ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สถานที่ท่องเที่ยว ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
tag สุสานพญาอินทิรา
สุสานพญาอินทิรา

สุสานพญาอินทิรา มุสลิมคนแรกของเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เหนือหลุมฝังศพมีหินแกรนิตสลักเป็นรูปก้อนเมฆ และมีอักษรภาษาอาหรับกำกับอยู่ บริเวณนี้เคยขุดพบเครื่องใช้ของคนรุ่นโบราณมากมาย สุสานพญาอินทิรา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กูโบรายามะรือเก๊าะ” เป็นสถานที่ฝังพระศพของอดีตกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหลิฆัย ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เป็นผู้สร้างเมืองปัตตานีดารัสลาม (นครแห่งสันติ) ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๒ – ๒๐๕๗ เพื่อใช้เป็นเมืองท่าทำการค้าขายกับนานาประเทศ และเป็นกษัตร..

 

อ่านต่อ

tag สุสานรายาฮีเยา
สุสานรายาฮีเยา

สุสานรายาฮีเยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านปาแระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี  จังหวัดปัตตานี เป็นที่ฝังศพของเจ้าเมืองปัตตานี 3 พระองค์ ได้แก่ รายาฮีเยา (พ.ศ.2127-2159) รายาบีรู (พ.ศ.2159-2167) และรายาอูงู (พ.ศ.2167-2178) ทั้งสามเป็นธิดาของสุลต่านมันศูร ปาฮาดร์ ชาห์ หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ โอรสของพระองค์มีนามว่า ปาฮาดูร์ชสห์ ขึ้นครองราชย์ แต่ไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์โดยไม่มีโอรสสืบทายาท ธิดาทั้งสามของสุลต่านมันศูร ปาฮาดร์ ชาห์  จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองปัตตานีต่อเนื่องกันจน..

 

อ่านต่อ

tag บ่อแชะดาโอะ

บ่อแชะดาโอะ หรือ ชัยค ดาวูด อัล ฟาฎอนี เป็นนักปราชญ์อิสลาม หรือ อูลามะอุ ชาวเมืองปัตตานีที่มีชื่อเสียงมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีประสฃวัติชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.2312-2417 (ค.ศ.1769-1847) ชาวบ้านเรียกชื่อของเขาสั้นๆ ว่า ชัยค ดาวูด หรือแชะดาโอ๊ะ ฃื่อเต็มของเขาคือ ชัยค ดาวูค บิน อับดุลลอฮ อัล ฟาฎอนี ถิ่นกำเนิดของเขาคือ กรือเซะ แห่งเมืองปัตตานี ปัจจุบันสถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของท่านอยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สิ่งที่ยังคงเหลืออยู่เป็นอนุสรณ์มีเพียงบ่อน้ำสร้างด้วยอิฐ..

 

อ่านต่อ

tag เตาเผาเครื่องถ้วยบ้านดี

แหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยบ้านดี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านดี ตำบลบาราโหม บริเวณที่พบอยู่ริมคลองบ้านดีใกล้กับสะพานบ้านดีในปัจจุบัน เตาเผาที่พบยุในสภาพไม่สมบูรณ์เนื่องจากถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน บางบริเวณมีการปรับพื้นที่ เพื่อทำเกษตรกรรมและทำนากุ้ง ปัจจุบันยังไม่มีการขุดแต่งบูรณะ ทำให้สภาพเตาเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ผลการสำรวจของนักวิชาการจากกรมศิลปากรและนักวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ เมื่อ พ.ศ.2536 พบว่า บ้านดีเป็นแหล่งเตาเผาขนากใหญ่ ประกอบด้วยหลายกลุ่มเตา ทั้งที่สำรวจแล้วและยังไม่ได้สำรวจอีกหลายที..

 

อ่านต่อ

tag วัดบ้านดี
วัดบ้านดี

วัดบ้านดี หรือวัดกะดี ตั้งอยู่หมู่ที่  3 ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นวัดเก่าแก่ร่วมสมัยอยุทธยา สร้างขึ้นในสมัย สุลต่านมูซัฟฟัร ชาห์ เป็นเจ้าเมืองปัตตานี การสร้างวัดบ้านดีมีมูลเหตุเนื่องจาก สุลต่านมูซัฟฟัร ชาห์  ได้ไปเยือนอยุทธยาเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีในสมัยนั้น คือ พระมหาจักพรรดิ  หลังจากพำนักอยู่ที่อยุทธยาเป็นเวลา 2 เดือน จึงเดือนทางกลับมายังปัตตานี ในการเดินทางกลับนี้พระเจ้าแผ่นดินสยามได้มอบชาวหฃพม่าและชาวลาวในกรุงศรีอยุทธยา ทั้งผู้ใหญ่และเด็กรวมทั้งสิ้น 160 คน ให้..

 

อ่านต่อ

หน้า : 1

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com