ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 3ท่องเที่ยวผจญภัย ใน 2 อุโมงค์ อุโมงค์เขาน้ำค้าง – วัดพุทธาธิวาส – อุโมงค์ปิยะมิตรโครงการสวนดอกไม้เมืองหนาว – บ่อน้ำร้อน – หอดูดวงจันทร์
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

กำหนดการเดินทาง

วันที่แรก สงขลา – เบตง  

  • 08.00 น. คณะออกเดินทางจากหาดใหญ่
  • 09.30 น. เดินทางสู่ อุโมงค์เขาน้ำค้าง ซึ่งเคยเป็นที่หลบภัยของโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา อ.นาทวี เป็นยอดเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยโบราณคนที่เคยขึ้นไปบนยอดเขาจะเห็นมีน้ำค้าง เป็นเกล็ดอยู่ตามยอดหญ้า ลักษณะ เป็นใยแมงมุมแม้แต่ตอนเที่ยงวันก็มีน้ำค้างประปรายอยู่บนยอดหญ้าซึ่งเป็นสภาพที่แปลกเป็นอย่างยิ่ง จึงเรียกขานกันว่า"เขาน้ำค้าง" เขาน้ำค้างเป็นเสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ในความยึดครองของ ผู้ก่อการร้ายโจรจีน คอมมิวนิสต์ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นถิ่นทุรกันดาร เทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้เป็น ฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของแถบนี้ แต่ ในที่สุดจากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น โดยนำนโยบาย การเมืองนำการทหาร กองทัพภาคที่ 4 และหน่วยผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43) ได้นำนโยบายนี้เข้าปฏิบัติการ สามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523ทำให้โจรจีน คอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุด
  • 10.45 น. เดินทางสู่ด่านดูเรียนบุหลง (ด่านประกอบ) ผ่านประเทศมาเลเซีย ไปด่านเบตง จ.ยะลา
  • 12.00 น. บริการอาหาร ณ ประเทศมาเลเซีย และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา จากนั้นเดินทางต่อ
  • 16.00 น. ถึงเบตง ชมทัศนียภาพยามเช้าของเมืองเบตง “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม” บนเขา สวนสาธารณะเบตง
  • 16.30 น. แวะนมัสการพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ วัดพุทธาธิวาส พื้นที่ตั้งวัดเป็นเนินเขาสูงเอียงลาดลงไปทางทิศเหนือ จัดแบ่งพื้นที่วัดออกเป็นชั้นรวม ๕ ชั้น วัดพุทธาธิวาส ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินเขามีพระธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศตั้งโดดเด่นมองเห็นศิลปกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์สวยงามมาก โดยในองค์มหาธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  • 17.00 น. ถ่ายรูปคู่กับไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ บริเวณหน้าหอนาฬิกา ตู้เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ที่สร้างไว้ในครั้งแรกก็เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสารบ้านเมืองให้ชาวเมืองเบตงได้รับฟัง จากวิทยุที่ฝังอยู่ส่วนบนของตู้ และใช้เป็นตู้ไปรษณีย์มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิมที่บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ มีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
  • 18.00 น. บริการอาหาร ณ ร้านฮาลาล คิทเช่น  และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา 
  • 19.00 น. จากนั้นนั่งรถชมเมืองเบตงยามค่ำคืน และเดินทางเข้าที่พัก



วันที่สอง เบตง – ยะลา  


  • 07.30 น. รับประทานอาหารเช้าติ่มซำ ในบรรยากาศวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวจีนเมืองเบตง
  • 08.30 น. ชมอุโมงค์ปิยะมิตร ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์ในการหลบภัยทางอากาศ และสะสมเสบียง เมื่อปี พ.ศ. 2519 ก่อนที่จะเข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
  • 09.00 น. เข้าชม โครงการสวนไม้ดอกเมืองหนาว แหล่งท่องเที่ยวงดงามใต้สุดแดนสยามชมดอกเมืองหนาวนานาชนิดท่ามกลางภูเขาบริเวณหมู่บ้านปิยะมิตร 2 
  • 11.30 น. บริการอาหาร ณ ครัวฮาลาล  และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา จากนั้นเดินทางต่อ
  • 13.00 น. ชมและพักผ่อนที่บ่อน้ำร้อนซึ่งเชื่อกันว่าความร้อนของกรดกำมะถันสามารถแก้โรค    เหน็บชาช่วยให้เลือดลมและกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ได้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดินในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตรงจุดบริเวณที่น้ำเดือดสามารถต้มไข่สุกภายใน 7 นาที มีบริการห้องอาบน้ำแร่ ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยและรักษาโรคผิวหนัง ลักษณะน้ำร้อนเบตง เดิมเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติขนาดใหญ่ เป็นบ่อน้ำร้อนที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุมากมาย และมีสระน้ำขนาดใหญ่ไว้กักน้ำจากน้ำพุร้อนเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ใช้อาบและแช่เท้าเล่น ซึ่งเชื่อว่าน้ำแร่ในน้ำพุร้อนสามารถรักษาโรคภัยได้เป็นอย่างดี เช่น โรคผิวหนัง โรคปวดเมื่อย โรคเหน็บชา
  • 16.00 น. เดินทางถึง จ.ยะลา แวะซื้อของฝากชื่อดังเบตง เฉาก๊วย กม. 4 และกล้วยหินฉาบและกล้วยหินสดที่มีชื่อเสียง บ้านหน้าถ้ำ อ.บันนังสตา
  • 16.30 น. แวะถ่ายรูปกับทะเลสาบบนภูเขาที่เขื่อนบางลาง 
  • 17.00 น. เยี่ยมชมหอดูดวงจันทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดชมวิวของตำบลยะหา เป็นสถานที่สำหรับดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันเริ่มและสิ้นสุดของการถือศีลอดซึ่งเป็นข้อบัญญัติในศาสนาอิสลามเป็นประจำทุกปี ตั้งอยู่บริเวณภูเขาหลังโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช พื้นที่ของอำเภอยะหา ในปี พ.ศ. 2481 สมัยหลวงรัชกาลประดิษฐ์ เป็นเจ้าเมืองยะลาและหมื่นเสนานุรักษ์ (ประดิษฐ์ ศุภอักษร) ได้กำหนดสถานที่ในการดูดวงจันทร์ ที่ศาลาดูดวงจันทร์ เขาปาเร๊ะ ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา
  • 18.00 น. บริการอาหาร ยะลาฮาลาลบุฟเฟต์  เข้าที่พักที่จังหวัดยะลา และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา  

วันที่สาม ยะลา – หาดใหญ่  

  • 07.30 น. บริการอาหาร  ณ ที่พัก จากนั้น
  • 08.30 น. เยี่ยมชมพระพุทธไสยาสน์ ณ วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ ชมหินงอกหินย้อยภายในถ้ำ และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย  ทราบว่า พ.ศ.2390 ผู้ใหญ่บ้านอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ ได้สร้างวัดคูหาภิมุข เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน ภายในวัดคูหาภิมุขมีถ้ำใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อย และน้ำใสสะอาดไหลรินจากโขดหิน วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจากวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป วัดคูหาภิมุข เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพุทธรูปฉาย ภาพเขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-17  นักโบราณคดีได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณถ้ำคูหาภิมุข เป็นภาพพระพุทธฉาย และภาพราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผา ภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง ใกล้ๆ กับวัดมีภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อนสีชมพู สวยงามมาก
  • 10.00 น. เยี่ยมหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี  เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้
  • 11.30 น. แวะซื้อสินค้า OTOP ของอำเภอโคกโพธิ์อาทิ กล้วยเส้นปรุงรส ของดีบ้านทรายขาว
  • 12.00 น. บริการอาหาร  ณ ห้องอาหารบุหงารายา และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา   ณ ตัวเมืองปัตตานี จากนั้น
  • 13.30 น. แวะชมเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ณ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
  • 14.30 น. ชมมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นับว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรูปทรงคล้ายกับ “ทัชมาฮาล” ประเทศอินเดียซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ ให้คณะได้ปฏิบัติศาสนกิจ
  • 15.30 น. ชมมัสยิดกรือเซะมรดกอารยธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลางสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มัสยิดกรือแซะ มรดกอารยะธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลาง มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้เป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือเซ๊ะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
  • 18.00 น. เดินทางสู่ หาดใหญ่ เพื่อเดินทางกลับ

***โปรแกรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม****

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com