ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

การทำกรงนก (นกกรงหัวจุก)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

การทำกรงนก (นกกรงหัวจุก)


๑.ชื่อข้อมูล การทำกรงนกนกกรงหัวจุก
๒.ประวัติความเป็นมา
คนปัตตานีนิยมเลี้ยงนกกรงหัวจุก(นกปรอดหัวโขน) ไว้เพื่อฟังเสียงขันและนำมาประชันเสียงกันในสนามแข่ง มีผลทำให้เกิดความต้องการที่จะได้กรงนกดี รูปทรงสวยงาม ให้นกตัวเก่งได้อาศัย เป็นความภูมิใจ เป็นหน้าตาของเจ้าของนก และยังเป็นเสมือนหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านอีกด้วย จึงคิดรูปแบบการทำกรงนก ที่นิยมกันส่วนมากมักเป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมู สูงประมาณ ๓๐ นิ้ว กว้างประมาณ ๑๔ นิ้ว มีส่วนประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วน ได้แก่ โครงกรง ซี่กรง และหัวกรง สำหรับโครงกรง เน้นการใช้ไม้เนื้อแข็งนำมาเลื่อยซอนเป็นชิ้นส่วนต่างๆ จำนวน ๑๘ ชิ้น ได้แก่ไม้เสา สูงประมาณ ๓๒ นิ้ว จำนวน ๔ อัน (หลังการเลื่อยซอยนำมากลึงกลมเรียบ) ๒ ไม้คานบน ยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว จำนวน ๕ อัน ไม้คานล่าง ยาวประมาณ ๑๔ นิ้ว จำนวน ๕ อัน ไม้คั่นกรง ยาวประมาณ ๑๒ ๑/๒ นิ้ว จำนวน ๔ อัน ไม้อันดับที่ ๒, ๓, ๔, จะต้องวัดขนาด เจาะรูด้วยสว่านตาเล็ก เจาะทะลุบนสันให้รับกัน เพื่อไว้เสียบร้อยซี่กรง มีการถือเคล็ดเกี่ยวกับจำนวนรูที่เจาะ ให้เจาะเป็นจำนวนคี่ เช่น ๑๓, ๑๕, ๑๗, ๑๙ หรือ ๒๑ รู ตามความเล็ก ใหญ่ของกรง หากเจาะเป็นคู่เชื่อกันว่าจะทำให้นกเจ็บป่วย ขันไม่ดี หลังจากนั้นช่างจะเน้นการลักลายบนไม้ โครงทุกชิ้น ซึ่งเป็นส่วนที่จะแสดงความงาม ความประณีตของฝีมือช่างและบ่งบอกถึงราคาของกรง
๓.วัสดุ/อุปกรณ์ใช้ทำกรงนก มีดังนี้ สว่านเจาะไม้ เครื่องเจียรไม้ เครื่องทำลายดอก มีดแกะสลัก กระดาษทรายขัด กระดาษลายดอก ก้านไม้กรงนก ไม้ทำกรงนก หัวแขวนกรงนก แล๊กเกอร์ ดินสอ และ กาวทาไม้
๔.วิธีทำ
๔.๑ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ
๔.๒ นำไม้มาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆให้ขนาดเท่ากัน ตามขนาดที่ต้องการ และนำมาขัดกับกระดาษทรายเพื่อนำมา เป็นเสากรงนก - แกะสลักทำลายดอกตามแบบที่ต้องการ
๔.๓ นำไม้มาประกอบเป็นกรงนกตามแบบที่ต้องการ นำไม้ไผ่หรือไม้ตาลโตนดมาเหลาให้เป็นซี่เล็กๆ
๔.๔ ตามขนาดที่ต้องการ และนำก้านกรงนกมาประกอบเป็นกรงนก
๔.๕ นำอุปกรณ์เสริมมาใส่ในกรงนก เช่น ถ้วยสำหรับใส่น้ำ ใส่อาหาร หัวกรงสำหรับแขวน
๔.๖ ขั้นตอนสุดท้าย ทาแล๊กเกอร์แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง นำก้านมาประกอบและใส่หัวกรงนก

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    นายเจะอามะ มะเซ็ง
    เลขที่ ๖๗ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑
    ตำบล ปุลากง จังหวัด ปัตตานี


    --------------------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://m-culture.in.th

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com