ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
กระท่อม และบังกะโล
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
ศิลปะหัตถกรรม
เครื่องประดับ
เครื่องนุ่งห่ม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
บริษัททัวร์
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 8เที่ยวเมืองพหุวัฒนธรรม สตูล – สงขลา – ปัตตานี คฤหาสน์กูเด็น – มัสยิดมำบัง –วัดชนาธิปเฉลิม – ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง – ชุมชนหัวทางและชุมโคกพะยอม – มัสยิดกลางสงขลา – สถาบันทักษิณคดีศึกษา - สุลต่านสุไลมาน ณ มรหุ่ม ศาลเจ้าแม่ลิ่มก่อเหนี่ยว- มัสยิดกรือแซะ-สุสานพญาอินทิรา –มัสยิดรายอหาดตะโล๊ะกาโป –วัดมุจลินทวาปีวิหาร – มัสยิดนัจมุดดีน
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

กำหนดการเดินทาง 

วันแรก สตูล ซิตี้ ทัวร์ เที่ยววัฒนธรรมและชุมชนในเมืองสตูล

  • 08.00 น. คณะเดินทางออกจากที่พักจังหวัดสตูล จากนั้น
  • 08.30 น. เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ คฤหาสน์กูเด็นเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองสตูล รูปทรงอาคารสองชั้นสีขาว เป็นคฤหาสน์แบบสถาปัตยกรรมสไตล์โคโลเนียล ที่อายุยาวนานกว่าร้อยปี ประตูหน้าต่างรูปโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย  บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมด้านบนตกแต่งรูปดาวตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม อยู่ที่ถนนสตูลธานีซอย 5 สร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2441 โดย พระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (ชื่อเดิม กูเด็น บินกูแม๊ะ) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คฤหาสน์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่ไม่ได้ประทับแรม  อาคารหลังนี้เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล เป็นอาคารสวยงาม เชิดหน้าชูตาเมืองสตูลเป็นอย่างมาก และเคยเป็นสถานที่สำคัญๆ ของทางราชการ
  • 09.30 น. มัสยิดมำบัง มัสยิดประจำจังหวัด ตั้งสง่าโดดเด่นด้วยหอคอยเป็นยอดโดมสูงสีทอง  มัสยิดมำบังเป็นมัสยิดกลางตัวเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมหอคอย หรือ หออาซาน ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของมัสยิด ซึ่งแต่เดิมไว้ใช้ตะโกนบอกให้มุสลิมละหมาด มัสยิดบำบัง  มีชื่อเดิมว่า "มัสยิดเตองะห์" หรือ "มัสยิดอากีบี" ได้สร้างในสมัยเจ้าเมืองสตูลคนแรก ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูล
  • 10.00 น. ชมวัดชนาธิปเฉลิมวัดรวมน้ำใจของชาวพุทธในเมืองสตูลมาร่วม 100 กว่าปี  เดิมชื่อ วัดมำบัง เป็นวัดแห่งแรกของเมืองสตูล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2425 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนาธิปเฉลิมเมื่อ พ.ศ.2482 ชาวเมืองสตูลส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นที่รวมน้ำใจของชาวพุทธศาสนามาร่วม 100 กว่าปี พระอุโบสถของวัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2473
  • 10.30 น. ชมศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร ณ ร้านอาหารครัวสุชาดา ตัวเมืองสตูล 
  • 13.00 น. เที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในเมืองสตูล 
  • 13.30 น. การเลี้ยงปูดำ ปูนิ่ม ธนาคารต้นไม้ ปลูกป่าชายเลน ที่ชุมชนหัวทางและชุมโคกพะยอม อ.เมือง แหล่งเรียนรู้เรื่องป่าชายเลนและการเลี้ยงปูดำ คือการบริหารจัดการสภาพป่าชายเลนให้เป็นแหล่งพันธ์ปูดำถาวรและมีการเลี้ยงปูดำให้เป็นสินค้าออกของชุมชนจนสามารถสร้างรายได้พิเศษไปจากงานปกติได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ปูดำที่เลี้ยงนี้เมื่อลอกคราบเป็นตัวใหม่แล้วจะมีลักษณะกระดองนิ่มจนเรียกกันทั่วไปว่า ปูนิ่มพันธ์ของปูดำนั้นมาจากแหล่งธรรมชาติที่เป็นป่าชายเลน  ด้วยเหตุนี้ป่าชายเลนทุกแห่งตามชายทะเลจึงมีความสำคัญมากตรงที่เป็นแหล่งเพาะปูดำ  หอยและสัตว์น้ำต่างๆ    
  • 15.00 น. และถ่ายรูปชมวิวทิวทัศน์ที่ท่าเรือตำมะลัง อ.เมือง ซึ่งเป็นท่าเรือเชื่อมต่อไปเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย 
  • 17.30 น. ชิมโรตีชาชัก อาหารพื้นเมืองที่ลือชื่อของจังหวัดสตูล และเดินทางเข้าที่พัก 

วันที่สอง             สตูล – สงขลา   


  • 08.30 น. เดินทางจากที่พักสู่ จ.สงขลา
  • 09.00 น. แวะเยี่ยมชม ศูนย์เผยแพร่โครงการเศรษฐกิจพอเพียง บ้านเกตรี หรือ "บูเกตรีบุตรี" แปลว่า "ลูกสาวเจ้าเมือง"" และต่อมาเพี๊ยนเป็น "บ้านเกตรี" ซึ่งลักษณะภูมิประเทศของ "บ้านเกตรี" ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนาและเพาะปลูก ที่ราบเชิงเขาเหมาะแก่การทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ อาทิ เงาะ ทุเรียน ส้ม ลองกอง และมีแหล่งน้ำที่สำคัญ ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การผลิตกาแฟโบราณ,  การทำขนมบุหงาปูดะ, ขนมปะการัง และขนมแนหรัม หรือขนมเจาะหู
  • 11.00 น. แวะชมมัสยิดกลางสงขลา มัสยิดดิย์นุลอิสลาม หรือเรียกสั้นๆว่า มัสยิดกลางสงขลา  ตั้งอยู่ที่   ถนนลพบุรีราเมศวร์   อำเภอ หาดใหญ่ ศูนย์รวมจิตใจของชาวมุสลิม ในสงขลา ต้องบอกว่าที่นี่เป็นมัสยิดที่ใหญ่และอลังการมากภายในตกแต่งได้สวยงาม โล่ง โอ่โถง เหมาะแก่การทำจิตใจให้สงบและทำพีธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา มัสยิด กลางแห่งนี้โดดเด่นจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่อยู่บนภูเขาในสวนสาธารณะหาดใหญ่กันเลยทีเดียว หากใครได้มาจังหวัดสงขลาแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะมาชมความงดงามของ มัสยิดกลางแห่งนี้  มัสยิดแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า " ทัชมาฮาลเมืองไทย "  ยิ่งมาในช่วงเวลาเย็นค่ำมัสยิดเปิดไฟสว่างมีฉากหลังของ ท้องฟ้าเปลี่ยนสีในยามเย็นงดงามยิ่งนัก และปฏิบัติศาสนกิจ
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร   ณ ร้านน้ำเคียงดิน   อ.สิงหนคร จากนั้น
  • 14.30 น. ชมสุสานของสุลต่านสุไลมาน ณ มรหุ่ม (อดีตเจ้าเมืองสงขลา) ที่ฝังศพของสุลต่านสุไลมาน เป็นที่รู้จักกันในนามของ "ทวดหุ่มหรือมรหุ่ม" ประชาชนทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม ให้ความเคารพนับถือกันมากในฐานะที่เป็นทวดหรือเทวดา
  • 15.30 น. ชมวิถีชีวิตของชุมชนคนหัวเขา (หมู่บ้านอิสลามหัวเขาแดง สงขลาเมืองเก่า) เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นช่วงที่เมืองสงขลารุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางของการค้าขายมีทั้งชาวจีนและตะวันตกที่เข้ามาค้าขายในเมืองสงขลาขณะเดียวกันก็สามารถรวบอำนาจของเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราชเอาไว้ได้ด้วย มีท่านสุลต่าน สุไลมาน หรือพระเจ้าเมืองสงขลาเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง ท่านได้สร้างกำแพง ป้อม คูเมืองและหอรบไว้อย่างแข็งแรง แต่ในภายหลังคือสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช ได้ให้ทัพของกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเผากำแพงเมืองจนชนะ จากนั้นก็สั่งให้ทำลายเมืองให้ราบ เพราะเกรงว่าจะก่อกบฏแข็งเมืองขึ้นอีก ดังนั้นจึงทำให้เหลือซากกำแพงเมือง และป้อมต่างๆเพียงเล็กน้อย
  • 16.00 น. เยี่ยมชมประวัติความเป็นมาของชนภาคใต้ ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ส่วนของคติชนวิทยา   ตั้งอยู่ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาคใต้ แบ่งออกเป็น 4 อาคาร โดยแต่ละอาคารจะแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ โบราณวัตถุที่เกิดจากภูมิปัญญา ของคนในท้องถิ่น เครื่องประดับศาตราวุธที่ใช้กันในภาคใต้ เช่น กริช มีดชายธง มีดหางไก่  แสดงผ้าทอพื้นเมือง เช่น ผ้าทอพุมเรียง ผ้าทอปัตตานี ห้องแสดงกระต่ายขูดมะพร้าวรูปทรงต่าง ๆ ที่มีรูปแบบหาชมได้ยากห้องแสดงการละเล่นพื้นเมือง เช่น หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า ห้องแสดงวิถีชีวิตชาวใต้ เช่น การแสดงการละเล่นและของเล่นเด็กเช่น การเล่นซัดราว การเล่นว่าว ลูกข่าง ห้องแสดงประเพณีการบวชห้องแสดงการรักษาพยาบาลแบบโบราณสถาบันมีห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยวห้องสัมมนา และร้านขายสินค้าพื้นเมือง เช่น หัตถกรรมกระจูด หัตถกรรมปาหนัน หัตถกรรมย่านลิเพา ผ้าทอเกาะยอ ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เครื่องเงิน เป็นต้น สถาบันได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทแหล่งท่องเที่ยวดีเด่นทางวัฒนธรรมและ โบราณสถาน ปี 2543
  • 17.30 น. ชมและเลือกซื้อสินค้าท้องถิ่น ณ ตลาดเกาะยอ
  • 18.00 น. รับประทานอาหาร  ณ ร้าน เจ๊ะกา อ.หาดใหญ่  จากนั้นเดินทางกลับที่พัก

วันที่สาม สงขลา – ปัตตานี

  • 08.30 น. คณะออกเดินทางจากที่พัก สู่ จ.ปัตตานี จากนั้น
  • 10.30 น. เยี่ยมชมมัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ
  • 11.00 น. ศาลเจ้าแม่ลิ่มก่อเหนี่ยว เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี
  • 11.30 น. เยี่ยมชม มัสยิดกรือแซะ  มรดกอารยะธรรมแห่งมหานครปัตตานีชมสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลาง มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้เป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือเซ๊ะ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งประตูหรือเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงามภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์
  • 11.45 น. สุสานพญาอินทิรา มุสลิมคนแรกของเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เหนือหลุมฝังศพมีหินแกรนิตสลักเป็นรูปก้อนเมฆ และมีอักษรภาษาอาหรับกำกับอยู่ บริเวณนี้เคยขุดพบเครื่องใช้ของคนรุ่นโบราณมากมาย สุสานพญาอินทิรา หรือที่ชาบ้านเรียกว่า “กูโบรายามะรือเก๊าะ” เป็นสถานที่ฝังพระศพของอดีตกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหลิฆัย ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เป็นผู้สร้างเมืองปัตตานีดารัสลาม (นครแห่งสันติ) ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๒ – ๒๐๕๗ เพื่อใช้เป็นเมืองท่าทำการค้าขายกับนานาประเทศ และเป็นกษัตริย์องค์แรกที่เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพุทธ เข้ารับศาสนาอิสลาม หลังจากเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว เฉลิมพระนามใหม่ว่า สุลต่านอิสมาเอลซาห์
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร ณ หาดตะโล๊ะกาโป ชายหาดที่ขาวสะอาด  จุดเด่น หาดทรายทอดตัวยาวขนานไปกับทิวสนร่มรื่น มีสายน้ำพาคลื่นเคลื่อนมากระทบฝั่ง ในวันที่อากาศปลอดโปร่งน้ำทะเลจะมีสีคราม ทรายเป็นสีทองสวยงามมาก เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ หากเลยไปยังหมู่บ้านประมงจะมีเรือกอและจอดเรียงรายอยู่เป็นทิวแถว ซึ่งชาวบ้านแถบนี้จะพาเรือออกไปทำประมงแล้วนำกลับมา โดยจะลากขึ้นมาเก็บในช่วงเช้าๆ สถานที่พักแรม บริเวณชายหาดยังไม่มีจุดพักแรม และปฏิบัติภารกิจทางศาสนา
  • 13.00 น. เยี่ยมชมวังเก่ายะหริ่ง สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๘ ปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ผู้สร้างคือ พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม  เป็นอาคารสองชั้น ครึ่งบนปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิม ผสมกับแบบยุโรป อาคารเป็นรูปตัวยู  ชั้นบนจัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของเจ้าเมือง และครอบครัวข้างละ 4 ห้อง  ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนสูง  บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียวแดงและน้ำเงิน  ช่องระบายอากาศและจั่วทำด้วยไม้ฉลุลาดลายเป็นพรรณพฤกษาตามแบบศิลปะชวา  และศิลปะตะวันตก  ทำให้ตัววังสง่ามาก  ตัววังยังมีสภาพสมบูรณ์ดีถึงปัจจุบัน
  • 13.30 น. เยี่ยมชมมัสยิดรายอ หรือ มัสยิดรายอฟาฎอนี ต.จะบังติกอ อ.เมือง ซึ่งเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมมลายูยุคเก่า มัสยิดรายาจะบังติกอ ซึ่งเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมมลายูยุคเก่า โครงสร้างทำด้วยไม้จืองาทั้งหลัง มุงด้วยหลังคาที่ทำมาจากกระเบื้องดินเผา ผ่านการซ่อมแซมบูรณะหลายชั่วอายุคน แต่ยังเหลือเค้าของเดิม มัสยิดหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยสุลต่านมูฮำมัด  หรือ ตนกูบือซา ในปี พศ. 2374 เป็นสุเหร่าเพื่อใช้ปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิม มาถึงในสมัยตนกูสุไลมาน ( ตนกูบอซู ) พระอนุชาของตนกูบือซา ได้มีการบูรณะสร้างเป็นมัสยิดรายอปาฏอนี โดยมีช่างจากบ้านตาแก๊ะ  ลวดลายต่างๆ เช่น ลายเถาวัลย์ อันบ่งบอกถึงวัฒนธรรมมลายูผสมผสานอินเดียยุคดั้งเดิม ประตูมัสยิดทำด้วยไม้จืองา ท้าลมร้อนลมฝนมายาวนานเกือบ 200 ปีได้อย่างแรงกล้า
  • 15.30 น. เดินทางเข้าที่พัก 
  • 18.00 น. รับประทานอาหาร ณ ห้องอาหารโรงแรมที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย


วันที่สี่ ปัตตานี – เดินทางกลับ

  • 07.30 น. รับประทานอาหาร จากนั้นเดินทาง
  • 08.45 น. เยี่ยมชม วัดมุจลินทวาปีวิหาร วัดตุยง พระอารามหลวง ศูนย์กลางการปกครองเมืองหนองจิกเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งจวนเจ้าเมืองและที่ว่าการของผู้ว่าราชการเมืองมาหลายสมัย วัดตุยงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งให้กำเนิดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมแห่งแรกของมณฑลปัตตานี จากการที่ วัดมุจลินทวาปีวิหาร ได้มีการปรับปรุงกิจการจนเกิดความรุ่งเรืองก้าวหน้า เป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอก ประเทศ จึงทรงมีพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดมุจลินทวาปีวิหารขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
  • 09.30 น. นำท่านชม  มัสยิดโบราณ 300 ปี  ปีแห่งนี้จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของพ่อท่านศรีแก้วกับโต๊ะอิหม่ามในยุคนั้น โดยสร้างแบบศิลปะประยุกต์ ผสมผสานระหว่างพุทธกับมุสลิม ภายในมีสถานที่ในการประกอบพิธีละหมาด แต่เมื่อมองจากภายนอกจะคล้ายคลึงกับโบสถ์ในศาสนาพุทธ"
  • 10.30 น. เลือกซื้อของที่ระลึก จากศูนย์โอท็อป
  • 11.45 น. เดินทางกลับที่หมายและถึงที่หมาย

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com