search
ข้อมูล ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
การท่องเที่ยวกลางคืน
การท่องเที่ยวในลักษณะขับรถท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
เครื่องดื่ม
ร้านอาหารฮาลาล
ร้านอาหาร ภัตตาคาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
เครื่องประดับ
เครื่องนุ่งห่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
ททท.สำนักงานจังหวัด
สถานีขนส่งรถประจำทาง
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 5 วันเดียวเที่ยวสายธรรมมะ ศึกษาประวัติศาสตร์ เมืองจังซีลอน , (วัดไชยธาราราม - ภูเก็ตเมืองเก่า - พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว - พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี - ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร - ศาลเจ้ากิวเที้ยนเก้ง - วัดพระนางสร้าง - สะพานสารสิน)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เส้นทางที่  5 วันเดียวเที่ยวสายธรรมมะ ศึกษาประวัติศาสตร์ เมืองจังซีลอน , (วัดไชยธาราราม  - ภูเก็ตเมืองเก่า - พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว - พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี - ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร -  ศาลเจ้ากิวเที้ยนเก้ง - วัดพระนางสร้าง - สะพานสารสิน)
08.00 น. รับคณะจุดนัดหมาย จากนั้นมุ่งหน้าสู่
08.30 น. วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม  เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป จากเรื่องราว ความศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดี ของ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในการเป็นที่พึ่ง ให้แก่ชาวบ้าน ในการต่อสู้กับพวกอั้งยี่  ภายหลังรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าพระราชทาน สมณะศักดิ์แก่หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ซึ่งท่านก็เป็นที่เคารพเลื่อมใส ของชาวภูเก็ต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนใด ก็พากันมาบนบาน ให้หลวงพ่อ ช่วยเหลือเสมอ
09.20 น. เมืองเก่าภูเก็ต ตึกรามบ้านช่องในตัวเมืองภูเก็ตส่วนมากเป็น  ตึกสมัยเก่ามีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สร้างขึ้นเกือบร้อยปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีอาคารบางส่วนที่ได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมแบบจีนมาผสม ผสาน เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบ ชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) คืออาคารจะมีส่วนลึกมากกว่าส่วนกว้างและไม่สูงนัก 
10.00 น. พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งชาวจีนฮกเกี้ยนบรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรกที่อพยพมาอยู่ที่ภูเก็ตได้ร่วมกันตั้งขึ้น ตัวอาคารแบบชิโนโปรตุกีสที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 ด้านบนยังใช้เป็นห้องเรียนภาษาจีน ส่วนด้านล่างมักใช้จัดนิทรรศการต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านศิลปะและวัฒนธรรม
12.00 น. รับประทานอาหาร
13.00 น. เดินทางต่อ
13.30 น. แวะสักการะ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือ พระใหญ่ ภูเก็ต ประดิษฐานอยู่ที่เขานาคเกิด เลยจากวัดฉลองไป เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จังหวัดภูเก็ตในกลุ่มนักท่องเที่ยว ลักษณะเด่นของพระใหญ่ ได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เห็นได้รอบเกาะภูเก็ต พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี (พระใหญ่) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบร่วมสมัย
14.00 น. วัดพระนางสร้าง อยู่ห่างจากตัวเมือง 20 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเทพกษัตรี ถึงสี่แยกอำเภอถลาง ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายเป็นวัดที่เก่าแก่ และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เมืองถลางที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นค่ายสู้รบกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 นอกจากนี้ภายในอุโบสถเก่ายังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ 3 องค์ เรียกว่า พระในพุง หรือ พระสามกษัตริย์ ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่อีกชั้นหนึ่ง
15.30 น. อนุสาวรีย์วีรสตรี ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นนามเทิดพระเกียรติแห่งวีรกรรมที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ท่านผู้หญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุก เป็น ท้าวศรีสุนทร ท่านทั้งสอง เป็นบุตรีของเจ้าเมืองถลาง นามว่า พระถลางจอมร้าง 
16.20 น. ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สะพานหิน ภูเก็ต ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ  อ๊าม สะพานหิน ได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 16 เมษายน จากนั้นได้อัญเชิญ องค์เทพกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ มาประดิษฐานในศาลเจ้า ในปี พ.ศ.2548 ได้อัญเชิญ ม่าจ้อโป้ มาจากเกาะเหมยโจ ประเทศจีน เพื่อใช้เป็น สถานที่ประกอบพิธีเฉี้ยโห้ย (พิธีกรรมอัญเชิญไฟศักดิ์สิทธิ์ การอัญเชิญ ยกอ๋องซ่งเต่ มาเป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆเช่น ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นต้น) ซึ่งทุกๆศาลเจ้าต้องมาประกอบพิธีที่สะพานหิน
17.00 น. สะพานสารสิน เป็นสะพานที่สร้างข้ามช่องปากพระเพื่อเชื่อมระหว่างเกาะภูเก็ตตรงบริเวณท่าฉัตรไชยกับท่านุ่น จังหวัดพังงา  มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร สะพานสารสินได้กำหนดให้ใช้เป็นสะพานขาออกจากจังหวัดภูเก็ต ตำนานรักสะพานสารสิน เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โศกนาฏกรรมของหนุ่มสาว 2 คนที่ตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำ เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มหญิงสาวที่แตกต่างกัน ด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม ตำนานรักสะพานสารสิน เป็นบทเรียนแห่งความรักอีกบทหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในตำนานคู่เมืองภูเก็ต แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปสักกี่ยุคกี่สมัย ตำนานเหล่านี้ก็ต้องบันทึกไว้และเป็นบทเรียน 
18.00 น. เดินทางกลับยังที่พัก

 

 

แผนที่ :