ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สถานที่ท่องเที่ยว ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
tag สถานที่หล่อปืนใหญ่
สถานที่หล่อปืนใหญ่

ประวัติความเป็นมา สถานที่หล่อปืนใหญ่ เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่หล่อปืนพญาตานี ซึ่งเป็นปืนที่รู้จักกันมาแพร่หลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยเป็นปืนโบราณที่มีลักษณะเด่นน่าสนใจอยู่หลายประการคือ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุด และสวยงามยิ่งกว่าปืนกระบอกใดที่มีอยู่ในประเทศขณะนี้ เป็นฝีมือของช่างหล่อชาวปัตตานีในอดีตประวัติความเป็นมาของปืนใหญ่นี้มีผู้เขียนไว้หลายฉบับ แต่ข้อความแตกต่างกัน โดยเฉพาะชื่อของผู้สร้างปืน และนายช่างผู้หล่อปืน ดังนี้ จากหนังสือสยาเราะห์เมืองตานี ของนายหะยีห..

 

อ่านต่อ

tag การทำนาเกลือ
การทำนาเกลือ

“การทำนาเกลือ” เป็นอาชีพที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ปัตตานีอย่างไม่อาจแยกออกได้ แม้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัตตานีจะไม่ได้กล่าวถึงสินค้าชนิดนี้อย่างชัดเจนและต่อเนื่องนัก แต่ก็เห็นได้ว่าเกลือเป็นทรัพยากรสำคัญอย่างหนึ่งของปัตตานีที่ทำให้สามารถดำรงเป็นรัฐอยู่ได้พอๆ กับที่ปัตตานีเคยยิ่งยงในฐานะเมืองท่า  การค้ามาตั้งแต่โบราณ..

 

อ่านต่อ

tag สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว  ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ มีตำนานเล่าว่าลิ้มกอเหนี่ยวได้ลงเรือสำเภามาตามพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งมาแต่งงานกับธิดาพระยาตานี และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามกลับประเทศจีนไม่สำเร็จ จึงได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงได้ฝังศพลิ้มกอเหนี่ยวไว้ที่นี่ ต่อมาชาวปัตตานี นำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้าขึ้นเรื่องเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นตำนาน..

 

อ่านต่อ

tag คูเมืองโบราณ

นครปตานีที่กรือเซะและบริเวณใกล้เคียง เป็นเมืองโบราณร่วมสมัยกับอยุธยา สร้างขึ้นบริเวณชายทะเลริมอ่าวปัตตานี เป็นการสืบต่อเมืองโกตามหลิฆัย เมืองโบราณสมัยลังกาสุกะที่กำลังเสื่อมโทรมลงไป รายาศรีวังสา กษัตริย์องค์สุดท้ายของโกตามหลิชัย เห็นว่าการเดินทางไม่สะดวกโดยเฉพาะการขนส่งทางเรือเพราะแม่น้ำที่เคยใช้เป็นเส้นทางการขนส่งกลับตื้นเขิน พระองค์จึงตัดสินใจสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ชายทะเลดังกล่าว โดยเกณฑ์ผู้คนจากเมืองโกตามหลิฆัยและเมืองใกล้เคียงเข้ามาช่วยกันสร้างพระราชวังและขุดเมือง ใช้เวลา 2 เดือน ต่อมาได้สร้..

 

อ่านต่อ

tag ตำหนักนิล - ที่ตั้งพระราชวัง

พื้นที่ตำบลตันหยงลุโละและตำบลบาราโหมเป็นที่ตั้งของพระราชวังปัตตานี ที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2000 โดยรายาศรีวังสา กษัตริย์แห่งโกตามหลิฆัย เมืองหลวงของลังกาสุกะในขณะนั้น เนื่องจากพระองค์เห็นว่าเมืองเดิมที่อยู่ลึกเข้าไปจากชายฝั่งทะเลถึง 12 กิโลเมตร ไม่มีความสะดวกในการติดต่อค้าขายทางเรือในอดีต เนื่องจากทางน้ำตื้นเขิน พ่อค้าและนักเดินเรือค้าขายกันแถบบริเวณปากน้ำและชายทะเลแทน เมื่อรายาศรีวังสาได้ทรงเดินทางมาพักผ่อนและล่าสัตว์ใกล้ชายทะเลดังกล่าวก็ทราบว่า สถานที่แห่งใหม่นี้มีความเหมาะสมกว่า อีกทั้งมีผู้คนม..

 

อ่านต่อ

tag สุสานโต๊ะรายาฟาเกะห์

สุสานโต๊ะรายาฟาเกะห์ หรือสุสานโต๊ะปาเกะห์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โต๊ะรายาฟาเกะห์ ชื่อเดิมคือ ชัยคฺ ซอฟียุดดิน อัล-อับบาซ นักการศาสนาอิสลามชาวอาหรับ ซึ่งมีถิ่นพำนักที่เมืองปาไซ เกาะสุมาตรา ก่อนเดินทางมาตั้งบ้านเรือนเป็นการถาวรที่เมืองปัตตานี ในสมัยสุลต่านอิสมาอีล ชาห์ ชัยคฺ ซอฟียุดดิน มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาให้แก่ชาวเมืองปัตตานีและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำการก่อสร้างมิสยิดกรือเซะ จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยสุลต่าน มู..

 

อ่านต่อ

tag สุสานลิ้มโต๊ะเคี่ยม

สุสานโต๊ะเคี่ยม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมิองปัตตานี ชาวตันหยงลุโละ เรียก ลิ้มโต๊ะเคี่ยมว่า โต๊ะอาโก๊ะ หรือโต๊ะเคียน สุสานดังกล่าวอยู่ในชุมชนร่วมกันสุสานของมุสลิมคนอื่นๆ เป็นเวลายาว นานกว่า 400 ปี สถานที่ฝังศพลิ้มโต๊ะเคี่ยม อยู่ริมอ่าวปัตตานีใกล้กับสุสานชาวจีนในทะเล ชื่ออ่าวปัตตานี บริเววณดังกล่าวปรากฎในจดหมายเหตุราช วงศ์เหม็ง เรียกว่า "อ่าวต้าวเฉียน" ตามชื่อของเต้าเฉียน หรือหลินต้าวเฉียน (ลิ้มโต๊ะเคี่ยม) วีรบุรุษชาวจีนจากเมืองเฉวียนโจว มณฑลฮกเกี้ยนที่มาพำนักอาศัยในเมืองปัตตานี แ..

 

อ่านต่อ

tag หน้าพระลานและอนุสรณ์สถานยามาดา

หน้าพระลาน ตั้งอยู่หน้าพระราชวังตรงข้ามกับประตูใหญใกล้มัสยิดกรือเซะ เป็นบริเวณลานกว้าง สำหรับจัดพิธีการสำคัญของเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นสมรภูมิสงครามหลายครั้ง เมื่อมีการสู้รบกับกองทัพจากเมืองอื่นๆ เช่น กรณีสงครามยามาดา เมื่อปี พ.ศ. 2173 "ยามาดา" หรือออกญาเสนาภิมุข มีชื่อเต็มว่า "Yamada Nizaemonmojo Nagamasa" เป็นขุนนางญี่ปุ่นสมัยอยุธยา ได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.2172 ต่อมาในปี พ.ศ. 2173 ได้นำกำลังมาปราบปรามเมืองปัตตานี แตี่ได้รับบาดเจ็บกลับไปและเสียชีวิตที่นครศรีธรรมราชในเวลาต่อมา ลำด..

 

อ่านต่อ

tag กาแลเบอลันดาและที่ตั้งคลังสินค้า

พื้นที่ใกล้ชายทะเลทางทิศเหนือของตำบลตันหยงลุโละต่อกับตำบลบานา ปัจจุบันเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำกว้างขวางกว่าบริเวณอื่นๆ สามารถใช้ทำนาข้าวได้ในฤดูฝน ผู้สูงอายุเรียกบริเวณดังกล่าวว่า "กาแลเบอลันดา" หรือท่าเรือฮอลันดา บางคนเรียกว่า "คลองดัตซ์" ทางทิศใต้ของคลองดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อไปยังที่ตั้งคลังสินค้าของชาวต่างประเทศในตัวเมือง ซึ่งอยู่นอกพระราชวัง ตรงข้ามกับประตูวังด้านตะวันตก คอลงดัตซ์กลับคลังสินค้าสามารถเชื่อมต่อด้วยคลองเล็กๆ ซึ่งขุดขึ้นเพื่อนการขนส่งทางน้ำ ปัจจุบันยังมีร่องรอยคลองดังกล่าวอยู่ ชาวบ้..

 

อ่านต่อ

tag ปาแจกาปาล

ปาแจกาปาล คือ บริเวณที่เคยพบสมอเรือที่จมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากมีเรือจมอยู่ใต้พื้นทะเลอ่าวปัตตานี ห่างจากชายฝั่งบ้านตันหยงลุโละ ประมาณ 1 กิโลเมตร บริเวณดังกล่าวเดิมเคยเป็นร่องน้ำลึกที่เรือขนาดใหญ่สามารถนำมาจอดทอดสมอใกล้ชายฝั่ง ก่อนที่จะขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กมายังท่าเรือของเมืองปัตตานีตามจุดต่างๆ ต่อไป ชาวตันหยงลุโละทราบข้อมูลเรื่องจุดเรือจมมาเป็นเวลานานแล้ว โดยบอกเล่าถ่ายทอดกันต่อๆ มาหลายชั่วอายุคน อ่าวปัตตานีเกี่ยวข้องกับการค้าขายทางทะเลมาเป็นเวลายาวนาน บางช่วงเวลามีเรือสำเภานับร้อยๆ ลำในอ่าวปัตต..

 

อ่านต่อ

หน้า : 1 2

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com