search
ข้อมูล ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
 

 

 

 

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม จังหวัดระนอง
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ประกอบไปด้วยพื้นน้ำทะเล และเกาะน้อยใหญ่กว่า 15 เกาะ เช่น เกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดำ เกาะสน เกาะพยาม เกาะช้าง เกาะทะลุ เกาะไฟไหม้ เกาะสองพี่น้อง และเกาะขาม เป็นต้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะช้าง ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหินกอง-ป่าคลองม่วงกลวง และป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียว-ป่าคลองเกาะสุย รวมเนื้อที่ประมาณ 183,125 ไร่ หรือ 293 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 167 ตารางกิโลเมตร หรือ 104.375 ไร่ เริ่มดำเนินการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนโยบายของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบในการประกาศต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป ประกอบด้วย ที่ราบชายฝั่งในทะเลอันดามัน จากลักษณะพื้นที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มพื้นที่ คือ

1. กลุ่มพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีลักษณะเป็นหาดงอกยื่นลงไปในทะเล ปกคลุมด้วยป่าชายเลนอย่าง หนาแน่น มีลำคลองขนาดใหญ่หลายสายไหลผ่าน เช่น คลองหงาว คลองบางหนาง คลองละออง คลองราชกรูด คลองละอุ่น คลองบางจาก ฯลฯ

2. กลุ่มพื้นที่เกาะที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่ง ได้แก่ เกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดำ เกาะสน และเกาะ บริวารอื่นๆ ซึ่งแต่ละเกาะมีป่าชายเลนขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ ส่วนด้านทิศตะวันตก จะมีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวและหาดทราย พื้นที่บนเกาะมีสภาพป่าดงดิบชื้นปกคลุม

3. กลุ่มพื้นที่และที่ตั้งอยู่ห่างจากแนวฝั่ง ได้แก่ เกาะช้าง เกาะทะลุ เกาะตาครุฑ เกาะหม้อ เกาะปริง เกาะไร่ เกาะไฟไหม้ เป็นต้น เป็นหมู่เกาะที่วางตัวกระจายในแนวเหนือ-ใต้ ขนานไปกับแนวชายฝั่ง พื้นที่บนเกาะแต่ละเกาะจะปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบชื้น บริเวณโดยรอบเกาะจะมีแนวปะการังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า พืชพรรณ สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยามสามารถจำแนกออกเป็น

- ป่าชายเลน รวมเนื้อที่ประมาณ 60,625 ไร่ คิดเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยพันธุ์พืชถึง 35 ชนิด 18 สกุล 14 วงศ์ เช่น แสม แสมขาว แสมทะเล แสมดำ ถั่วขาว ถั่วดำ พังกาหัวสุมดอกขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงขาว โปรงแดง ตาตุ่มทะเล หลุมพอทะเล ฝาดดอกแดง ฝาดดอกขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ลำพู ลำแพน ตะบูนดำ ตะบูนขาว และจาก เป็นต้น พืชพื้นล่าง ได้แก่ สำมะง่า เถากระเพาะปลา เหงือกปลาหมอดอกขาว เหงือกปลาหมอดอกม่วง ปรงทะเล ปรงหนู เป็นต้น

- ป่าดงดิบ เนื้อที่ประมาณ 18,125 ไร่ หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่พบรวม 49 ชนิด เช่น กระท้อนป่า ตำเสา ขนุนป่า ขุนไม้ ไข่เขียว เฉียงพร้านางแอ ตะเคียนทอง ตีนเป็ด เทพธาโร ทุ้งฟ้า ยมหิน สะตอ เลือดควาย หลาวชะโอน เป็นต้น พืชพื้นล่างได้แก่ หวายกำพวน หวายแดง ระกำ มอส เฟิน เป็นต้น

- ป่าชายหาด พบได้ตามแนวชายหาดบางส่วนของพื้นที่เกาะช้างและเกาะทรายดำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนทะเล จิกทะเล หยีทะเล เตยทะเล และปรงทะเล เป็นต้น

- ทุ่งหญ้า พบบริเวณเขายิว เกาะทรายดำ โดยจะมีหญ้าชนิดต่างๆ มีหญ้าคาเป็นหลัก --

สัตว์ป่า สามารถจำแนกออกได้เป็น

- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย ลิงแสม นากใหญ่ขนเรียบ บ่าง กระรอก กระแต หมูป่า ตุ่น พังพอน ชะมดเช็ด กระจง ลิงลม ค่างดำ ชะนีธรรมดา เสือปลา เก้ง ค้างคาวแม่ไก่เกาะหนูชนิดต่าง และโลมา

- นก สำรวจพบ 52 ชนิด เช่น นกยางชนิดต่างๆ เหยี่ยว อีกา นกนางแอ่น นกแซงแซว ไก่ป่า นกกวัก นกกินเปี้ยว นกออก นกเอี้ยง นกดุเหว่า นกแก๊ก นกขุนทอง นกเปล้า และนกกางเขนดง นกกางเขนบ้าน นกเขาไฟ นกตบยุง นกกระแตแต้แว้ด นกเป็ดน้ำ เป็นต้น

- สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย ตะกวด เหี้ย งูเห่า งูจงอาง งูเหลือม และเต่าชนิดต่างๆ

- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วยกบ คางคก อึ่งอ่าง เขียด และปาด

- แมลง ได้แก่ ผีเสื้อ แมลงปอ ตั๊กแตน จิงโจ้น้ำ แมลงสาปทะเล เป็นต้น

ทรัพยากรทางทะเล ประกอบด้วย ปูก้ามดาบ ปูเสฉวน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเคย กุ้งกะต่อม กุ้งดีดขัน แม่หอบ หอยตะโกรม หอยกะทิ หอยเจดีย์ หอยขาว ปลาตีน ปลากระบอก ปลากระทุงเหว ปลาข้างลาย ปลาปักเป้า ปลาสาก ปลากะพงแดง ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลาอินทรี แมงกระพรุน หมึก หอยเม่น ปลิงทะเล และปะการัง เป็นต้น

พื้นที่เตรียมการ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ประกอบไปด้วยพื้นน้ำทะเล และเกาะน้อยใหญ่กว่า 15 เกาะ เช่น เกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดำ เกาะสน เกาะพยาม เกาะช้าง เกาะทะลุ เกาะไฟไหม้ เกาะสองพี่น้อง และเกาะขาม เป็นต้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะช้าง ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหินกอง-ป่าคลองม่วงกลวง และป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียว-ป่าคลองเกาะสุย รวมเนื้อที่ประมาณ 183,125 ไร่ หรือ 293 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 167 ตารางกิโลเมตร หรือ 104.375 ไร่ เริ่มดำเนินการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนโยบายของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบในการประกาศต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป ประกอบด้วย ที่ราบชายฝั่งในทะเลอันดามัน จากลักษณะพื้นที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มพื้นที่ คือ

1. กลุ่มพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีลักษณะเป็นหาดงอกยื่นลงไปในทะเล ปกคลุมด้วยป่าชายเลนอย่าง หนาแน่น มีลำคลองขนาดใหญ่หลายสายไหลผ่าน เช่น คลองหงาว คลองบางหนาง คลองละออง คลองราชกรูด คลองละอุ่น คลองบางจาก ฯลฯ

2. กลุ่มพื้นที่เกาะที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่ง ได้แก่ เกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดำ เกาะสน และเกาะ บริวารอื่นๆ ซึ่งแต่ละเกาะมีป่าชายเลนขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ ส่วนด้านทิศตะวันตก จะมีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวและหาดทราย พื้นที่บนเกาะมีสภาพป่าดงดิบชื้นปกคลุม

3. กลุ่มพื้นที่และที่ตั้งอยู่ห่างจากแนวฝั่ง ได้แก่ เกาะช้าง เกาะทะลุ เกาะตาครุฑ เกาะหม้อ เกาะปริง เกาะไร่ เกาะไฟไหม้ เป็นต้น เป็นหมู่เกาะที่วางตัวกระจายในแนวเหนือ-ใต้ ขนานไปกับแนวชายฝั่ง พื้นที่บนเกาะแต่ละเกาะจะปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบชื้น บริเวณโดยรอบเกาะจะมีแนวปะการังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า พืชพรรณ สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยามสามารถจำแนกออกเป็น

- ป่าชายเลน รวมเนื้อที่ประมาณ 60,625 ไร่ คิดเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยพันธุ์พืชถึง 35 ชนิด 18 สกุล 14 วงศ์ เช่น แสม แสมขาว แสมทะเล แสมดำ ถั่วขาว ถั่วดำ พังกาหัวสุมดอกขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงขาว โปรงแดง ตาตุ่มทะเล หลุมพอทะเล ฝาดดอกแดง ฝาดดอกขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ลำพู ลำแพน ตะบูนดำ ตะบูนขาว และจาก เป็นต้น พืชพื้นล่าง ได้แก่ สำมะง่า เถากระเพาะปลา เหงือกปลาหมอดอกขาว เหงือกปลาหมอดอกม่วง ปรงทะเล ปรงหนู เป็นต้น

- ป่าดงดิบ เนื้อที่ประมาณ 18,125 ไร่ หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่พบรวม 49 ชนิด เช่น กระท้อนป่า ตำเสา ขนุนป่า ขุนไม้ ไข่เขียว เฉียงพร้านางแอ ตะเคียนทอง ตีนเป็ด เทพธาโร ทุ้งฟ้า ยมหิน สะตอ เลือดควาย หลาวชะโอน เป็นต้น พืชพื้นล่างได้แก่ หวายกำพวน หวายแดง ระกำ มอส เฟิน เป็นต้น

- ป่าชายหาด พบได้ตามแนวชายหาดบางส่วนของพื้นที่เกาะช้างและเกาะทรายดำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนทะเล จิกทะเล หยีทะเล เตยทะเล และปรงทะเล เป็นต้น

- ทุ่งหญ้า พบบริเวณเขายิว เกาะทรายดำ โดยจะมีหญ้าชนิดต่างๆ มีหญ้าคาเป็นหลัก --

สัตว์ป่า สามารถจำแนกออกได้เป็น

- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย ลิงแสม นากใหญ่ขนเรียบ บ่าง กระรอก กระแต หมูป่า ตุ่น พังพอน ชะมดเช็ด กระจง ลิงลม ค่างดำ ชะนีธรรมดา เสือปลา เก้ง ค้างคาวแม่ไก่เกาะหนูชนิดต่าง และโลมา

- นก สำรวจพบ 52 ชนิด เช่น นกยางชนิดต่างๆ เหยี่ยว อีกา นกนางแอ่น นกแซงแซว ไก่ป่า นกกวัก นกกินเปี้ยว นกออก นกเอี้ยง นกดุเหว่า นกแก๊ก นกขุนทอง นกเปล้า และนกกางเขนดง นกกางเขนบ้าน นกเขาไฟ นกตบยุง นกกระแตแต้แว้ด นกเป็ดน้ำ เป็นต้น

- สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย ตะกวด เหี้ย งูเห่า งูจงอาง งูเหลือม และเต่าชนิดต่างๆ

- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วยกบ คางคก อึ่งอ่าง เขียด และปาด

- แมลง ได้แก่ ผีเสื้อ แมลงปอ ตั๊กแตน จิงโจ้น้ำ แมลงสาปทะเล เป็นต้น

ทรัพยากรทางทะเล ประกอบด้วย ปูก้ามดาบ ปูเสฉวน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเคย กุ้งกะต่อม กุ้งดีดขัน แม่หอบ หอยตะโกรม หอยกะทิ หอยเจดีย์ หอยขาว ปลาตีน ปลากระบอก ปลากระทุงเหว ปลาข้างลาย ปลาปักเป้า ปลาสาก ปลากะพงแดง ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลาอินทรี แมงกระพรุน หมึก หอยเม่น ปลิงทะเล และปะการัง เป็นต้น

 

 

แผนที่ :