ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
เครื่องประดับ
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่ ศูนย์ประณีตศิลป์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่ ตั้งอยู่ในอาคารศูนย์ประณีตศิลป์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก่อตั้งเมื่อปี 2550 เป็นอาคารที่มีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเรือน ไทยแบบผสมผสานประยุกต์ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นงดงาม แนวคิดในการออกแบบอาคาร เป็นการผสมผสานระหว่างรูปลักษณ์ของอาคารกุฏิจาก “วัดท้ายยอ” จ.สงขลา ซึ่งเป็นเรือนหมู่ที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ ผสมผสานกับรูปลักษณ์ของอาคาร “มัสยิดวาดิลฮูเซ็น” หรือ “มัสยิดตะโละมาเนาะ” จ.นราธิวาส ที่มีอายุกว่า 300 ปี และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ


พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2550 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ซึ่งตรงกับวันฉลองครบรอบหนึ่งทศวรรษมหาวิทยาลัยหาดใหญ่


ส่วนจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์

ชั้นล่าง จัดแบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน

      ห้องโถงที่ 1 เป็นห้องจัดแสดงข้อมูลสำคัญๆ เชิงนัยประวัติที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสงขลาและภาคใต้ นับเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยปัจจุบัน นอกจากนี้มีเรื่องราวอื่นๆ ที่จัดแสดงได้แก่ พระบรมรูปจำลองในหลวงรัชกาลที่ 9 ประทับในบุษบก ,วีดิทัศน์แสดงพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีบทเพลงพระราชนิพนธ์ และบทเพลง “เพียงพอเหมือนพ่อทำ” ซึ่งมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้จัดทำขึ้นเป็นเพลงประกอบ,พระฉายาลักษณ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดพิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่ และทรงปลูก “ต้นมะหาด” ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ , โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้ , โบราณวัตถุสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในภาคใต้, เส้นทางสายวัฒนธรรม 14 จังหวัดภาคใต้ , แผนที่โบราณ เป็นต้น


    ห้องโถงที่ 2 ภายในห้องนี้จะเน้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองหาดใหญ่ได้แก่ ปฏิทินประวัติศาสตร์เมืองหาดใหญ่ , เกร็ดประวัติศาสตร์เมืองหาดใหญ่ , ผู้บุกเบิกและพัฒนาเมืองหาดใหญ่ ,แผนที่ภาพกัลปนาวัดพะโคะ , เครื่องใช้ในวิถีวัฒนธรรมไทยพื้นบ้านภาคใต้ และประมวลภาพในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ.2502


   ห้องโถงที่ 3 จัดแสดงรูปจำลองพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร , ประมวลภาพถ่ายเก่าแก่เมืองหาดใหญ่ ภาพทัศนียภาพเมืองหาดใหญ่ในปัจจุบัน ,ประวัติน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน ,ตู้จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ และ Computer multimedia touch screen เรื่อง “สงขลาในความทรงจำ” และ “หาดใหญ่ในความทรงจำ” ประกอบด้วยข้อมูล ภาพถ่ายเก่า ภาพยนตร์ บทกวี บทความ นวนิยาย บทเพลง ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสงขลา และอำเภอหาดใหญ่


   ชั้นบน  เป็นพื้นที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของโรงเรียนในเครือหาดใหญ่อำนวยวิทย์ และของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในส่วนของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ประกอบด้วยเรื่องเชิงนัยประวัติ ได้แก่ อธิการบดี พัฒนาการด้านการศึกษา เหตุการณ์สำคัญ และอาคารสถานที่ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของท่านอาจารย์ประดิษฐ์ ดิษยะศริน บุคคลสำคัญที่ได้วางรากฐานการศึกษาของโรงเรียนในเครืออำนวยวิทย์กระทั่งมีพัฒนาการมาจนถึงมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ รวมถึงได้จัดให้มีส่วนจัดแสดงโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนำเสนอข้อมูลเรื่องราวเชิงประวัติของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่



 

 

วันเปิดทำการ :  เปิดวันอังคาร -วันอาทิตย์ ปิดทำการทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
 

 

เวลาเปิดทำการ :  เวลา 08.30-16.30น.
 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

     มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

 

 

เดินทางอย่างไร :

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม 

http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/113813/พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่-ศูนย์ประณีตศิลป์/

 

 

 

 

เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว / สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง :

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com