ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
การคมนาคม
 

 

 

 

 

ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 

 
ประวัติความเป็นมา
องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลเดิมมีการปกครองท้องที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ 2457 มีเพียง 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านน้ำซับ หมู่ที่ 2 บ้านท่าไม้เหลี่ยม หมู่ที่ 3 บ้านดอนเกลี้ยง ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช 2486 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้เข้ามาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขุนทะเล เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเพื่อเป็นกฎหมายรับรองอาณาเขต เมื่อปีพุทธศักราช 2518 พื้นที่ประมาณ 37,070 ไร่ และได้ตัดเส้นทางคมนาคมสายหลัก คือ ถนนสุราษฎร์-นาสาร ผ่านกลางตำบลขุนทะเลตลอดแนว พร้อมทั้งได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ เป็นหมู่ที่ 4 บ้านควนยูง หมู่ที่ 5 บ้านซอย 10 เมื่อ พ.ศ. 2504 
ตั้งแต่พุทธศักราช 2486 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยได้เข้ามาจัดสรรที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและใกล้เคียง เข้ามาอยู่อาศัยโดยจัดแบ่งให้ครอบครัวละ 25 ไร่ โดยถือครองที่ดินอยู่เดิม 1,393 ราย ในปี 2546 มีครอบครัวขยายเป็น 3,000 ราย และครอบครัวแฝง 2,000 ราย เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้จัดแบ่งเขตหมู่บ้านออกเป็น หมู่ที่ 4 บ้านควนยูง หมู่ที่ 5 บ้านซอยสิบ เมื่อ พ.ศ. 2504 และเปลี่ยนบ้านน้ำซับเป็นบ้านนิคม หมู่ที่ 1 เมื่อประมาณปี 2517 ได้แยกหมู่ที่ 2 บ้านท่าไม้เหลี่ยม ออกเป็นหมู่ที่ 6 บ้านห้วยเสียน และตั้งชื่อ หมู่ที่ 2 ใหม่เป็นบ้านท่าอู่
ตำบลขุนทะเล ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่ 
หมู่ที่ 1 บ้านนิคม 
หมู่ที่ 2 บ้านท่าอู่ 
หมู่ที่ 3 บ้านดอนเกลี้ยง 
หมู่ที่ 4 บ้านควนยูง 
หมู่ที่ 5 บ้านซอย 10 
หมู่ที่ 6 บ้านห้วยเสียน 
หมู่ที่ 7 บ้านใหม่นิคม 
หมุ่ที่ 8 บ้านคลองเรือ 
หมู่ที่ 9 บ้านภูธรอุทิศ 
หมู่ที่ 10 บ้านใหม่จัตวา
   
สภาพทั่วไปของตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลมีจำนวนเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน 45,382 ไร่ หรือประมาณ 98 ตารางกิโลเมตร ในจำนวนเนื้อที่ทั้งหมดมีการทำการเกษตร จำนวนพื้นที่ 39,508 ไร่
   
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี , อบต.มะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
ทิศใต้ ติดกับ อบต.ทุ่งเตาใหม่ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.ทุ่งรัง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.วัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
   
จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรในเขต อบต. 12,121 คน และจำนวนหลังคาเรือน 4,804 หลังคาเรือน
   
ข้อมูลอาชีพของตำบล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำสวนยางพาราซึ่งมีมาเป็นอันดับ 1 ส่วนการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน , ชมพู่ , ฝรั่งกระท้อน , มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน ลดหลั่นตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีการปลูกผักอยู่บ้างกระจายอยู่ทั่วทุกหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีอาชีพค้าขาย รับจ้าง และข้าราชการ ซึ่งมีส่วนราชการอยู่หลายหน่วยงานในเขตพื้นที่ โดยเฉลี่ยแล้วประชากรมีรายได้ประมาณ 15,000.- บาท/ปี
   
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1. วัดศานติไมตรี
2. วัดท่าอู่
3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
4. ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี
5. บึงขุนทะเล
   
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล :
   

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com