ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอตากใบ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอตากใบ เป็นศูนย์แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของอำเภอตากใบ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตากใบ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบเป็นสถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ ที่เป็นวิถีชีวิตของคนโบราณพื้นที่ที่มีอายุนับร้อยปี ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอตากใบตั้งอยู่ที่ โรงเรียนตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โทรศัพท์ ๐๗๓-๕๘๑๑๘๗ โทรสาร ๐๗๓-๕๘๑๑๘๖ เว็บไซต์ http://www.takbaischool.ac.th เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกโรงเรียนตากใบเป็นที่ตั้งศูนย์วัฒนธรรมอำเภอตากใบ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางด้านวัฒนธรรมและเรื่องราวเกี่ยวกับการอนุรักษ์ความเป็นไทยไว้ให้ได้ศึกษา เพราะเป็นพื้นที่ชายแดนที่ในท้องถิ่นมีหลักฐานแสดงถึงความเจริญในอดีต นอกจากนี้อำเภอตากใบยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองที่สำคัญคือ เดิมอังกฤษปกครองประเทศมลายู(มาเลเซียในปัจจุบัน)และพยายามผนวกดินแดนส่วนอำเภอตากใบเข้าไปอยู่กับเมือง กลันตัน เขตมลายู แต่ประเทศไทยได้อ้างเอาวัดชลธาราสิงเห(วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) อำเภอตากใบ เป็นหลักฐานว่า ชาวไทยได้มาอาศัยอยู่ก่อนที่ชาวมลายูจะเข้ามา รัฐบาลอังกฤษจึงยอมใช้แม่น้ำสุไงโก-ลกเป็นเส้นเขตแดน อำเภอตากใบ จึงได้เป็นของประเทศไทยมาจนปัจจุบัน และเป็นอำเภอใต้สุดแดนสยามทางฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดชายแดนไทย-มาเลเซีย อำเภอตากใบยังมีแหล่งเรียนรู้และใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทั้งที่เป็นธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุที่น่าศึกษาและ พักผ่อนหย่อนใจมากมาย เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป เช่น วัดชลธาราสิงเห เป็นวัดประวัติศาสตร์ที่ได้รับการขนานนามว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย” วัดพระพุทธเป็นวัดเก่าแก่ที่ชาวอำเภอตากใบตระหนักดีว่าเป็นวัดที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โคกอิฐ เป็นเมืองโบราณที่น่าศึกษาประวัติความเป็นมา เกาะยาว ซึ่งมีความกว้างไม่ถึง ๑ กิโลเมตร แต่ความยาว ๙ กิโลเมตร ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ มีความสะดวก สบาย สิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจแก่ชาวท้องถิ่นตากใบเป็นอย่างยิ่งคือการมีเอกลักษณ์ทางด้านภาษา โดยมี “ภาษาตากใบ” เป็นภาษาถิ่นของตนเอง เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเยี่ยมโรงเรียน ตากใบในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ ในครั้งนี้ได้เสด็จเข้าเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมฯ ทรงชื่นชมและให้ความสนพระทัยยิ่ง การประเมินโรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอตากใบ เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ส่งเสริมให้โรงเรียนตากใบ ได้ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝันได้ ในระดับดี ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓)ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอตากใบ ได้ศึกษา เก็บรวบรวมค้นคว้า สะสม ข้อมูลภายในท้องถิ่น ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวัตถุสิ่งของ ทุกประเภททั้งที่เป็นวัตถุโบราณ และที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ ที่เคยใช้ หรือใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา ค้นคว้า เป็นหลักฐานแห่งความเจริญของท้องถิ่นตากใบ ศูนย์วัฒนธรรม ได้จัดการเก็บรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ได้ จัดโดยใช้ห้องเรียน ๑ ห้อง เพื่อเก็บวัสดุสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมดูแล โดยใช้หลักวิชาเข้าช่วย ซึ่ง โรงเรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและได้เขียนข้อความอธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ วางประกอบไว้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปเพราะมีผู้ปกครอง และผู้มีเจตจำนงจะส่งเสริมทุกท่านต่างพร้อมที่จะให้การสนับสนุนวัตถุสิ่งของบริจาคเป็นวิทยาทานและต้องการให้เป็นสมบัติของส่วนรวม มาประกอบกันเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่พร้อมจะให้บริการศึกษาค้นคว้า แต่ปัญหาประการสำคัญของความต้องการพัฒนา คือสถานที่ปัจจุบันเป็นห้องเรียนเพียงห้องเดียวที่คับแคบลง จึงมีความต้องการอาคารสถานที่ ที่เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ ให้สามารถมารองรับการขยายตัวดังที่กล่าวมานี้ได้ในโอกาสต่อไป

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส
    ถนน พิชิตบำรุง
    ตำบล บางนาค อำเภอ เมืองนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส
    รหัสไปรษณีย์ 96000
    โทรศัพท์ 073512833 โทรสาร 073511650

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com