายไฟฟ้าใหม่โดยใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลทั้งสิ้น ไม่มีเงินงบประมาณเลย ต่อมาจึงได้รับเงินงบประมาณ และเงินที่มีผู้บริจาคสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นลำดับ ดังนี้พ.ศ.2495 - ได้งบประมาณสร้างตึกรังสี 1 ชั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ทำงานของหน่วย
กายอุปกรณ์
- ได้รับเงินบริจาคจากนางยี่เกียว พงษ์พิณิช สร้างเรือนพักคนไข้พิเศษ 1 หลัง มี 10 ห้อง ซึ่งในปัจจุบันได้รื้อ
ออกไปแล้ว และย้ายมาก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นตึก คนไข้พิเศษ "ยี่เกี่ยวอนุสรณ์" เมื่อปี พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2496 - ได้งบประมาณสร้างบ้านพักแพทย์ 1 หลัง และบ้านพักเภสัชกร 1 หลัง
พ.ศ. 2497 - ได้งบประมาณสร้างตึกอำนวยการและผู้ป่วยนอกหลังแรกของโรงพยาบาล
ตึกนี้สร้างเสร็จและได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498
โดย ฯพณฯจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด
ปัจจุบันได้รื้อออกเพื่อสร้างเป็นอาคารอุบัติเหตุและผู้ป่วยนอกหลังใหม่
พ.ศ. 2498 - ได้งบประมาณสร้างเรือนคนไข้ 25 เตียง 1 หลัง
พ.ศ. 2499 - ทำการเดินเชื่อมระหว่างตึกอำนวยการ และเรือนคนไข้พิเศษ 
พ.ศ. 2503 - สร้างบ้านพักแพทย์ 1 หลัง และห้องแถวคนงาน 15 ห้อง
พ.ศ. 2504 - ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบโรงพยาบาล และตัดถนนจากตึกอำนวยการถึงบ้านพัก
- ได้งบประมาณสร้างเรือนคนไข้ 25 เตียง 1 หลัง
พ.ศ. 2505 - ประชาชนชาวยะลาได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างตึกคนไข้พิเศษ "ยะลาอุทิศ"
โดย พระยาบำราศนราดูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสมัยนั้น
ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิด ปัจจุบันได้รื้อออกแล้วสร้างใหม่เป็นหอผู้ป่วย
พิเศษ "ยะลาอุทิศ" 2 ชั้น 18 ห้อง เมื่อปี พ.ศ. 2534
- ได้งบประมาณสร้างบ้านพักพยาบาล 6 ห้อง 1 หลัง
พ.ศ. 2507 - สร้างโรงทำน้ำเกลือและออกแบบเครื่องกลั่นน้ำใหม่ เพื่อทำน้ำเกลือ ซึ่งมี
กำลังผลิตได้มากที่สุดในโรงพยาบาลของภาคใต้ขณะนั้น ปัจจุบันได้รื้อออก
ไปแล้ว
- ได้งบประมาณสร้างบ้านพัก 2 หลัง และโรงครัวมุสลิม 1 หลัง
พ.ศ. 2508 - ได้งบประมาณสร้างตึกสูติกรรม 3 ชั้น 1 หลัง
พ.ศ. 2509 - ได้งบประมาณสร้างตึกพยาธิวิทยา 1 หลัง
- ได้งบประมาณสร้างตึกคนไข้ 2 ชั้น 50 เตียง 1 หลัง ปัจจุบันคือ
หอผู้ป่วยอายุรกรรม
พ.ศ. 2510 - ได้งบประมาณสร้างเรือนคนไข้เด็ก 1 หลัง ปัจจุบันคือหอผู้ป่วยกุมาร
- สร้างสระน้ำเพื่อเก็บน้ำที่ไหลจากคูระบายน้ำทั่วโรงพยาบาล เพื่อระบายน้ำลง
คูเทศบาลอีกที่หนึ่ง 
พ.ศ. 2511 - ได้งบประมาณสร้างตึกผ่าตัด 1 หลัง ติดกับตึกอำนวยการและผู้ป่วยนอก ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว
พ.ศ. 2512 - ได้งบประมาณขยายต่อเติมตึกอำนวยการ และสร้างตึกคนไข้ศัลยกรรม 2 ชั้น ปัจจุบัน คือหอผู้ป่วยเรือน 1 และหน่วยกายภาพบำบัด
พ.ศ. 2514 - ได้งบประมาณสร้างตึกจิตเวช 3 ชั้น และแฟลตพักแพทย์ 3 ชั้น
พ.ศ. 2515 - ได้งบประมาณสร้างตึกคนไข้โรคติดต่อ 2 ชั้น 1 หลัง ปัจจุบัน คือ หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท
- ได้งบประมาณสร้างแฟลตพักพยาบาล 2 ชั้น โรงซักฟอกและโรงครัว
พ.ศ. 2516 - ได้งบประมาณสร้างแฟลตพักพยาบาล 2 ชั้น
ในปีงบประมาณ 2516 นี้เอง จากการที่โรงพยาบาลยะลา ได้รับการพัฒนาจนเจริญทัดเทียมกับโรงพยาบาลอื่นๆ 
ประกอบกับอยู่ในสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม จึงได้ถูกกำหนดให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) ที่จะพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 
โดยจะมีอาคาร เครื่องมือ และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมจะรับคนไข้ได้ 500เตียง
ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 นายแพทย์สสิกร จุลละกาญจนะ ได้ย้ายไปรับราชการที่โรงพยาบาลชลบุรี 
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้แต่งตั้งให้นายแพทย์ไพบูนย์ เวชสาร มาดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแทน และได้ดำเนินการพัฒนาโรงพยาบาลยะลาต่อไป โดยสร้างอาคารต่างๆ 
เพิ่มขึ้น ดังนี้
พ.ศ. 2518 - ทายาทนายพิศาล และนางจงดี จงรักษ์ ได้บริจาคก่อสร้างตึกคนไข้พิเศษ 2 ชั้น 1 หลัง ปัจจุบันคือ หอผู้ป่วยพิเศษ "จงรักษ์" - ได้งบประมาณสร้างอาคารพัสดุ 1 หลังพ.ศ. 2519 - ปรับปรุงตึกศัลยกรรมหญิงชั้นล่างเป็นหน่วยงานกายภาพบำบัด โดยได้รับ ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์จากองค์การยูนิเซฟ - สร้างทางเดินเชื่อมจากตึกสูติกรรมถึงตึกโรคติดต่อ ปัจจุบันคือ Cover way
พ.ศ. 2520 - ได้งบประมาณสร้างตึกผู้ป่วยหนัก และแฟลตพักพยาบาล 3 ชั้นพ.ศ. 2521 - ได้งบประมาณสร้างแฟลตพักพยาบาล 3 ชั้น 1 หลัง
พ.ศ. 2522 - ได้งบประมาณสร้างตึกคนไข้นอก 1 หลัง ปัจจุบันคือ ตึกอำนวยการ
ในปี พ.ศ. 2525 นายแพทย์สุรินทร์ เสรีกุล ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
โรงพยาบาล และพัฒนาโรงพยาบาลต่อ ดังนี้พ.ศ. 2525 - ได้งบประมาณสร้างตึกผ่าตัด และเอ็กซเรย์ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2527 - ทายาทนายปิติ และนางประนอม วิภากุล ได้บริจาคเงินก่อสร้างตึกคนไข้พิเศษ"ปิติ-ประนอม"

ในปี พ.ศ. 2530 นายแพทย์บุญสิทธิ์ เลขะกุล ได้รับตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยะลาและในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลยะลา
ก็ได้รับการยกฐานะจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ของเครือข่าย 
พบส. 9/2 นับเป็นโรงพยาบาลศูนย์อันดับที่ 15 ของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมี
ความขาดแคลนในเรื่องของอาคารสถานที่อยู่มาก จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2530 - ได้งบประมาณก่อสร้าง หอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูก 120 เตียง
4 ชั้น 1 หลัง ซึ่งก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และได้เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2535
พ.ศ. 2532 - ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเภสัชกรรม 1 หลัง

ในปี พ.ศ. 2534 ทางโรงพยาบาลได้พิจารณาเห็นว่าผู้ป่วยที่มาใช้บริการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 
ทั้งผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ตึกผู้ป่วยนอกเดิมเริ่มแออัด คับแคบ ไม่สามารถรองรับผู้ป่วย
จำนวนมากได้ นอกจากนี้จำนวนผู้ป่วยหนักก็เพิ่มมากขึ้น จนจำนวนเตียงที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอ ห้องคลอด
เดิมก็อยู่ในสภาพที่คับแคบ และไม่ได้มาตรฐาน ด้วยเหตุนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2534 โรงพยาบาลได้
ของบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุหลังใหม่ โดยจะสร้างบนพื้นที่ที่เป็นตึกอำนวยการและ
ผู้ป่วยหลังเก่า อาคารหลังใหม่นี้ จะมีพื้นที่ใช้สอย 6,900 ตารางเมตร ประกอบด้วย

ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย - ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งภายในจะมีห้องผ่าตัด ห้องเอ็กซเรย์, 
ห้องเฝือก และห้องสังเกตุอาการ
ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย - หอผู้ป่วยหนัก 16 เตียง
- ห้องคลอดและห้องผ่าตัดทางสูติกรรม
- ห้องตรวจโรคและห้องตรวจพิเศษทางอายุรกรรม
ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย - ห้องประชุมใหญ่ ขนาด 500 คน
- ห้องประชุมเล็ก ขนาด 30 คน 3 ห้อง
- ห้องเวชระเบียนและห้องทำงานของ พคบว.
- ห้องทำงานของแพทย์กลุ่มงานต่างๆ 
ก่อสร้างได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อเดือนตุลาคม 2536 และเปิดให้บริการประชาชน ตั้งแต่ 
วันที่ 31 ธันวาคม 2536 นับเป็นอาคารอุบัติเหตุและผู้ป่วยนอกที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน
แห่งหนึ่งของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2536
1.) ได้รับงบประมาณสร้างโรงครัวแยกไทยพุทธ - อิสลาม เริ่มสัญญาสร้าง เมื่อ 8 มกราคม 2537
และสิ้นสุด สัญญาเมื่อ 3 มกราคม 538 ขณะนี้ได้มีการรับมอบส่งงานเรียบร้อยแล้ว
2.) ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 120 เตียง ขณะนี้ได้มีการรับมอบส่งงานเรียบร้อยแล้ว
1. ได้งบประมาณสร้างอาคารซ่อมบำรุงพัสดุ 1 อาคาร ขณะนี้ได้มีการรับมอบ
ส่งงานเรียบร้อยแล้ว
2. ได้รับงบจากผู้แทนราษฎร์จังหวัดยะลา สร้างศาลาละหมาด 1 อาคาร เป็นเงิน
700,000 บาท เริ่มสัญญาสร้าง 25 กุมภาพันธ์ 2537 ขณะนี้ได้มีการรับมอบ
ส่งงานเรียบร้อยแล้ว

โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ก็ยังคงจะพัฒนาต่อไป เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่ทันสมัยก้าวหน้า
สมตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข นับจากวันที่เริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลจนถึงปัจจุบัน 
เป็นเวลา 51 ปี โรงพยาบาลได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นโรงพยาบาลศูนย์
ที่มีศักยภาพสูงแห่งหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข และในอนาคตภายใต้การบริหารงาน ของผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลคนปัจจุบัน คือ นายแพทย์วัฒนา วัฒนายากร โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ก็ยังคงจะพัฒนาต่อไป
เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่ทันสมัย ก้าวหน้า สมตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    โรงพยาบาลศูนย์ยะลา 

    152 ถ.สิโรรส ต.สะเตง อ.เมือง. จ. ยะลา 95000
    Tel. 073-244-711-8 
    Website : http://www.yrhyala.com

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com