ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
 

 
ประวัติความเป็นมา
น้ำดำ ความหมายเพี้ยนมาจากคำว่า นอแด ซึ่งเป็นภาษมลายู แปลว่า เกือบทัน ในรัชสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีพี่เณรพร้อมด้วยพี่น้องทั้ง 7 คน พี่แก้ว พี่อ่อน พี่มอญจันทอง นางเลือดขาว นางผมยาวเก้าศอก ซึ่งเป็นมหาดเล็ก ได้ออกตามช้างเผือกที่สูญหายเรื่อยมา จากอยุธยา ถึงเมืองปัตตานี และได้มาพบช้างที่ตำบลน้ำดำ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้บ้านกาบอตีงา ซึ่งปัจจุบันเป็นหมู่บ้านร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ประมาณ 50 เมตร บริเวณต้นไม้ใหญ่ดังกล่าว ที่พี่เณรและพี่น้อง ทั้ง 7 ไล่จับช้างเผือกเกือบทัน ซึ่งชาวบ้านเรียกที่นี้ว่า นอแด (ภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า เกือบทัน)และเพี้ยนมาเป็น น้ำดำ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


   
สภาพทั่วไปของตำบล

พื้นที่ราบลุ่ม ยังมีป่าซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ ปกคลุมมากมาย และเป็นพรุมีน้ำขังตลอดปี ตำบลน้ำดำ มีมู่บ้าน จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านบาลูกาลูวะ หมู่ที่ 2 บ้านบือราแง หมู่ที่ 3 บ้านชะมา หมู่ที่ 4 บ้านบือแนยามู
 
 
   
อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี

 
   
จำนวนประชากรของตำบล

จำนวนประชากรในเขต อบต. 3,025 คน และจำนวนหลังคาเรือน 602 หลังคาเรือน
   
ข้อมูลอาชีพของตำบล

อาชีพหลักการ เกษตร(ทำนา,ทำสวน,ทำไร่,ประมง)
อาชีพเสริม ค้าขาย
   
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล

- มัสยิด 4 แห่ง
- บึงน้ำ ขนาดกว้าง 1 กิโลเมตร ยาว 2 กิโลเมตร
   
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล :
   

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com