ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
 

 
ประวัติความเป็นมา
ตำบลยะรัง คำว่า"ยะรัง" สันนิษฐานว่า เป็นคำแผลงมาจากคำว่า "บราแว" ในภาษามาลายูท้องถิ่น ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า "พะวัง" หรือ"พระราชวัง" สาเหตุที่ได้เรียกพื้นที่แถบนี้ว่า"บราแว"หรือ"พระราชวัง"นั้น เนื่องมาจากว่ามีหลักบานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ชื่อ"โกตามาหาลิไฆ" ปัจจุบันยังมีซากกำแพงดิน คูเมือง สระ(บ่อโบราณ) และซากปรักหักพังของโบราณสถานหลายแห่งในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านปราแว ตำบลยะรัง จากคำว่า"ปราแว"ซึ่งแปลว่า"พระราชวัง"หรือ"พระวัง"หลายร้อยปี ต่อมาก็กลายเป็น"ยะรัง"เมื่อตั้งชื่อตำบลก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของตำบล


   
สภาพทั่วไปของตำบล

 สภาพทั่วไปของตำบล :
พื้นที่ตำบลยะรัง มีประมาณ 10,290 ไร่ อยู่ห่างจากจังหวัดปัตตานี ประมาณ 15 กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีคลองธรรมชาติ มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านหมู่บ้าน ตำบล เป็นระยะทางยาวเหมาะสำหรับในการเพาะปลูก
   
อาณาเขตตำบล
 อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลปิตูมุดี, ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลระแว้ง, ตำบลสะนอ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลยาปี่ จังหวัดปัตตานี


   
จำนวนประชากรของตำบล
 จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,750 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,126 หลังคาเรือน
   
ข้อมูลอาชีพของตำบล

อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน
อาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป ปักผ้าคลุมผม

   
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล

1. วัด 1 แห่ง
2. เมืองโบราณลังกาสุกะ 1 แห่ง
3. โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
4. มัสยิด 8 แห่ง
5. ที่ทำการ อบต. 1 แห่ง
6. โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 3 แห่ง
7. สถานีอนามัย 1 แห่ง

   
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล :
   

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com