ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องสำอาง
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา ( Songkhla National Museum )
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2421 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 จึงใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑล นครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2496 ในปี พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคาร แห่งนี้เป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติ และเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2525 สมเด็จพระบรมโอรสา ธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เพื่อให้เป็น สถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง นอกจากนี้ ยังจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับตระกูล ณ สงขลา ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองสงขลา ในอดีตด้วย ฯลฯ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในเมืองสงขลา  ตรงข้ามกำแพงเมืองจังหวัดสงขลา เป็นโบราณสถาน ของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน อายุกว่า 100 ปี ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ ของภาคใต้และของประเทศไทย  อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป สร้างเป็นตึกก่ออิฐ สอปูน 2 ชั้น บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตก หันหน้าสู่ทะเลสาบสงขลา ลักษณะตัวบ้านยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ปลูกเป็น เรือนหมู่ 4 หลัง เชื่อมติดกันด้วยระเบียงทางเดิน มีบันไดขึ้น 2 ทาง คือด้านหน้าและตรงกลางลานด้านใน กลางบ้านเป็นลานเปิดโล่ง สำหรับปลูกต้นไม้หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านหน้าอาคารมีสนามและมีอาคารโถงขนาบสองข้าง ด้านหลังมีสนามเช่นเดียวกัน พื้นที่โดยรอบอาคารเป็นสนามหญ้าและสวนมีกำแพงโค้งแบบจีนล้อมรอบ อาคารชั้นบน ห้องยาวด้านหลัง มีบานประตูลักษณะ เป็นบานเฟี้ยม แกะสลักโปร่งเป็นลวดลายเล่าเรื่องในวรรณคดีจีน สลับลายพันธุ์พฤกษา หรือลายมังกรดั้นเมฆ เชิงไข่มุกไฟ ส่วนหัวเสาชั้นบนของอาคารมีภาพเขียนสีเป็นภาพเทพเจ้าจีน หรือลายพฤกษา ภายในห้องตรงขื่อหลังคา จะมีเครื่องหมายหยินหยาง โป้ยป้อ หรือ ปากั้ว เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ตามคตินิยมของชาวจีน หลังคามุงกระเบื้องสองชั้นฉาบปูนเป็นลอน สันหลังคาโค้ง ปลายทั้งสองด้านเชิดสูงคล้ายปั้นลมของเรือนไทย ภายนอกอาคาร บริเวณผนังใต้จั่วหลังคา มีภาพประติมากรรมนูนต่ำสลับลาย ภาพเขียนสี เป็นรูปเทพเจ้าจีนและลายพันธุ์พฤกษา

อาคารชั้นบนประกอบด้วย  ห้องเครื่องเรือนจีน ห้อง ณ สงขลา ห้องไม้จำหลัก ห้องศรีวิชัย หรือ ศิลปกรรมภาคใต้ ห้องเครื่องเรือน ไทยห้องประวัติศาสตร์ศิลปะไทย  ส่วนอาคารชั้นล่าง ประกอบด้วย อาคารศิลปะพื้นบ้านพื้นเมืองภาคใต้ ห้องศิลปกรรมที่พบทาง ภาคใต้ ห้องศิลปทวารวดี ห้องก่อนประวัติศาสตร์ ห้องเครื่องถ้วยไทย-จีน ห้องศิลปวัตถุในคาบสมุทรภาคใต้ เช่น ห้องศิลปทวารวดี ห้องเครื่องถ้วย ไทย-จีน ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะไทยห้องศรีวิชัยหรือศิลปกรรมภาคใต้

อัตราค่าเข้าชม:  ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท 


 

 

วันเปิดทำการ : 
เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ – อาทิตย์ 
หยุดวันจันทร์, อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

 

เวลาเปิดทำการ :  ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. และ 13.00-16.00 น. 


 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    พิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา ตั้งอยู่ที่ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา ตรงข้ามกับกำแพงเมืองสงขลา

    สอบถามข้อมูล โทร. 0-7431-1728

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com