ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 1 เยือน 1 แผ่นดิน ถิ่น 3 วัฒนธรรม (ไทย จีน มลายู) , ศาลเจ้าเล่งจูเกียง - มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี - วัดมุจลินทวาปีวิหาร-น้ำตกทรายขาว - วัดราษฎร์บูรณะ - มัสยิดโบราณควนลังงา 300 ปี
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เส้นทางที่ 1 เยือน 1 แผ่นดิน ถิ่น 3 วัฒนธรรม (ไทย จีน มลายู) , ศาลเจ้าเล่งจูเกียง - มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี - วัดมุจลินทวาปีวิหาร-น้ำตกทรายขาว - วัดราษฎร์บูรณะ - มัสยิดโบราณควนลังงา 300 ปี

กำหนดการเดินทาง

08.00 น. คณะออกเดินทางที่พักจากนั้นนำคณะเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวของ จ.ปัตตานี

08.45 น. สักการะรูปเหมือนเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ณ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง กราบไหว้ขอพรจากเจ้าแม่ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง (เจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว) เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปัตตานี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่า  เดิมเรียกตลาดจีนเมืองปัตตานี  สร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง  ศักราชบ้วนเละ ปีที่ 2 ตรงกับ พ.ศ.2117 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา   แห่งกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า ศาลเจ้าซูก๋ง หรือศาลโจ๊วซูกง  เป็นศาลเจ้าประจำชุมชนชาวจีน มีองค์พระหมอ หรือโจ๊วซูกง มาเป็นเทพประธานประจำศาลเจ้

09.30 น. ชมมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นับว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

10.15 น. เยี่ยมชมวัดมุจลินทวาปีวิหารหรือวัดตุยงนมัสการหลวงพ่อดำถือเป็นวัดเก่าแก่และวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดปัตตานี ศูนย์กลางการปกครองเมืองหนองจิกเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งจวนเจ้าเมืองและที่ว่าการของผู้ว่าราชการเมืองมาหลายสมัย วัดตุยงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งให้กำเนิดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมแห่งแรกของมณฑลปัตตานี จากการที่ วัดมุจลินทวาปีวิหาร ได้มีการปรับปรุงกิจการจนเกิดความรุ่งเรืองก้าวหน้า เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอก ประเทศ จึงทรงมีพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดมุจลินทวาปีวิหารขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ 

11.00 น. จากนั้นเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน มีต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลาคีรี ถูกค้นพบโดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว) อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ประกอบด้วยจุดเด่นตามธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง

12.00 น. รับประทานอาหาร ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จากนั้น

13.00 น. แวะสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม ณ ผาพญางู แหล่ท่องเที่ยวใหม่บนน้ำตกทรายขาวมีลักษณะคล้ายงูใหญ่ ใจดีสื่อถึงความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี

14.00 น. แวะชมและเลือกซื้อสินค้า OTOP ของอำเภอโคกโพธิ์

15.00 น. เยี่ยมชมวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างไห้)  เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี นมัสการหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนในภาคใต้ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้

16.00 น. เยี่ยมชมถ่ายรูปกับมัสยิดโบราณควนลังงา 300 ปี ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ มัสยิด ๓๐๐ ปีแห่งนี้จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของพ่อท่านศรีแก้วกับโต๊ะอิหม่ามในยุคนั้น โดยสร้างแบบศิลปะประยุกต์ ผสมผสานระหว่างพุทธกับมุสลิม ภายในมีสถานที่ในการประกอบพิธีละหมาด แต่เมื่อมองจากภายนอกจะคล้ายคลึงกับโบสถ์ในศาสนาพุทธ"

16.30 น. แวะชมและเลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมของจังหวัดปัตตานี

18.00 น. เดินทางกลับและถึงที่ที่หมายโดยสวัสดิภาพด้วยรอยยิ้มและความประทับใจ  



***โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***


 

 

สิ่งอำนวยความสะดวก :

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com