ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

การทำจักสานกระด้ง
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

การทำจักสานกระด้ง


๑.ชื่อข้อมูล การทำจักสานกระด้ง
๒.รายละเอียด (บุคคล: ชื่อ-นามสกุล อายุของเจ้าของข้อมูล / สถานที่: ประวัติความเป็นมา /
ภูมิปัญญา : รายละเอียดขั้นตอนการทำและ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ / รายละเอียดอื่น ๆ ถ้ามี
กระด้งหรือที่เรียกติดปากว่าด้ง นิยมใช้กันอยู่ในภาคใต้มี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าว และกระด้งมอนกระด้งทั้งสองชนิดนี้สานด้วยไม้ไผ่และหวายสำหรับใช้งานเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่ทำนา กระด้งปักษ์ใต้ทั้งสองชนิดเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งภาคอื่นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านรูปแบบและลวดลายกระด้งของภาคใต้เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อของชาวใต้ที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่โบราณด้วย เช่นห้ามนำกระด้งขึ้นไปบนยุ้งข้าว เพราะจะทำให้ขวัญข้าวหรือแม่โพสพหรือเทพธิดาแห่งข้าวไม่พอใจแล้วหนีไปไม่คุ้มครองเป็นมิ่งขวัญ ทำให้การทำนาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ความเชื่อนี้แม้จะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมแม่โพสพจึงไม่ชอบกระด้งแต่ก็เป็นความเชื่อที่เชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณความเชื่อที่เกี่ยวกับกระด้งอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องเก็บรักษากระด้งไว้ให้ดี ถือว่ากระด้งเป็นของสำคัญต้องเก็บไว้ในที่สูงการทำเครื่องจักสานพื้นบ้านในแต่ละภาคของไทยมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบกำหนดรูปแบบของเครื่องจักสาน โดยเฉพาะสภาพทางภูมิศาสตร์และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเครื่องจักสานพื้นบ้านภาคต่างๆ เครื่องจักสานพื้นบ้านของภาคใต้ก็เช่นเดียวกัน ลักษณะภูมิศาสตร์ของภาคใต้ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ และภาคใต้ก็เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำเครื่องจักสานได้หลายชนิด เช่น ไม้ไผ่ หวาย กระจูด และ ย่านลิเภา บริเวณชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป จะเป็นแหล่งสำคัญของการผลิตเครื่องจักสานของภาคใต้ มีเครื่องจักสานหลายอย่างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่ต่างไปจากเครื่องจักสานอื่นๆ เช่นเครื่องจักสานย่านลิเภาที่ทำกันมากในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องจักสานกระจูดทำกันมากในหลายท้องถิ่นในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา และปัตตานี นอกจากนี้ก็มีเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ทำกันทั่วไปแทบทุกจังหวัด แต่การทำจักสานที่มีอยู่กันแพร่หลายก็คือกระด้ง รูปแบบของกระด้งฝัดภาคใต้ต่างไปจากกระด้งทั่วๆ ไป คือ จะมีรูปกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ส่วนป้านจะกลมมน ส่วนแหลมจะรีเล็กน้อยและการทำกระด้งให้มีลักษณะรีแทนที่จะกลมก็เพื่อความสะดวกในการร่อน ฝัด และเทข้าวออกแสดงให้เห็นการสร้างรูปแบบที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยอย่างแยบยลกระด้งฝัดข้าวของภาคใต้มี ๒ ชนิดคือ"กระด้งลายขอ" และ กระด้งบองหยอง"
กระด้งลายขอ เป็นกระด้งฝัดข้าวที่มีรูปแบบและลายสานที่ถือว่าเป็นเครื่องจักสานชั้นเยี่ยมที่ออกแบบรูปร่างและลวดลายประณีตประสานกับการใช้สอยได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าทางความงามด้วย กระด้งลายขอนิยมสานด้วยตอกไม้ไผ่สีสุก เพราะเป็นไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งและเหนียว รูปแบบและโครงสร้างของกระด้งลายขอที่มีลักษณะเฉพาะที่สนองความต้องการในการใช้สอยได้ดีแล้ว ขั้นตอนและแบบอย่างของลวดลายในการสานกระด้งชนิดนี้ยังมีแบบอย่างที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ ตั้งแต่หลักการสานที่คิดเป็นสูตรด้วยคำที่คล้องจองไว้ว่า "ยกสองข่มห้า เรียกว่า ลายบ้าเอย"ที่เรียกว่า "ลายบ้า" คงเป็นเพราะว่าการสานกระด้งชนิดนี้สานยากนั่นเอง ผู้สานจะต้องเป็นช่างฝีมือดี เมื่อสานเสร็จแล้วแนวทางของเส้นตอกจะต้องเป็นแนวมีระเบียบ และลายของปล้องข้อจะเรียงกันได้จังหวะงดงามอยู่ตามด้านหน้ากระด้งส่วนด้านหลังจะเป็นแนวร่องตอกซึ่งเรียกว่า "ดี"กระด้งลายขอนี้ส่วนมากจะมีขนาดไม่ใหญ่นักและนิยมเรียกแนวดีแทนขนาด
กระด้งลายบองหยอง กระด้งชนิดนี้สานง่ายกว่ากระด้งลายขอ การสานกระด้งลายบองหยองใช้ตอกไม้ไผ่เช่นเดียวกับกระด้งลายขอ แต่ใช้ตอกเส้นใหญ่กว่าและไม่มีข้อปล้อง เป็นตอกเรียบๆ ธรรมดาผิวหน้ากระด้งจึงเป็นลายเรียบๆ กระด้งชนิดนี้ใช้ฝัดข้าวและเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ นอกจากกระด้งทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้วยังมีกระด้งอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "กระด้งมอน" คำว่า "มอน" เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึงกระด้งกลมขนาดใหญ่กว่ากระด้งฝัดข้าวเท่าหนึ่ง คุณสมบัติใช้ตากพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ เพราะเป็นกระด้งขนาดใหญ่มีเนื้อที่มากกว่ากระด้งทั่วๆ ไป
และพบว่าในปัจจุบันจังหวัดปัตตานีมีชื่อเสียงทางด้านการสานกระด้ง ซึ่งกลุ่มจักสานที่เกิดขึ้นครั้งแรกในตำบลท่าข้าม ก็คือกลุ่มบ้านท่ามะนาว จัดตั้งเมื่อปี ๒๕๓๐ รวมระยะเวลา ๒๓ ปี สนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอปะนาเระ ต่อมาขาดความต่อเนื่องในการบริหารจัดการสมาชิกหลายคนจึงเลิกจักสานกันไป จนกระทั่งมีการจัดตั้งกลุ่มกันอีกครั้งในปี ๒๕๔๕ ช่วงอายุของคนที่มาทำงานจักสานก็แตกต่างกันต่อไป มีทั่งวัยกลางคน ผู้สูงอายุ โดยสมาชิกทั้งหมดยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังฤดูเก็บเกี่ยวจึงจะหันมาทำจักสานเพื่อหารายได้เสริม
ผลิตภัณฑ์จักสานที่กลุ่มฯ ทำอยู่แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑ ) เครื่องจักสานเพื่อการใช้สอย ได้แก่ กระด้งมีรู (กระจ้า) กระด้งทึบ ที่ใช้ฝัดข้าว ตากข้าว ใส่ของแทนถาด กระเชอ ที่ใช้ใส่ข้าวสาร ข้าวเปลือก นิยมสานลายสอง ลายสาม ตะกร้าผลไม้ ตะกร้าจ่ายตลาด ตะกร้าลายดอกขิงใช้ใส่ขนมจีน ช่วยไม่ให้ขนมจีนบูดได้ง่าย ตะกร้าสี่มุม กระแจงสานลายหนึ่ง ไว้ใช้เวลาล้างปลา ล้างผัก ทำให้สะเด็ดน้ำได้ง่าย แต่ปัจจุบันมีคนมาใช้พลาสติกมากขึ้น งานสานเพื่อใช้รองกระถางดอกไม้ เครื่องจักสานบางชนิด ชาวมุสลิมจะนิยมนำไปใส่ขนม ผลไม้ เพื่อใช้ในงานขันหมาก ๒ ) เครื่องจักสานเพื่อประดับตกแต่ง ได้แก่ กระด้งลายพิกุล กระเชอชุดเพื่อไว้โชว์ บทเรียนที่ผ่านมาในด้านการผลิตพบว่าเครื่องจักสานกำลังหายไปในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์พลาสติกเข้ามาแทนที่ ด้วยสีสันสวยงาม คงทน หาซื้องาย มีให้เลือกหลายชนิด หลายขนาด เหลือเพียงกระด้งขนาดใหญ่ที่ใช้ฝัดข้าว ใช้ตากปลากะตัก ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกยังทดแทนไม่ได้
วัสดุ/อุปกรณ์
มีดพร้า มีดจักตอก วงเวียน ไม้ไผ่ เอ็น เรียด เหน็บ เหล็กโซ คีมตัดเอ็น
กระบวนการขั้นตอนในการทำจักสานกระด้ง
ตัดไม้ไผ่ ผ่าไม้ไผ่ ใช้มีดจักตอกไม้ไผ่ให้เป็นเส้นบางพอสมควรที่จะสานกระด้งได้ พอได้ขนาดที่เหมาะสมจึงนำมาสานเป็นลายขัดกันแล้วสานต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้
ตามขนาดที่ต้องการ
ตีวงเวียน ผูกโครงวงเวียน ขั้นขอบและนำขอบกระด้งมาประกอบกัน แทงหางแลน ประกอบเสร็จเป็นกระด้งที่สม
๓.สถานที่ตั้ง (เป็นบุคคล: ใส่ที่ตั้งสถานที่)
ชื่อสถานที่ตั้ง นายอิสมาแอ เจะโดร์ อายุ ๓๙ ปี เลขที่ ๒๒/๒ หมู่ที่ ๑ ตำบล หนองแรต อำเภอ ยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    นายอิสมาแอ เจะโดร์
    เลขที่ ๒๒/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑
    ตำบล หนองแรต อำเภอ ยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี


    --------------------
    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://m-culture.in.th






 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com