ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 7ยะลา – หาดใหญ่ – สตูล – กัวลาลัมเปอร์วัดคูหาภิมุข – วัดช้างไห้ – เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว – มัสยิดกรือเซ – มัสยิดกลางปัตตานี หาดสมิงหลา – เมืองเก่าสงขลา – มัสยิดกลางสงขลา – ย่านเมืองเก่าสตูลมัสยิดกลางสตูล – คฤหาสน์กูเด็น – กรุงกัวลาลัมเปอร์ - เมืองปุตราจายา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

กำหนดการเดินทาง

วันที่แรก ยะลา – หาดใหญ่ 

  • 07.30 น. รับคณะจากที่พัก จากนั้น
  • 08.30 น. เยี่ยมชมพระพุทธไสยาสน์ ณ วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ ชมหินงอกหินย้อยภายในถ้ำ และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย ทราบว่า พ.ศ.2390 ผู้ใหญ่บ้านอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ ได้สร้างวัดคูหาภิมุข เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน ภายในวัดคูหาภิมุขมีถ้ำใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อย และน้ำใสสะอาดไหลรินจากโขดหิน วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจากวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป วัดคูหาภิมุข เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพุทธรูปฉาย ภาพเขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-17  นักโบราณคดีได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณถ้ำคูหาภิมุข เป็นภาพพระพุทธฉาย และภาพราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผา ภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง ใกล้ๆ กับวัดมีภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อนสีชมพู สวยงามมาก
  • 10.00 น. เยี่ยมหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปีคนทั่วไปให้ความเลื่อมใสศรัทธาในปาฏิหาริย์และบุญญาบารมีของท่าน ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้
  • 11.00 น. แวะซื้อสินค้า OTOP ของอำเภอโคกโพธิ์อาทิ กล้วยเส้นปรุงรส ของดีบ้านทรายขาว
  • 12.00 น. บริการอาหาร ณ ห้องอาหารบุหงารายา  และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา   ณ ตัวเมืองปัตตานี จากนั้น
  • 13.30 น. แวะชมเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ณ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
  • 14.00 น. ชมมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นับว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรูปทรงคล้ายกับ “ทัชมาฮาล” ประเทศอินเดีย  ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ ให้คณะได้ปฏิบัติศาสนกิจ
  • 15.00 น. ชมมัสยิดกรือเซะมรดกอารยธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลางสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มัสยิดกรือแซะ มรดกอารยะธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลาง มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้เป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือเซ๊ะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
  • 18.00 น. เดินทางสู่ หาดใหญ่ เพื่อเข้าที่พัก และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา  

วันที่สอง สงขลา –  สตูล 

  • 07.30 น. เดินทางจากที่พัก 
  • 08.30 น. นำท่านเที่ยวยัง หาดสมิหลา หาดชลาทัศน์ ยามเช้า สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงของสงขลา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง หาดสมิหลามีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล หาดทรายขาวละเอียดมากที่เรียกว่า "ทรายแก้ว" มีป่าสนร่มรื่น จากหาดสมิหลาสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของ เกาะหนูเกาะแมว จนมีคำกล่าวว่าใครมาเยือนสงขลาแล้วไม่มาเยือนสมิหลาก็เหมือนมาไม่ถึงสงขลา มีสัญลักษณ์ที่มีชื่อเสียงรูปปั้น นางเงือกทอง เมี่อมองออกไปในทะเลจะเห็น เกาะหนู เกาะแมวอันเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่ง หาดสมิหลาเป็นชายหาดที่มีบรรยากาศสงบ เหมาะสำหรับมาพักผ่อนชมวิว มีชายหาดต่อเนื่อง กัน เรียกว่าแหลมสนอ่อน อยู่เลยหาดสมิหลาไปทางตะวันตก ช่วงของแหลมสนอ่อนจะยาวไปจนถึงสันเขื่อนในทะเล
  • 09.00 น. หาดชลาทัศน์ เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องมาจากหาดสมิหลาโดยมีแหลมสมิหลาเป็นจุดแบ่ง มีหาดทรายที่ขาวสะอาดเล่นน้ำได้ตลอดแนว ลักษณะของหาดค่อนข้างเป็นเส้นตรง มีถนนชลาทัศน์เลียบแนวชายหาดและมีแนวต้นสนให้ความร่มรื่นยาวตลอดหาด เนื่องจากหาดหันไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเช้าจึงพอจะใช้เป็นที่ชมพระอาทิตย์ขึ้นได้ด้วย
  • 10.00 น. ชมบ้านเก่าโบราณ กำแพงเมืองสงขลา ย่านสงขลาเมืองเก่า  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง มีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และ ถนนนางงาม เป็นถนนที่ประกอบไปด้วยอาคารและสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวสงขลา ผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรม   เมื่ออดีตราว 200 ปีก่อน ตัวเมืองสงขลาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า "เมืองสงขลา ฝั่งแหลมสน" ย่านเมืองเก่า สงขลา ปัจจุบันถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงามยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ มีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิคสไตล์ ชิโนโปรตุกีส  และยังมีอาคารตึกแถวแบบจีนโบราณของชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่ปะปนกันทั้งสองฟากฝั่งถนน โดยอาคารหลายหลังมี การปรับปรุง ทาสีใหม่ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารอาคารเก่าเหล่านี้สะท้อนภาพการเป็นเมืองสำคัญด้านการปกครอง และทางเศรษฐกิจมา แต่ครั้งสมัยธนบุรีอีกทั้งการเป็นเมืองท่าติดทะเลทำให้ได้รับวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติ ผสมผสาน กันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัวแบบสงขลา ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  • 11.30 น. เยี่ยมชมมัสยิดกลางสงขลา หรือมัสยิดดิย์นุลอิสลาม หรือเรียกสั้นๆว่า มัสยิดกลางสงขลา  ศูนย์รวมจิตใจของชาวมุสลิม ในสงขลา ต้องบอกว่าที่นี่เป็นมัสยิดที่ใหญ่และอลังการมากภายในตกแต่งได้สวยงาม โล่ง โอ่โถง เหมาะแก่การทำจิตใจให้สงบและทำพีธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา มัสยิด กลางแห่งนี้โดดเด่นจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่อยู่บนภูเขาในสวนสาธารณะหาดใหญ่กันเลยทีเดียว หากใครได้มาจังหวัดสงขลาแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะมาชมความงดงามของ มัสยิดกลางแห่งนี้  มัสยิดแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า " ทัชมาฮาลเมืองไทย "  ยิ่งมาในช่วงเวลาเย็นค่ำมัสยิดเปิดไฟสว่างมีฉากหลังของ ท้องฟ้าเปลี่ยนสีในยามเย็นงดงามยิ่งนัก จากนั้นเดินทางสู่ตัวเมืองหาดใหญ่ 
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร ณ ร้านอิสลาม และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา    
  • 13.00 น. เดินทางสู่ จ.สตูล
  • 15.00 น. ชมย่านสตูลเมืองเก่า อาคารร้านค้าเป็นสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิส ซึ่งในอดีตถนนสายนี้ได้ชื่อว่าเป็นย่านการค้าสำคัญ บุรีวานิชถือเป็นถนนสายแรกของเมือง “นครีสโตย” หรือเมืองสตูล ในอดีตเมืองสตูลมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจดี มีการค้ารังนกและพริกไทย ซึ่งเป็นศูนย์การซื้อขายระหว่างปีนังและภูเก็ต  จนทำให้เมืองสตูล ได้ชื่อว่า "นัครีสะโตยมัมบังสการา" (Negeri Setol Mum Bang Seagra) แปลเป็นภาษาไทยว่า เมืองแห่งพระสมุทรเทวา และเป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญในยุคนั้นมาก  
  • 15.30 น. ชมคฤหาสน์กูเด็น รูปทรงอาคารสองชั้นสีขาว เป็นคฤหาสน์แบบสถาปัตยกรรมสไตล์โคโลเนียล ที่อายุยาวนานกว่าร้อยปี ประตูหน้าต่างรูปโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย  บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมด้านบนตกแต่งรูปดาวตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม อยู่ที่ถนนสตูลธานีซอย 5 สร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2441 โดย พระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (ชื่อเดิม กูเด็น บินกูแม๊ะ) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คฤหาสน์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่ไม่ได้ประทับแรม  อาคารหลังนี้เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล เป็นอาคารสวยงาม เชิดหน้าชูตาเมืองสตูลเป็นอย่างมาก และเคยเป็นสถานที่สำคัญๆ ของทางราชการ
  • 16.00 น. ชมมัสยิดกลางสตูล ตั้งสง่าโดดเด่นด้วยหอคอยเป็นยอดโดมสูงสีทอง  มัสยิดมำบังเป็นมัสยิดกลางตัวเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมหอคอย หรือ หออาซาน ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของมัสยิด ซึ่งแต่เดิมไว้ใช้ตะโกนบอกให้มุสลิมละหมาด มัสยิดบำบัง  มีชื่อเดิมว่า "มัสยิดเตองะห์" หรือ "มัสยิดอากีบี" ได้สร้างในสมัยเจ้าเมืองสตูลคนแรก ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูล และปฏิบัติศาสนกิจ
  • 17.00 รับประทานอาหาร ณ ครัวสุชาดา ในตัวเมืองสตูล ก่อนเข้าที่พัก และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา  


วันที่สาม สตูล – มาเลเซีย(กัวลาลัมเปอร์)

  • 07.30 น. รับประทานอาหาร ณ ห้องอาหารโรงแรม  
  • 08.30 น. จากนั้นเดินทางสู่ด่านวังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล สู่รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียเพื่อเดินทางสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ต่อไป
  • 12.00 น. รับประทานอาหารและปฏิบัติภารกิจทางศาสนา   ณ เมืองอิโปร์รัฐเปรัค จากนั้นเดินทางต่อ
  • 16.00 น. ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ นำคณะชมมัสยิดกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ และปฏิบัติศาสนกิจ 
  • 16.30 น. ชมและถ่ายรูกับตึกปิโตรนัส (ตึกแฝด)
  • 17.00 น. ชมสนามที่เคยใช้ในการประกาศอิสรภาพ จากการตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของประเทศอังฤกษ (เมอร์เดก้าสแควร์)
  • 17.30 น. ชมอาคารสุลต่านอับดุลซามัท (เดิมเป็นที่ทำการของทหารอังฤกษ ปัจจุบันเป็นหอสมุดแห่งชาติ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารมรดกโลกแล้ว)
  • 18.30 น. รับประทานอาหาร จากนั้นเข้าที่พัก และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา   พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สี่        กรุงกัวลาลัมเปอร์ – เมืองปุตราจายา – เดินทางกลับ

  • 07.30 น. รับประทานอาหาร จากนั้นนำคณะช้อปปิ้งของฝากพื้นเมืองของมาเลเซีย จากนั้น
  • 09.30 น. เดินทางสู่เมืองปุตราจายา เมืองศูนย์บริหารแห่งใหม่ของมาเลเซีย
  • 10.00 น. ชมสะพานปุตรา และทะเลสาบปุตรา
  • 10.30 น. อาคารรัฐสภา
  • 11.00 น. มัสยิดสีชมพู(มัสยิดแห่งใหม่ของมาเลเซีย) สร้างด้วยหินอ่อนที่สวยงาม
  • 11.30 น. อาคารที่ทำการของกระทรวงต่างๆ
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา  จากนั้นเดินทางกลับ
  • 18.30 น. ถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ

***โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com