ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 7 ลังกาสุกะ ...ปัตตานีในอดีต , ชุมขนท่องเที่ยวตันหยงลุโละ - มัสยิดกรือแซะ - สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว - ชมชุมชนบาราโฮม - สุสานพระยาอินทิรา - ชุมชนท่องเที่ยวบางปู - วังจะบังติกอ - มัสยิดรายอฟาตอนี
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เส้นทางที่  7 ลังกาสุกะ ...ปัตตานีในอดีต , ชุมขนท่องเที่ยวตันหยงลุโละ   - มัสยิดกรือแซะ - สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว - ชมชุมชนบาราโฮม - สุสานพระยาอินทิรา - ชุมชนท่องเที่ยวบางปู - วังจะบังติกอ - มัสยิดรายอฟาตอนี

กำหนดการเดินทาง
08.30 น. คณะออกเดินทางจากที่พัก จากนั้น
09.00 น. เยี่ยมชม ชุมขนท่องเที่ยวตันหยงลุโละ  ตำบลตันหยงลุโละ  เป็นตำบลที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย  ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำประมง  ทำนาเกลือ  ค้าขาย  รับจ้างทั่วไป  และที่สำคัญสามารถเลี้ยงหอยได้ดี  นอกจากนี้ตำบลตันหยงลุโละยังเป็นที่ตั้งของมัสยิดกรือเซะ  และฮวงซุ้ยเจ้าแม่ลิ้มกอเหนียว  ซึ่งเป็นโบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดปัตตานี  และตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย  สามารถพัฒนาและปรับปรุงเป็นที่ท่องเที่ยวประจำตำบล  อำเภอ  จังหวัด  ได้ในอนาคต
10.00 น. มัสยิดกรือแซะ มรดกอารยะธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลาง มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้เป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือเซ๊ะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
11.00 น. สักการะสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
11.30 น. เที่ยวชมชุมชนบาราโฮม
11.50 น. สุสานพระยาอินทิรา ฟังบรรยายสรุปถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ มุสลิมคนแรกของเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เหนือหลุมฝังศพมีหินแกรนิตสลักเป็นรูปก้อนเมฆ และมีอักษรภาษาอาหรับกำกับอยู่ บริเวณนี้เคยขุดพบเครื่องใช้ของคนรุ่นโบราณมากมาย สุสานพญาอินทิรา หรือที่ชาบ้านเรียกว่า กูโบรายามะรือเก๊าะ เป็นสถานที่ฝังพระศพของอดีตกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหลิฆัย ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เป็นผู้สร้างเมืองปัตตานีดารัสลาม (นครแห่งสันติ) ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ เพื่อใช้เป็นเมืองท่าทำการค้าขายกับนานาประเทศ และเป็นกษัตริย์องค์แรกที่เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพุทธ เข้ารับศาสนาอิสลาม หลังจากเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว เฉลิมพระนามใหม่ว่า สุลต่านอิสมาเอลซาห์
12.30 น. ชมชุมชนท่องเที่ยวบางปู กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พายเรือคะยักเที่ยวชมป่าชายเลนและอุโมงค์ป่าโกงกาง
13.00 น. บริการอาหาร และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา
14.00 น. เดินทางต่อ และ
15.00 น. เยี่ยมชมวังจะบังติกอ สร้างในสมัยตนกูมูฮัมหมัด (พ.ศ. 2388-2399)  เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี วังแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปัตตานี ในตัวเมืองปัตตานี  เป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่ หลังคาทรงปั้นหยา ตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยไม้ ภายในอาคารมีห้องโถงขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่ทำงานของเจ้าเมือง ส่วนด้านหลังของห้องโถงจะเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวและบริวาร ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัย ตนกูอับดุลกอร์เดร์ เจ้าเมืองคนสุดท้าย ก่อนที่จะมีการปฎิรูปการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล และยุบเมืองต่าง ๆ ทั้ง 7 เมือง เป็นมณฑล
15.30 น. มัสยิดรายอฟาตอนี ต.จะบังติกอ อ.เมือง ซึ่งเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมมลายูยุคเก่า โครงสร้างทำด้วยไม้จืองาทั้งหลัง มุงด้วยหลังคาที่ทำมาจากกระเบื้องดินเผา มัสยิดรายอฟาตอนี หรือ มัสยิดรายาจะบังติกอ ซึ่งเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมมลายูยุคเก่า โครงสร้างทำด้วยไม้จืองาทั้งหลัง มุงด้วยหลังคาที่ทำมาจากกระเบื้องดินเผา ผ่านการซ่อมแซมบูรณะหลายชั่วอายุคน แต่ยังเหลือเค้าของเดิม มัสยิดหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยสุลต่านมูฮำมัด  หรือ ตนกูบือซา ในปี พศ. 2374 เป็นสุเหร่าเพื่อใช้ปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิม มาถึงในสมัยตนกูสุไลมาน ( ตนกูบอซู ) พระอนุชาของตนกูบือซา ได้มีการบูรณะสร้างเป็นมัสยิดรายอปาฏอนี โดยมีช่างจากบ้านตาแก๊ะ  ลวดลายต่างๆ เช่น ลายเถาวัลย์ อันบ่งบอกถึงวัฒนธรรมมลายูผสมผสานอินเดียยุคดั้งเดิม ประตูมัสยิดทำด้วยไม้จืองา ท้าลมร้อนลมฝนมายาวนานเกือบ 200 ปีได้อย่างแรงกล้า
16.00 น. เที่ยวชม ชุมชนเมือง ,ลานวัฒนธรรม ร.๕
17.00 น. เดินทางกลับ และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ

***โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com