ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานชาวจีน(ในทะเล)
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

สุสานชาวจีนในทะเล ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งของสุสานเดิมตั้งอยู่ที่บริเวณปลายแหลมซึ่งเป็นสันทรายลงไปในทะเล มีชื่อว่า "ตันหยงลุโละ" ซึ่งหมายถึงแหลมที่ประกอบด้วยเม็ดทรายปนละเอียด บางท่านให้ความหมายว่า หมายถึงแหลมที่เป็นของมีค่า แหลมดังกล่าวมีความยาวต่อเนื่องมาจากบ้านบานา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในสมัยนั้น บานามาจากภาษาเปอร์เชีย คือ บันดาร์ แปลว่าท่าเรือหรือเมืองท่า ราว 400 ปีที่ผ่านมา ชาวจีนกลุ่มหนึ่งเข้ามาอาศัยตั้งบ้านเรือนบริเวณแหลมดังกล่าวนี้ ชาวจีนส่วนหนึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวตำบลตันหยงลุโละในปัจจุบันหรือที่เรียบกกันว่า ชาวกรือเซะเชื้อสายจีน ซึ่งต่อมาส่วนใหญ่เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ขณะที่บางสาวนยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมแบบชาวจีนและตั้งบ้านเรือนที่ตันหยงลุโละสืบต่อมา

ราว 200 ปีที่ผ่านมา บริเวณอาเนาะรูหรือหัวตลาด มีชาวจีนอีกกลุ่มหนึ่งจากหมู่บ้านหูฉือเป่ยเหมิน อำเภอผิงเหอ มณฑลฟูเจี้ยน เข้ามาอยู่อาศัยและทำการค้า โดยสร้างร้านค้าชื่อ "จินลี่" ขึ้นที่ท่าเรือปัตตานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยน ตำบลถังโบ้ย อำเภอเจี๋ยแม้ นำโดยนายปุย แซ่ตัน ได้นำสำเภาเข้าใายังเมืองสงขลา หลังจากได้ช่วยเหลือราชการให้แก่เมือลสงขลาระยะหนึ่งแล้ว จึงได้รับอนุญาตให้มาตั้งภูมิลำเนาที่เมืองปัตตานี บรเิเวณอาเนาะรู จนกระทั่งมีบุตรธิดาหลายคน บุตรคนหนึ่งคือพระจีนคณานุรักษ์ ได้ให้ความสนใจดูแลชาวจีนในเมืองปัตตานีทั้งที่ตันหยงลุโละและอาเนาะรู มีการเดินทางไปมาหาสู่กันเป็นประจำระหว่างหมู่บ้านทั้งสองด้วยเหตุที่ระยะทางจากอาเนาะรูถึงตันหยงลุโละ ห่างกันกว่า 6 กิโลเมตร ประกอบกับการเดินทางไปทำพิธีที่สุสานชาวจีนในทะเลเป็นไปด้วยความลำบาก รวมทั้งต้องผ่านหมู่บ้านชาวมุสลิมทำให้ไม่สะดวกในการทำพิธีกรรมต่างๆ ตัวสุสานก็ถูกน้ำทะเลเซาะพังไปเรื่อยๆ คงเหลือเพียงป้ายสุสาน ซึ่งมีผู้เก็บรักษาไว้ สุสานที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันปรากฏให้เห็นเมื่อเวลาน้ำลง ชาวบ้านที่นี่ระบุว่า สุสานแห่งนี้คือสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวดั้งเดิม ผู้นับถือศรัทธาเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และบรรพบุรุษชาวจีนส่วนหนึ่งยังคงเดินทางมาสักการะที่สุสานแห่งนี้ เช่นที่เคยปฏิบัติมาในอดีต สุสานชาวจีนในทะเลแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางชุมชนมุสลิม แต่ก็ได้รับการดูแลอย่างดีเรื่อยมาในฐานะโบราณสถานที่สำคัญของเมืองปัตตานีที่มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี ปัจจุบันมีสะพานทางเดินไปยังสุสาน ทำให้การเยี่ยมชมสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com