ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
 

 

 

 

 

สถานที่ท่องเที่ยว ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
tag อุโบสถวัดตรังคภูมิพุทธาวาส
อุโบสถวัดตรังคภูมิพุทธาวาส

อุโบสถวัดตรังคภูมิพุทธาวาส ตั้งอยู่ในวัดตรังคภูมิพุทธาวาส ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยพระครูวิสุทธ์ศิลาจารย์ฑิฆาปาโมกข์ (ลบ ทวิสุวรรณ ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๓๓ ง ลงวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อุโบสถวัดตรังคภูมิพุทธาวาส สร้างด้วยปูน ภายในมีพระพุทธรูปหินอ่อนปางมารวิชัย หรือหลวงพ่อขาว เป็นพระประธาน ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้อัญเชิญ มาจากประเทศพม่า พร้อมอัครสาวก ๒ รูป แ..

 

อ่านต่อ

tag สถานีรถไฟกันตัง
สถานีรถไฟกันตัง

สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่บ้านกันตัง ถนนรถไฟ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ และเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ เป็นสถานนีรถไปทางฝั่งอันดามันแห่งแรก พระยารัษฎานุประดิษฐ์สร้างขึ้นเพื่อใช้รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนิเซีย สถานีรถไฟกันตังเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองสตาร์ดสลับกับสีน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนตัวอาคาร และชานชลา ตัวอาคารมีสองห้องผนังตีตามแนวตั้งและห้องโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็ก กั้น..

 

อ่านต่อ

tag วัดตรังคภูมิพุทธาวาส
วัดตรังคภูมิพุทธาวาส

เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพุทธศักราช 2436 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) อดีตเจ้าเมืองตรัง เป็นผู้สร้างขึ้น หลังจากท่านได้ย้ายเมืองตรังจากตำบลควนธานีไปตั้งที่กันตัง และได้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า "วัดกันตัง" ครั้นถึงพุทธศักราช2455 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาวโรรส เสด็จตรวจคณะสงฆ์จังหวัดตรังและประทับแรมที่วัดกันตังได้ประทานชื่อใหม่เป็น "วัดตรังคภูมิพุทธาวาส" มีเนื้อที่ 21 ไร่ 89.40 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 308 ถนนตรั..

 

อ่านต่อ

tag พระพุทธรูปหินอ่อน (หลวงพ่อขาว)
พระพุทธรูปหินอ่อน (หลวงพ่อขาว)

พระพุทธรูปหินอ่อน "หลวงพ่อขาว" ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เลขที่ ๓๐๘ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นพระพุทธรูปหินอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดตรัง เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์สร้างเมืองที่กันตัง ก็ได้สร้างวัดกันตังและในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนมาจากพม่า เป็นพระปางมารวิชัย หรือที่เรียกว่า “หลวงพ่อขาว” มีพระเพลาขนาดกว้าง ๔๓ นิ้ว เป็นหินอ่อนสีขาวไม่มีลวดลาย เป็นสถาปัตยกรรมยุคสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองตรัง เป็นที่สักการะ..

 

อ่านต่อ

tag  อาคารชิโนโปรตุกีส
 อาคารชิโนโปรตุกีส

อาคารชิโนโปรตุกีส ตั้งอยู่บนถนนค่ายพิทักษ์ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นอาคารที่อยู่อาศัยไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ตกแต่งมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ สไตล์ชิโนโปรตุกีส สมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์หิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สมัยตั้งเมืองที่กันตัง ได้ส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศมลายู อินโดนีเซีย โปรตุเกส และชาวโปรตุเกสที่เดินทางมาทำการค้าขายที่กันตังในขณะนั้น ตอนแรกก็มาอาศัยพักค้างแรมที่ศาลเจ้าฮกเกี้ยน และต่อมาก็ได้ขยับขยายมาปลูกสร้างบ้านเรือนอาศัยทำมาค้าขายอย่างถาว..

 

อ่านต่อ

tag มัสยิดปากีสถาน กันตัง
มัสยิดปากีสถาน กันตัง

มัสยิดปากีสถาน กันตัง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๒ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นมัสยิดที่ในอำเภอกันตังเป็นอันดับที่ ๒ ในสมัยก่อนประชาชนที่มาค้าขายทางเรือจากจังหวัดต่าง ๆ ที่นับถือเป็นอิสลามก็จะมาทำพิธีทางศาสนาและมาพักแรมที่มัสยิดแห่งนี้..

 

อ่านต่อ

tag พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี "จวนเจ้าเมืองตรัง" ตั้งอยู่ที่ ถนนค่ายพิทักษ์ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างขึ้นในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอมซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง ซึ่งได้ย้ายที่ตั้งเมืองจากควนธานีมาอยู่ที่กันตัง ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ –๒๔๔๔ โดยได้สร้างบ้านพักบนเนินเขาเตี้ยๆ ลักษณะเป็นบ้านเรือนไม้ทรงปั้นหยา ๒ ชั้น เมื่อพระยารัษฎาฯ ถึงแก่อนิจกรรม พระยารัษฎาธิราชภักดี (คออยู่จ่าย) บุตรชายได้รับมรดกบ้านหลังนี้และใช้เป็นที่ทำการสำนักงานของบริษัทเบียนเจง ณ ระน..

 

อ่านต่อ

tag ควนตำหนักจันทร์
ควนตำหนักจันทร์

ควนตำหนักจันทร์เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ (ควน) อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒๕๐ ไร่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร) ต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้ควนตำหนักจันทร์เป็นที่ตั้งกองทัพ ดังปรากฎ หลักฐาน คือ หลุมหลบภัยที่มีอยู่โดยรอบจำนวนหลายหลุม ปัจ..

 

อ่านต่อ

tag ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย
ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย

ยางพาราต้นหนึ่งในสวนที่ พระยาสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) ได้นำเมล็ดพันธุ์เข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นรุ่นแรก ยางพารามีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล พระยาสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) หลานชายของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี นำเมล็ดยางพาราเข้ามาปลูกในเมืองตรัง โดยปลูกไว้ที่บ้านพักเป็นสวนยางรุ่นแรกของประเทศไทย พระยารัษฎาฯ ส่งเสริมการปลูกยางพาราตัวอย่างขึ้น ที่ตำบลช่อง เชิญชวนเจ้านายและข้าราชการ ให้มาทำสวนยางที่เมืองตรัง ที่บ้านบางหมาก และตูลูลู้ด ปัจจุบัน ต้นยางพาราต้นหนึ่งในส..

 

อ่านต่อ

tag ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองกันตัง
ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองกันตัง

ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองกันตัง ตั้งอยู่บนถนนรัษฎา ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นสถานที่จัดเก็บเอกสารข้อมูลที่แสดงเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองกันตัง สามารถค้นคว้าอ้างอิงได้ ในอนาคตจะเป็นสถานที่ในการใช้ระบบอินเตอร์มิเดียในการค้นหาข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับอำเภอกันตัง สามารถเชื่อมโยงกันได้ตลอด ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าข้อมูลของนักเรียนนักศึกษา เพื่ออ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอำเภอกันตัง เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในงานเทศกาล งานประเพณีต่างๆ เช่..

 

อ่านต่อ

หน้า : 1 2

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com