ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โฮมสเตย์
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
เบเกอรี่
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

วังระแงะ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

วังระแงะในปัจจุบันนี้ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 ถนนจาตุรงค์รัศมี ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส  มีอาณาเขตด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือจดบ้านเรือนประชาชน ทิศตะวันตกออกจดโรงยางนูซันตารา ทิศใต้จดถนนจาตุรงค์รัศมี วังระแงะ สร้างโดยสถาปนิกจากรัฐตรังกานูที่มีฝีมือดีมาก ตัววังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะรูปทรงสร้างเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้นยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงมนิลาหรือบลานอ ทางขึ้นวังมีบันไดอยู่ทางด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากวังสร้างด้วยไม้จึงไม่สามารถทนต่อกาลเวลาได้ ด้วยเหตุนี้รูปทรงดั้ง เดิมของจึงเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะส่วนที่ชำรุดได้รับการซ่อมแซมต่อเติมให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน โครง สร้างและองค์ประกอบของวังจึงผสมผสานกันระหว่างรูปทรงที่ใช้กับวัสดุเก่ากับรูปทรงที่ใช้วัสดุใหม่ โดยรอบล้อมด้วยกำแพง ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนเป็นกำแพงชั้นในปัจจุบันเหลือเพียงด้านหลังบางส่วน ขอบกำแพงวังมีลายนูน กำแพงวังชั้นนอกไม่มีร่อยรอยเหลือให้เห็นแล้ว ด้านหลังของตัววังมีบ่อน้ำห่างจากตัววังประมาณ ๑๕ เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๘ เซนติเมตร เดิมมีความสูง ๒๓ เซนติเมตร  ต่อมาต่อเติมให้สูงขึ้นอีก ๓๖ เซนติเมตร รอบๆ บ่อน้ำใช้แผ่นซีเมนต์ปูพื้นซึ่งทำใหม่เป็นที่อาบน้ำ เสาของตัววังใช้ไม้เนื้อแข็งจำพวกตะเคียน หลุมพอแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖.๕ เซนติเมตร และสูง ๑.๗๕ เมตร จำนวน ๓๐ ต้นอาศัยโครงสร้างที่ยึดกันและน้ำหนักของตัวอาคารที่ได้สัดส่วนจึง ทำให้เสาที่วางอยู่บนฐานคอนกรีตบนพื้นดินปรับเรียบเสมอกัน ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ส่วนด้านหลังของวังใช้เสาก่ออิฐ ถือปูน ๒๙ ต้น กว้าง ๕๓ เซนติเมตร สูง ๑.๕๙ เมตร ด้านหน้ามีบันไดทางขั้น ซึ่งทำด้วยไม้กระดาน ๕ ขั้น ขึ้นไปยังเฉลียงซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเติมใหม่สู่ชานขนาดเล็ก แคบๆราวลูกกรงบันไดไม้กลึงแบบโปร่ง และยกพื้นขึ้นไป ๑ ขั้นสู้พื้นวัง  ส่วนหลังของวังมีบันไดขึ้นชั้นบน ๒ ด้าน  ด้านละ ๑๑  ขั้น เฉลียงด้านหน้านี้มีม้านั่งเป็นกระดานวางอยู่ใช้เป็นที่ผักผ่อนและพื้นที่เอนกประสงค์ พื้นวังและชานพักทำด้วยไม้กระดานเนื้อแข็งตามแนวขวางของวังทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ส่วนฝายืนส่วนบนสุดของฝาผนังที่ติดกับโครงหลังคามีการฉลุลวดลายแบบเรขาคณิต

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com