ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทาง ที่ 6 มัสยิดกลางสวยหรู...เยี่ยมดูวังเก่า , วังเก่าจะบังติกอ - เมืองโบราณยะริง - วัดคูหาภิมุข -มัสยิดโบราณ 300 ปี-ชุมชนทรายขาว - ศาลาที่ประทับ ร.๗ - มัสยิดกลางปัตตานี
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เส้นทาง ที่ 6 มัสยิดกลางสวยหรู...เยี่ยมดูวังเก่า , วังเก่าจะบังติกอ - เมืองโบราณยะริง - วัดคูหาภิมุข -มัสยิดโบราณ 300 ปี-ชุมชนทรายขาว  - ศาลาที่ประทับ ร.๗ - มัสยิดกลางปัตตานี

กำหนดการเดินทาง 2 วัน- 1 คืน

วันที่แรก ปัตตานี
08.30 น. คณะออกเดินทางจากที่พัก จากนั้นนำคณะ เดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
09.00 น. กรรมการชุมชนท่องเที่ยวให้การตอนรับ บริการอาหารว่าง ฟังบรรยายสรุปข้อมูล 
10.00 น. นำทุกท่านไปยังวังเก่าจะบังติกอ สร้างในสมัยตนกูมูฮัมหมัด (พ.ศ. 2388-2399)  เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ก่อนที่จะมีการปฎิรูปการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล และยุบเมืองต่าง ๆ ทั้ง 7 เมือง เป็นมณฑล
11.00 น. นำท่านชมเมืองโบราณยะริง ต้อนรับโดยคณะกรรมการท่องเที่ยวชุมชน สร้างโดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม  ในปี พ.ศ. 2438  อยู่ที่ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง  เป็นอาคารสองชั้น ครึ่งบนปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิม ผสมกับแบบยุโรป อาคารเป็นรูปตัวยู  ชั้นบนจัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของเจ้าเมือง และครอบครัวข้างละ 4 ห้อง  ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนสูง  บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียวแดงและน้ำเงิน  ช่องระบายอากาศและจั่วทำด้วยไม้ฉลุลาดลายเป็นพรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวา  และศิลปะตะวันตก  ทำให้ตัววังสง่ามาก  ตัววังยังมีสภาพสมบูรณ์ดีถึงปัจจุบัน
12.00 น. บริการอาหาร และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา
13.00 น. เดินทางต่อ
14.00 น. ไปยัง"วัดถ้ำยะลา" หรือวัดคูหาภิมุข มหัศจรรย์ชายแดนใต้  หรือ วัดหน้าถ้ำ ทราบว่า พ.ศ.2390 ผู้ใหญ่บ้านอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ ได้สร้างวัดคูหาภิมุข เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน ภายในวัดคูหาภิมุขมีถ้ำใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อย และน้ำใสสะอาดไหลรินจากโขดหิน วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจากวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป วัดคูหาภิมุข เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพุทธรูปฉาย ภาพเขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-17  นักโบราณคดีได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณถ้ำคูหาภิมุข เป็นภาพพระพุทธฉาย และภาพราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผา ภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง ใกล้ๆ กับวัดมีภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อนสีชมพู สวยงามมาก
15.00 น. นำท่านเดินทางต่อไปยังวัดช้างไห้ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300  ปี เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้
16.00 น. เข้าพักผ่อน อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ชมผาพญางู แหล่งท่องเที่ยวใหม่บนน้ำตกทรายขาวมีลักษณะคล้ายงูใหญ่  เดิมชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกตะโกน มีต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลาคีรี ถูกค้นพบโดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว) อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ประกอบด้วยจุดเด่นตามธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง
17.00 น. นำท่านเยี่ยมชมมัสยิดโบราณ 300 ปี ฟังบรรยายสรุปจากโต๊ะอิหม่าม หรือผู้นำชุมชน มัสยิด ๓๐๐ ปีแห่งนี้จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของพ่อท่านศรีแก้วกับโต๊ะอิหม่ามในยุคนั้น โดยสร้างแบบศิลปะประยุกต์ ผสมผสานระหว่างพุทธกับมุสลิม ภายในมีสถานที่ในการประกอบพิธีละหมาด แต่เมื่อมองจากภายนอกจะคล้ายคลึงกับโบสถ์ในศาสนาพุทธ"
18.00 น. เดินทางเข้าที่พัก ณ โฮมสเตย์  ปฏิบัติภารกิจทางศาสนา 
18.30 น. รับประทานอาหารเย็น ชมการแสดงของชุมชน พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สอง ปัตตานี                    
07.30 น. บริการอาหาร ณ ที่พัก จากนั้นเดินทางสู่
08.30 น. เดินทางเยี่ยมแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทรายขาว ที่มีการจัดการท่องเที่ยวแบบชุมชนที่มีความเข้มแข็ง
09.20 น. เดินต่อไปยังศาลาที่ประทับ ร.๗ อ.โคกโพธิ์ ซึ่งเป็นพลับพลาประวัติศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ คณะดาราศาสตร์ชาวอังกฤษและเยอรมัน กราบบังคมทูลเชิญรัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร บนภูเขาหลังที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ โดยมณฑลปัตตานีได้สร้างพลับพลาไว้เพื่อเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ ๗ ทั้งที่อำเภอโคกโพธิ์และอำเภอเมืองปัตตานี และพระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาทั้ง ๒ แห่ง เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ แต่ที่อำเภอโคกโพธิ์วันนั้นท้องฟ้ามืดครึ้ม ไม่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาได้ พระองค์จึงเสด็จมาทอดพระเนตรที่เมืองปัตตานี กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพลับพลาที่ประทับรัชกาลที่ ๗ ที่อำเภอโคกโพธิ์ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ และดำเนินการบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓
10.00 น. จากนั้นเดินทางสู่ตัวเมืองปัตตานี
12.00 น. บริการอาหาร... ปฏิบัติภารกิจทางศาสนา
13.00 น. นำคณะเยี่ยมชมมัสยิดกลางปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ
14.00 น. นำท่านชมความสวยงามของเมืองปัตตานี
15.00 น. เลือกซื้อของที่ระลึก ของฝากจากปัตตานี
18.00 น. เดินทางกลับ และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพด้วยรอยยิ้มและความประทับใจ

***โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com