ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
 

 

 

 

 

ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
 

 
ประวัติความเป็นมา ความเป็นมา เกาะพยาม เดิมเรียกว่า เกาะพิยาม ซึ่งมาจากคำว่า "พอยาม" หมายถึง การเดินทางไป เกาะพยามพอยามจึงจะถึงเกาะ (ประมาณ 4 ชั่วโมง) และเรียกกันต่อมาว่า "เกาะพยาม" และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านบนเกาะพยาม มาจากคำว่า "พยายาม" เพราะในสมัยก่อนการเดินทางมาเกาะพยามเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องอาศัยโดยสารมากับเรือประมงของชาวบ้าน ซึ่งคาดไม่ได้ว่าจะไปจะมาเมื่อไหร่ การเดินทางยากลำบากสมกับชื่อ คำว่า "เกาะพยาม" เดิมเกาะพยาม มีคนอาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นไทยมุสลิม ในปี พ.ศ. 2500 นายสำเภา ศิริสัมพันธ์ ได้รับสัมปทานการเลี้ยงหอยมุกจากรัฐบาล ได้ใช้พื้นที่เกาะพยามเพาะเลี้ยงหอยมุก (ฟาร์มมุก) และได้อพยพคนอาศัยอยู่เดิมไปอยู่ที่บ้านช้างแหก หมู่ที่ 8 ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จึงเป็นสาเหตุที่เกาะพยามไม่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่เลย ต่อมาสัมปทานหอยมุกเลิกกิจการ เริ่มมีผู้คนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี อพยพเข้ามา โดยมาจากเกาะสมุย เกาะพะงัน
   
สภาพทั่วไปของตำบล  เกาะพยามมีความหลากหลายใน ระบบนิเวศน์ มีสัตว์ต่างๆอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นกเงือก, นกอินทรีย์, ลิง ,หมูป่า อีกทั้งมีหาดทรายสีขาวและน้ำทะเลสวยใส เหมือนกับเกาะสมุยเมื่อประมาณ 20ปีก่อน บนเกาะพยามมีสถานีอนามัย, โรงเรียน และวัดซึ่งมีอุโบสถตั้งอยู่ในทะเล อยู่บริเวณท่าเรือของเกาะ  ตำบลเกาะพยามเป็นตำบลหนึ่ง  ของอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองระนองอยู่ห่างจากปากน้ำระนองประมาณ 33 กิโลเมตรมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 34.7 ตารางกิโลเมตร (21,683.17 ไร่) แยกเป็น หมู่ที่ 1 บ้านเกาะพยาม เนื้อที่ 16.60 ตารางกิโลเมตร (10,371,981 ไร่) หมู่ที่ 2 บ้านเกาะช้าง เนื้อที่ 18.10 ตารางกิโลเมตร (11,311,190 ไร่)
   
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
   
จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรในเขต อบต. 760 คน
   
ข้อมูลอาชีพของตำบล ธรุกิจท่องเที่ยว,สวนมะม่วงหิมพานต์,สวนยางพารา และทำการประมงชายฝั่ง
   
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
   
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล :
   

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com