ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 5 เที่ยวเมืองโบราณ ฟังตำนานเจ้าแม่ , มัสยิดกรือแซะ - ศาลเจ้าแม่ลิ่มก่อเหนี่ยว -สุสานพญาอินทิรา - วังเก่ายะหริ่ง - หาดตะโละกาโปร์ - ชุมชนท่องเที่ยวแหลมโพธิ์ - สุสานบ้านดาโต๊ะ - เมืองโบราณยะรัง -วัดช้างไห้- อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว -พลับพลาที่ประทับ ร.๗
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เส้นทางที่  5  เที่ยวเมืองโบราณ ฟังตำนานเจ้าแม่ , มัสยิดกรือแซะ - ศาลเจ้าแม่ลิ่มก่อเหนี่ยว  -สุสานพญาอินทิรา - วังเก่ายะหริ่ง - หาดตะโละกาโปร์ - ชุมชนท่องเที่ยวแหลมโพธิ์ - สุสานบ้านดาโต๊ะ - เมืองโบราณยะรัง -วัดช้างไห้- อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว -พลับพลาที่ประทับ ร.๗

กำหนดการเดินทาง ปัตตานี 3 วัน 2 คืน

วันที่แรก ปัตตานี   
08.30 น. คณะออกเดินทางจากที่พัก สู่เส้นทางการท่องเที่ยว
09.00 น. เยี่ยมชมมัสยิดกรือแซะมรดกอารยธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลาง มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้เป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือเซ๊ะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปะแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
10.00 น. ศาลเจ้าแม่ลิ่มก่อเหนี่ยวซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน และบุคคลทั่วไป เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
11.00 น. สุสานพญาอินทิรา มุสลิมคนแรกของเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เหนือหลุมฝังศพมีหินแกรนิตสลักเป็นรูปก้อนเมฆ และมีอักษรภาษาอาหรับกำกับอยู่ บริเวณนี้เคยขุดพบเครื่องใช้ของคนรุ่นโบราณมากมาย สุสานพญาอินทิรา หรือที่ชาบ้านเรียกว่า กูโบรายามะรือเก๊าะ เป็นสถานที่ฝังพระศพของอดีตกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหลิฆัย ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เป็นผู้สร้างเมืองปัตตานีดารัสลาม (นครแห่งสันติ) ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ เพื่อใช้เป็นเมืองท่าทำการค้าขายกับนานาประเทศ และเป็นกษัตริย์องค์แรกที่เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพุทธ เข้ารับศาสนาอิสลาม หลังจากเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว เฉลิมพระนามใหม่ว่า สุลต่านอิสมาเอลซาห์
11.45 น. เยี่ยมชมวังเก่ายะหริ่ง สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๘ ปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ผู้สร้างคือ พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม  เป็นอาคารสองชั้น ครึ่งบนปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิม ผสมกับแบบยุโรป อาคารเป็นรูปตัวยู  ชั้นบนจัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของเจ้าเมือง และครอบครัวข้างละ 4 ห้อง  ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนสูง  บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียวแดงและน้ำเงิน  ช่องระบายอากาศและจั่วทำด้วยไม้ฉลุลาดลายเป็นพรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวา  และศิลปะตะวันตก  ทำให้ตัววังสง่ามาก  ตัววังยังมีสภาพสมบูรณ์ดีถึงปัจจุบัน
12.00 น. หาดตะโละกาโปร์  ชายหาดที่ขาวสะอาด  จุดเด่น หาดทรายทอดตัวยาวขนานไปกับทิวสนร่มรื่น มีสายน้ำพาคลื่นเคลื่อนมากระทบฝั่ง ในวันที่อากาศปลอดโปร่งน้ำทะเลจะมีสีคราม ทรายเป็นสีทองสวยงามมาก เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ หากเลยไปยังหมู่บ้านประมงจะมีเรือกอและจอดเรียงรายอยู่เป็นทิวแถว ซึ่งชาวบ้านแถบนี้จะพาเรือออกไปทำประมงแล้วนำกลับมา โดยจะลากขึ้นมาเก็บในช่วงเช้าๆ สถานที่พักแรม บริเวณชายหาดยังไม่มีจุดพักแรม
12.30 น. บริการอาหาร และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา
13.00 น. เดินทางต่อ
14.00 น. ชมทัศนียภาพ กิจกรรมทางทะเล
15.00 น. เยี่ยมชมวิถีชุมชนท่องเที่ยวแหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง
16.00 น. ชมสุสานบ้านดาโต๊ะ หรือ สุสานโต๊ะปาแย เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังศพของชาวมุสลิมในสมัยอยุธยา ที่ปรากฏในตำนานว่าเป็นศพของผู้ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์   ที่ตั้งของสุสาน -ดาโต๊ะปาแย-สุสานเจ้าเมืองปัตตานีและมัสยิดดาโต๊ะซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นท่าพักเรือสินค้า แต่ภายหลังจังหวัดปัตตานีเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม สุสานดาโต๊ะและอ่าวปัตตานี  และโดยรวมของพื้นที่ปัตตานีในสมัยก่อน และโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของปัตตานีด้วย ที่เล่าขานกันมาจนถึงคนปัจจุบันได้เรียนรู้และนำความรู้ที่ได้ไปเล่าสู่กันฟังให้คนต่อๆไป
17.30 น. เดินทางเข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สอง ปัตตานี 
07.30 น. บริการอาหาร  ณ ที่พัก จากนั้นนำคณะเยี่ยมชม
08.30 น. เยี่ยมชม เมืองโบราณยะรัง ฟังบรรยายสรุป เรื่องราวจากมัคคุเทศก์ท้องถิ่น เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่ปกครองตำบลยะรัง และตำบลวัด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนสมัยเริ่มแรกประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย  และเชื่อว่าเป็นที่ตั้ง อาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า "ลังกาสุกะ" หรือ "ลังยาเสียว" ตามที่หลักฐานปรากฎในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ ย่อมแสดงว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญตั้งอยู่ใกล้ทะเล มีอาณาเขตกว้างขวางเป็นดินแดนที่มั่งคั่ง มีบทบาททางเศรษฐกิจการเมืองเกี่ยวข้องกับดินแดน ซึ่งมีความเจริญขึ้นและพัฒนาสืบต่อเรื่อยมาอีกหลายสมัย นับเวลาเป็นพันปี ดังที่มีหลักฐานเป็นร่องรอยของคูน้ำ-คันดิน คูเมืองและซากเนินดินโบราณสถานในท้องที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานีในปัจจุบัน
09.30 น. ชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เลือกซื้อของฝาก 
11.00 น. เที่ยวชมทัศนียภาพเขื่อนปัตตานี ที่กักเก็บน้ำจากแม่น้ำปัตตานี
12.00 น. บริการอาหาร ปฏิบัติภารกิจทางศาสนา จากนั้นเดินทางชม
13.00 น. วัดช้างไห้ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า ๓๐๐ ปี นมัสการหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนในภาคใต้  เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้
14.00 น. นำท่านชม วังหนองจิก บ้านตุยง  ตำบลยง อำเภอหนองจิก เจ้าเมืองหนองจิกคนสุดท้ายคือ พระยาเพชราภิบาลนฤเบศร์ ฯ (พ่วง ณ สงขลา ) ได้ใช้วังนี้อยู่  สันนิษฐานว่าวังนี้สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2437  ตัววังนี้ที่เหลืออยู่ประกอบด้วยอาคารสองหลัง  เป็นอาคารชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร  อาคารที่เป็นตัววัง ถูกรื้อถอนไประหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา  อาคารที่เหลืออยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก
15.00 น. วัดตุยง  หรือ วัดมุจลินทวาปีวิหาร ศูนย์กลางการปกครองเมืองหนองจิกเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งจวนเจ้าเมืองและที่ว่าการของผู้ว่าราชการเมืองมาหลายสมัย วัดตุยงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งให้กำเนิดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมแห่งแรกของมณฑลปัตตานี จากการที่ วัดมุจลินทวาปีวิหาร ได้มีการปรับปรุงกิจการจนเกิดความรุ่งเรืองก้าวหน้า เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอก ประเทศ จึงทรงมีพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดมุจลินทวาปีวิหารขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
16.30 น. เดินทางกลับที่พักชุมชนท่องเที่ยวทรายขาว บริหารอาหาร ณ ชุมชนบ้านทรายขาว

วันที่สาม  ปัตตานี
07.30 น. บริการอาหาร ณ ที่พัก จากนั้นนำคณะเยี่ยมชม
08.30 น. ชมมัสยิดกลางปัตตานี 
09.30 น. เยี่ยมชมกลุ่มแม่บ้าน การทำกล้วยเส้น การทอผ้าทอผ้า 
10.30 น. อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน มีต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลาคีรี ถูกค้นพบโดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว) อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ประกอบด้วยจุดเด่นตามธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง
11.30 น. บริการอาหาร ปฏิบัติภารกิจทางศาสนา
13.00 น. เดินทางต่อ
14.00 น. เยี่ยมชมเมืองปัตตานี
15.00 น. เที่ยวชมพลับพลาที่ประทับ ร.๗ อ.โคกโพธิ์ สมัยที่เสด็จเมืองปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ คณะดาราศาสตร์ชาวอังกฤษและเยอรมัน กราบบังคมทูลเชิญรัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร บนภูเขาหลังที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ โดยมณฑลปัตตานีได้สร้างพลับพลาไว้เพื่อเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ ๗ ทั้งที่อำเภอโคกโพธิ์และอำเภอเมืองปัตตานี และพระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาทั้ง ๒ แห่ง เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ แต่ที่อำเภอโคกโพธิ์วันนั้นท้องฟ้ามืดครึ้ม ไม่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาได้ พระองค์จึงเสด็จมาทอดพระเนตรที่เมืองปัตตานี กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพลับพลาที่ประทับรัชกาลที่ ๗ ที่อำเภอโคกโพธิ์ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ และดำเนินการบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓
16.30 น. เดินทางกลับที่หมายและถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ ด้วยรอยยิ้มและความประทับใจ

***โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com