ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ที่ประสบปัญหายาเสพติดอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีการประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพสำคัญอย่างหนึ่ง       มีผู้ประกอบอาชีพทั้งประมงชายฝั่งเล็กและประมงขนาดใหญ่ จึงมีการใช้เส้นทางการลำเลียงยาเสพติดจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปยังต่างประเทศได้ง่าย และจังหวัดปัตตานียังเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ตัวจังหวัดนราธิวาสและอำเภอสุไหง-โกลก     โดยยาเสพติดส่วนหนึ่งจะถูกลักลอกส่งออกไปยังต่างประเทศและเป็นอีกส่วนหนึ่งจะนำมาแพร่ระบาดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี   โดยเริ่มมีการแพร่ระบาดในกลุ่มลูกเรือประมงก่อน     จากนั้นก็ลุกลามไปสู่เยาวชนในชุมชนใกล้เคียง   กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ยาเสพติดมีการแพร่ระบาดมากที่สุด คือเฮโรอีน รองลงมาคือกัญชา แอมเฟตามีน และสารระเหย ตามลำดับ มีอัตราความชุกของผู้ติดยาเสพติด 4-6 ต่อพันประชากร พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในระดับรุนแรงได้แก่ อ.ไม้แก่น อ.โคกโพธิ์ อ.เมือง อ.หนองจิก ตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักงาน  ปปส. ภาคใต้)  นอกจากนี้   การจำหน่ายยาเสพติดมีกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ สามารถทำการซื้อขายกันได้ง่าย โดยเฉพาะแหล่งมั่วสุมและชุมชน  จึงนับได้ว่าปัญหายาเสพติดในจังหวัดปัตตานีมีความรุนแรงที่ต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้นำไปสู่การก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆตามมา ส่งผลกระทบต่อทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม 

ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดดังกล่าว  จังหวัดปัตตานีจึงได้ริเริ่มโครงการสร้าง   “ศูนย์บำบัดยาเสพติดจังหวัดปัตตานี” ขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานบำบัดรักษารักษาผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่านศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือนพฤษภาคม  2535 และแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2537 เริ่มเปิดดำเนินการใช้ชื่อว่า “ศูนย์บำบัดยาเสพติดจังหวัดปัตตานี”  สังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธรณสุข ตั้งอยู่ที่ 249 หมู่ 1 ถนนปากน้ำ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นสถานพยาบาลที่ให้ปริการด้านการรักษาพยาบาล ขนาด 100 เตียง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

                และในปี พ.ศ. 2541 จังหวัดปัตตานีร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้จัดทำโครงการบัดรักษาผู้ยาเสพติดเชิงรุกขึ้น   โดยมีศูนย์ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้ศูนย์บำบัดยาเสพติดจังหวัดปัตตานี โดยใช้ชื่อว่า บ้านปากน้ำ  เพื่อสร้างความอบอุ่น ใกล้ชิด มีความเป็นกันเองกับประชาชนในพื้นที่และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร    อันจะนำไปสู่การมีความรู้สึกที่ดีงาม ประทับใจให้แก่ผู้มารับบริการ    เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม  2541 ที่ผ่านมา นายพลากร  สุวรรณรัฐ  ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้   ได้เป็นประธานในพิธีเปิดบ้านปากน้ำ  เพื่อให้บริการทางด้านการบำบัดรักษาแก่ผู้ติดยาเสพติดอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

                นายแพทย์ประศาสตร์  ผิวเรืองนนท์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า บ้านปากน้ำจะมีการบริการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบครบวงจร  คือได้รับการบำบัดทั้งทางกายภาพและทางจิต   โดยผู้ที่เข้ารับการบำบัดจะยินยอมรับการรักษาด้วยความสมัครใจ  ซึ่งขั้นตอนแรกจะมีการดำเนินการถอนพิษยา  โดยจะมีการรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการบำบัดไว้เป็นผู้ป่วยในบ้านปากน้ำ โดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจาดบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเวลา 21 วัน ภายหลังจากการได้รับการถอนพิษแล้ว จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตใจและอาชีวบำบัด เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งประกอบด้วย

กิจกรรมดานศาสนา เช่นธรรมบำบัด โดยเน้นคุณธรรมในการดำเนินชีวิตประกอบด้วย การละหมาด การถือศีลอด  ในกลุ่มผู้บำบัดที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีการทำสมาธิ ถือศีล 5  สวดมนต์ ในผู้บำบัดที่นับถือศาสนาพุทธ  โดยมีวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้นำศาสนา
การทำกลุ่มพฤติกรรมบำบัด  เน้นการเสริมสร้างระเบียบวินัย ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน
การทำกลุ่มบำบัด เช่นกลุ่มนันทนาการเพื่อนช่วยเพื่อน
การฝึกอาชีพ  โดยจัดให้มีการฝึกอาชีพในสาขาต่าง ๆ โดยการร่วมมือจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี ซึ่งประกอบด้วย การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ปละหัตถกรรมต่าง ๆ อาทิการทำผ้าบาติก ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ฯลฯ สร้างอาชีพใหม่ให้กับผู้ที่เข้ารับการบำบัด เมื่อต้องออกจากบ้านปากน้ำไปสู่ภูมิลำเนาเดิม

        และเพื่อป้องกันการการกลับไปติดยาเสพติดอีกครั้งของผู้ที่ได้รับรับการบำบัดไปแล้วเมื่อต้องกลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม บ้านปากน้ำ จึงได้จัดระบบการติดตามและจัดกิจกรรมรวมทั้งเตรียมความพร้อมของชุมชนในการรองรับผู้ที่เข้ารับการบำบัด ภายหลังออกจากบ้านปากน้ำโดยสร้างความเข้าใจให้กับครอบครัวเข้าใจและยอมรับปัญหาการติดยาเสพติดพร้อมที่จะดูแลภายหลังการถอนพิษและการฟื้นฟูสภาพ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของรัฐและองค์กรศาสนาในชุมชน ร่วมสร้างกิจกรรมรองรับอาทิกระทรวงศึกษาธิการ งานด้านกิจกรรมการกีฬา เช่น ลานกีฬาต้านยาเสพติด โครงการโรงเรียนสีขาว ผู้นำศาสนา เช่นการนำหลักศาสนามาอบรม เป็นต้น

        สำหรับผู้ที่หลงเข้าไปติดอยู่ในวังวนของยาเสพติดนั้น ยังไม่สายเกินไปสำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่  ที่บ้านปากน้ำเส้นทางใหม่ที่พร้อมจะให้บริการด้วยใจ และอยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไป

**ปัจจุบันศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดจังหวัดปัตตานี  ที่บ้านปากน้า  ตำบลรูสะมิแล  อำเภอเมือง   จังหวัดปัตตานี

    โทร 0-84193-5709

 

 

แผนที่ : 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com