ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

สุสานโต๊ะยาวอ
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

สุสานโต๊ะยาวอ เป็นสุสานของชาวชวาที่พำนักอาศัยอยู่ในเมืองปัตตานีในช่วงต้นสมัยการเข้ารับอิสลามของชาวปัตตานี ที่ตั้งของสุสานอยู่ห่างจากมัสยิดกรือเซะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 500 เมตร จุดเด่นของสุสานแห่งนี้ คือ ความงดงามของหินเหนือหลุมฝังศพแบบอสเจะห์ ที่มีการสลักลวดลายลงบนหินทรายสีขาว สภาพของสุสานในปัจจุบันไม่มีการบูรณะ ประวัติของโต๊ะยาวอไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ผู้อาวุโสในชุชมชนได้รับการบอกเล่าต่อๆ กันมาเพียงว่า สุสานแห่งนี้คือ กูโบร์วายังมลายู "Kubur Wayang Melayu" หรือสุสานนายหนังตะลุงชวา หรือ "Wayang Kulit" นั้นเอง จึงเชื่อว่า โต๊ะยาวอผู้นี้เป็นบุคคลสำคัญในการเผยแพร่หนังตะลุงชวาในยุคแรกๆ ของปัตตานี ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ และภาคอื่น ๆ ของไทย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งของสุสานซึ่งอยู่ใกล้กับพระราชวังและมัสยิดกรือเซะ และไม่มีสุสานของบุคคลอื่นใดในบริเวณดังกล่าวจึงอาจกล่าวได้ว่า นอกจากเป็นผู้เผยแพร่หนังตะ ลุงชวาในปัตตานีแล้ว โต๊ะยาวอยังเป็นบุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองปัตตานีคนหนึ่งในยุคนั้นอย่างแน่นอน


เมื่อศึกษาประวัติของชาวชวา ที่เดินทางเข้ามาปัตตานี พบว่า มีหลายครั้ง ครั้งสำคัญ ได้แก่ ในระยะที่อาณาจักรมัชปาหิตของชวาแผ่ขยายอำนาจมาถึงเมืองปัตตานี ตั้งแต่ พ.ศ. 1884 เป็นต้นมา ชาวชวาได้เข้ามาอาศัยในเมืองต่าง ๆ แถบชายทะเลไปจนถึงอยุธยาสำหรับที่ปัตตานีนั้นวัฒนธรรมชวาได้แพร่หลาย และฝังรากลึกจนเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นทั้งในด้านการแสดงและการละเล่น รวมทั้งประเพณี พิธีกรรม งานวรรณกรรมต่างๆ การเข้ามาของชาวชวา ในระยะที่ 2 เป็นการแพยพออกนอกประเทศครั้งใหญ่ของชวา นับตั้งแต่ฮอลันดาเข้าปกครองเมืองชวา เมื่อ พ.ศ.2142 ชาวชวาได้ทำสงครามกับฮอลันดาแบะต่อสู้ยืดเยื้อมาถึง 100 ปี ชาวพื้นเมืองที่เหลืออยู่ ถูกเอารัดเอาเปรียบ และมีความเป็นอยู่ลำบากยากเข็ญ มีการซื้อขายเป็นทาส ดังที่ปรากฎในบัญชีสินค้านำเข้าและส่งออกที่เมืองปัตตานี มีรายการ "ทาสชวา" ปรากฎอยู่ด้วย จึงปรากฎหลักฐานว่าในเมืองปัตตานีมีทาสชวาอาศัยอยู่มาก ดังที่ Peter Williamson กัปตันชาวอังกฤษที่เข้ามาพำนักในเมืองปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2156 ในปลายรัชสมัยราชินีฮีเยา ได้บันทึกเรื่องราวการลุกฮือของทาสชาวชวาในเมืองปัตตานีนีบร้อยคน บุกเผาบ้านเมืองราษฎร และที่สถานที่สำคัญจนเกิดไฟไหม้อย่างหนัก สาเหตุเนื่องจากทาสชาวชวากลุ่มหนึ่งถูกจับกุมและถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายเพราะขัดขืนจึงมีการรวมตัวกันด้วยความโกรธแค้น และบุกเผาเมือง แต่ในที่สุดเหตุการณ์ความไม่สงบก็ยุติลง ชาวชวายังคงอาศัยอยู่ในเมืองปัตตานีสืบต่อมา และมีพ่อค้านักเดินเรือเข้ามาค้าขายที่เมืองปัตตานีอย่างต่อเนื่อง สุสานโต๊ะยาวอแห่งนี้จึงเป็นเสมือนตัวแทนของความสัมพันธ์ระหว่างชวากับปัตตานี รวมทั้งชุมชนคนไทยเชื้อสายชวาในเมืองอื่นๆ ของไทย เช่น ที่อยุธยา กรุงเทพ ฯลฯ ซึ่งปรากฎสถานที่สำคัญๆ ที่บ่งบอกถึงหารสืบทอดวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษชาวชวาได้เป็นอย่างดี เช่น มัสยิดยะวา มัสยิดบาหยัน มิสยิดตรอกจันทร์ มัสยิดบ้านอู่ และมัสยิดอินโดนีเซีย ในกรุงเทพมหานคร ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอดจากวัฒนธรรมชวา เช่น การเหน็บกริช การสะเดาะเคราะห์ การแต่งงานแบบชวา การเล่นหนังตะลุงชวา รวมทั้งวรรณกรรมเรื่องอิเหนา เป็นต้น

 

 

ข้อมูลการติดต่อ :

    -----------------------------------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มัสยิดกรือเซะ ในประวัติศาสตร์นครปตานี
    ศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์

 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com