ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

ขนมต่างๆของหวาน
 
 
ข้อมูลทั่วไป :


  ลูกหยียะรัง

การทำลูกหยี ต้นหยีเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง เมื่อโตเต็มที่จะมีเนื้อไม้สีดำแข็งแกร่ง ขนาดต้นสูง 50 – 100 ฟุต ออกผลเป็นพวงช่อประมาณ 50 – 100 ลูก ตรงส่วนยอดของกิ่งก้านขนาดลูกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ตรงส่วนยอดของกิ่งก้าน เมื่อสุกมีรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ มีเมล็ดใน 1 เมล็ด ลักษณะแข็ง มีเนื้อนิ่มหุ้มเมล็ด มีเปลือกนอกเปราะเกรียม เมื่อสุกจะมีเปลือกสีดำ ต้นหยี มีมากทางภาคใต้ตอนล่าง ภาคกลางเรียกว่า “เขลง” ภาคอีสานเรียกว่า “นางดำ” ภาษามลายูถิ่นปัตตานี เรียกว่า “กรันตี” ต้นหยีมีมากที่อำเภอยะรัง ชาวบ้านในพื้นที่ทั้งไทยและพุทธ และไทยมุสลิม จึงได้นำลูกหยีมาแปรรูปกลายเป็นอุตสาหกรรมในท้องถิ่น โดยเอาลูกหยีที่แกะออกจากเปลือกแล้วห่อกระดาษแก้วออกจำหน่ายเรียกว่า “ลูกหยีแดง” มีผู้สนใจทำจำหน่ายหลายราย เช่น นายซิ้ว แซ่เลี้ยง นายแช วีรวงศ์ และเลื่อน แซ่พู ซึ่งนางเลื่อนได้มีความคิดว่า ลูกหยีนอกจากผลิตเป็นลูกหยีแดงแล้ว น่าจะเก็บไว้ได้นาน โดยการถนอมหรือกากรรมวิธีอย่างใดอย่าวหนึ่ง ปรุงรสชาติให้อร่อยขึ้น นางเลื่อนจึงได้เริ่มทำลูกหยีปรุงรส โดยการรับซื้อลูกหยีจากชาวบ้าน และได้พัฒนามาโดยลำดับ ตั้งแต่การปรุง การห่อ และการหาตลาดเพื่อส่งออกจำหน่าย ต่อมามีผู้คนสนใจการทำลุกหยีมากขึ้น และมีตลาดย่อยเพิ่มขึ้น เช่น ร้านค้าตามสถานีรถขนส่งในหมู่บ้าน ตำบล ชุมชนต่าง ๆ โรงเรียน สถานีรถไฟ การทำลูกหยีนอกจากจะมีที่อำเภอยะรัง ยังมีที่อำเภอยะหริ่ง อำเภอสายบุรี และได้ทำเป็นลูกหยีทรงเครื่อง ลูกหยีกวน ทำให้ต้นหยีเป็นพืชที่มีคุณค่า มีการอนุรักษ์ต้นหยีการทำลุกหยีจึงเป็นวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาชาวบ้านของชาวจังหวัดปัตตานี และยังเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือด้วย
ได้แก่ ลูกหยีกวน (ไม่มีเมล็ด) และลูกหยีทรงเครื่อง อร่อย สะอาดถูกหลักอนามัย
1. คัดคุณภาพลูกหยีสด(ดำ) นำตากแดด 1-2 วัน
2. กระเทาะเปลือก เป็นลูกหยี(แดง)
3. นำลูกหยี(แดง)เม็ดเต็มกลมเรียวสวยที่ได้ไปแปรรูปเป็นลูกหยีทรงเครื่อง และลูกหยี(แดง)ที่เม็ดแตก ลีบ ไม่สวย นำไปแปรรูปเป็นลูกหยีกวน
ได้รับ อ.ย.แล้ว
 

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    อำเภอยะรัง
    ตำบล สะดาวา อำเภอ ยะรัง จังหวัด ปัตตานี

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com