ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
สันทนาการและการบันเทิง
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
การท่องเที่ยวกลางคืน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
สิ่งอำนวยความสะดวก
สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล
บริษัททัวร์
สายการบิน
ททท.สำนักงานจังหวัด
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 7 เที่ยวสวนประวัติศาสตร์ – ชมคฤหาสน์กูเด็น – เน้นกรุงกัวลาฯ สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ – วัดแหลมพ้อเกาะยอ สุลต่านสุไลมาน ณ มรหุ่ม สิงหนคร – สถาบันทักษิณศึกษา -หาดสมิหลา หาดชลาทัศน์ มัสยิดกลางสงขลา – ชมย่านสตูลเมืองเก่า – ชมคฤหาสน์กูเด็น ชมมัสยิดกลางสตูล – กรุงกัวลาลัมเปอร์ – เมืองปุตราจายา
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

กำหนดการเดินทาง

วันแรก หาดใหญ่ – สงขลา

  • 08.30 น. คณะออกเดินทางจากที่พักหาดใหญ่ สู่สงขลา เพื่อเยี่ยมชม
  • 09.00 น. สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อ.เมือง ชมหอประวัติศาสตร์พลเอกเปรม และเดินป่าศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนตามเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติรอบทะเลสาบสงขลา
  • 10.30 น. ข้ามสะพานเปรม ติณสูลานนท์ ชมวิวทิวทัศน์ของะพานและทะเลสาบสงขลา 
  • 11.00 น. ชมพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ที่วัดแหลมพ้อเกาะยอ วัดเก่าแก่กว่า 200 ปี ครั้งหนึ่งในอดีตพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงประพาสทางน้ำขึ้นที่ท่าเรือหน้าวัด อีกทั้งมีประติมากรรมที่เก่าแก่ที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและมีพระพุทธรูปปางปรินิพพานองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมันรัตนโกสินทร์ตอนต้น  “อุโบสถ” ที่มีรูปแบบศิลปกรรมตามพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอุโบสถมีระเบียงโดยรอบ
  • 11.30 น. เที่ยวชมสถาปัตยกรรมบ้านทรงไทยปักษ์ใต้ที่วัดท้ายยอ สมัยรัชกาลที่ 1 วัดท้ายยอ เป็นวัดที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมล้ำค่า ควรค่าแก่การอนุรักษ์และหวงแหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กุฏิแบบเรือนไทยปั้นหยา" อายุกว่า 200 ปี หลังคา ใช้กระเบื้องดินเผาเกาะยอและกระเบื้องลอนแบบเก่า มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เสาเรือนกุฏิจะไม่ฝังลงในดินแต่จะตั้งอยู่บนตีนเสาซึ่งเป็นที่รองรับเสาอันเป็นลักษณะเฉพาะของบ้านชาวไทยในภาคใต้เท่านั้น
  • 12.00 น. ชมวิถีชีวิตของชุมชนคนเกาะยอ การเลี้ยงปลาในกระชังและการทอผ้าเกาะยอ   
  • 12.30 น. รับประทานอาหาร ร้านอิสลาม ณ สิงหนคร
  • 13.00 น. ชมสุสานสุลต่านสุไลมาน ณ มรหุ่ม  ที่ฝังศพของสุลต่านสุไลมาน เป็นที่รู้จักกันในนามของ "ทวดหุ่มหรือมรหุ่ม" ประชาชนทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม ให้ความเคารพนับถือกันมากในฐานะที่เป็นทวดหรือเทวดา
  • 15.00 น. เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์คติชนศึกษา ของสถาบันทักษิณศึกษา แหล่งรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ ประวัติศาสตร์และเรื่องราวของผู้คนในภาคใต้      ตั้งอยู่ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาคใต้ แบ่งออกเป็น 4 อาคาร โดยแต่ละอาคารจะแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ โบราณวัตถุที่เกิดจากภูมิปัญญา ของคนในท้องถิ่น เครื่องประดับศาตราวุธที่ใช้กันในภาคใต้ เช่น กริช มีดชายธง มีดหางไก่  แสดงผ้าทอพื้นเมือง เช่น ผ้าทอพุมเรียง ผ้าทอปัตตานี ห้องแสดงกระต่ายขูดมะพร้าวรูปทรงต่าง ๆ ที่มีรูปแบบหาชมได้ยากห้องแสดงการละเล่นพื้นเมือง เช่น หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า ห้องแสดงวิถีชีวิตชาวใต้ เช่น การแสดงการละเล่นและของเล่นเด็กเช่น การเล่นซัดราว การเล่นว่าว ลูกข่าง ห้องแสดงประเพณีการบวชห้องแสดงการรักษาพยาบาลแบบโบราณสถาบันมีห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยวห้องสัมมนา และร้านขายสินค้าพื้นเมือง เช่น หัตถกรรมกระจูด หัตถกรรมปาหนัน หัตถกรรมย่านลิเพา ผ้าทอเกาะยอ ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เครื่องเงิน เป็นต้น สถาบันได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเภทแหล่งท่องเที่ยวดีเด่นทางวัฒนธรรมและ โบราณสถาน ปี 2543
  • 17.00 น. ช้อปปิ้งสินค้าพื้นเมืองของเกาะยอ ก่อนเดินทางกลับ
  • 18.00 น. เดินทางกลับที่พัก รับประทานอาหาร  ณ ห้องอาหารโรงแรมที่พัก  จากนั้นพักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สอง สงขลา –  สตูล 

  • 08.00 น. เดินทางจากที่พัก เพื่อเยี่ยมชม
  • 08.45 น. หาดสมิหลา หาดชลาทัศน์ ยามเช้า สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงของสงขลา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง หาดสมิหลามีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล หาดทรายขาวละเอียดมากที่เรียกว่า "ทรายแก้ว" มีป่าสนร่มรื่น จากหาดสมิหลาสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของ เกาะหนูเกาะแมว จนมีคำกล่าวว่าใครมาเยือนสงขลาแล้วไม่มาเยือนสมิหลาก็เหมือนมาไม่ถึงสงขลา มีสัญลักษณ์ที่มีชื่อเสียงรูปปั้น นางเงือกทอง เมื่อมองออกไปในทะเลจะเห็น เกาะหนู เกาะแมวอันเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่ง หาดสมิหลาเป็นชายหาดที่มีบรรยากาศสงบ เหมาะสำหรับมาพักผ่อนชมวิว มีชายหาดต่อเนื่อง กัน เรียกว่าแหลมสนอ่อน อยู่เลยหาดสมิหลาไปทางตะวันตก ช่วงของแหลมสนอ่อนจะยาวไปจนถึงสันเขื่อนในทะเล
  • 09.30 น. ชมบ้านเก่าโบราณ กำแพงเมืองสงขลา ย่านสงขลาเมืองเก่า ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง มีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และ ถนนนางงาม เป็นถนนที่ประกอบไปด้วยอาคารและสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวสงขลา ผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรม   เมื่ออดีตราว 200 ปีก่อน ตัวเมืองสงขลาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า "เมืองสงขลา ฝั่งแหลมสน" ย่านเมืองเก่า สงขลา ปัจจุบันถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงามยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ มีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิคสไตล์ ชิโนโปรตุกีส  และยังมีอาคารตึกแถวแบบจีนโบราณของชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่ปะปนกันทั้งสองฟากฝั่งถนน โดยอาคารหลายหลังมี การปรับปรุง ทาสีใหม่ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารอาคารเก่าเหล่านี้สะท้อนภาพการเป็นเมืองสำคัญด้านการปกครอง และทางเศรษฐกิจมา แต่ครั้งสมัยธนบุรีอีกทั้งการเป็นเมืองท่าติดทะเลทำให้ได้รับวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติ ผสมผสาน กันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัวแบบสงขลา ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  • 11.00 น. เยี่ยมชมมัสยิดกลางสงขลา มัสยิดดิย์นุลอิสลาม หรือเรียกสั้นๆว่า มัสยิดกลางสงขลา  ตั้งอยู่ที่   ถนนลพบุรีราเมศวร์   อำเภอ หาดใหญ่ ศูนย์รวมจิตใจของชาวมุสลิม ในสงขลา ต้องบอกว่าที่นี่เป็นมัสยิดที่ใหญ่และอลังการมากภายในตกแต่งได้สวยงาม โล่ง โอ่โถง เหมาะแก่การทำจิตใจให้สงบและทำพีธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา มัสยิด กลางแห่งนี้โดดเด่นจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่อยู่บนภูเขาในสวนสาธารณะหาดใหญ่กันเลยทีเดียว หากใครได้มาจังหวัดสงขลาแล้ว ต้องไม่พลาดที่จะมาชมความงดงามของ มัสยิดกลางแห่งนี้  มัสยิดแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า " ทัชมาฮาลเมืองไทย "  ยิ่งมาในช่วงเวลาเย็นค่ำมัสยิดเปิดไฟสว่างมีฉากหลังของ ท้องฟ้าเปลี่ยนสีในยามเย็นงดงามยิ่งนักจากนั้นเดินทางสู่ตัวเมืองหาดใหญ่
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร ณ ร้านอาหาร ซามี่ คิสเช่น ตัวเมืองหาดใหญ่
  • 13.00 น. เดินทางสู่ จ.สตูล
  • 15.00 น. ชมย่านสตูลเมืองเก่า อาคารร้านค้าเป็นสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิส ซึ่งในอดีตถนนสายนี้ได้ชื่อว่าเป็นย่านการค้าสำคัญ บุรีวานิชถือเป็นถนนสายแรกของเมือง “นครีสโตย” หรือเมืองสตูล ในอดีตเมืองสตูลมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจดี มีการค้ารังนกและพริกไทย ซึ่งเป็นศูนย์การซื้อขายระหว่างปีนังและภูเก็ต  จนทำให้เมืองสตูล ได้ชื่อว่า "นัครีสะโตยมัมบังสการา" (Negeri Setol Mum Bang Seagra) แปลเป็นภาษาไทยว่า เมืองแห่งพระสมุทรเทวา และเป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญในยุคนั้นมาก  
  • 15.30 น. ชมคฤหาสน์กูเด็น รูปทรงอาคารสองชั้นสีขาว เป็นคฤหาสน์แบบสถาปัตยกรรมสไตล์โคโลเนียล ที่อายุยาวนานกว่าร้อยปี ประตูหน้าต่างรูปโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย  บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมด้านบนตกแต่งรูปดาวตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม อยู่ที่ถนนสตูลธานีซอย 5 สร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2441 โดย พระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (ชื่อเดิม กูเด็น บินกูแม๊ะ) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คฤหาสน์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่ไม่ได้ประทับแรม  อาคารหลังนี้เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล เป็นอาคารสวยงาม เชิดหน้าชูตาเมืองสตูลเป็นอย่างมาก และเคยเป็นสถานที่สำคัญๆ ของทางราชการ
  • 16.00 น. ชมมัสยิดกลางสตูล ตั้งสง่าโดดเด่นด้วยหอคอยเป็นยอดโดมสูงสีทอง  มัสยิดมำบังเป็นมัสยิดกลางตัวเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมหอคอย หรือ หออาซาน ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของมัสยิด ซึ่งแต่เดิมไว้ใช้ตะโกนบอกให้มุสลิมละหมาด มัสยิดบำบัง  มีชื่อเดิมว่า "มัสยิดเตองะห์" หรือ "มัสยิดอากีบี" ได้สร้างในสมัยเจ้าเมืองสตูลคนแรก ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูล  และปฏิบัติศาสนกิจ
  • 18.00 น. รับประทานอาหาร ร้านสุชาดา  ในตัวเมืองสตูล ก่อนเข้าที่พัก

วันที่สาม สตูล – มาเลเซีย(กัวลาลัมเปอร์)

  • 07.00 น. รับประทานอาหาร ณ ห้องอาหารโรงแรม จากนั้นเดินทางสู่ด่านวังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล สู่รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียเพื่อเดินทางสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ต่อไป
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร ณ เมืองอิโปร์ รัฐเปรัค จากนั้นเดินทางต่อ
  • 16.00 น. ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ นำคณะชมมัสยิดกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ และปฏิบัติศาสนกิจ ชมและถ่ายรูกับตึกปิโตรนัส (ตึกแฝด)เมอร์เดก้าสแควร์ สนามที่เคยใช้ในการประกาศอิสรภาพ จากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังฤกษ ชมอาคารสุลต่านอับดุลซามัท (เดิมเป็นที่ทำการของทหารอังฤกษ ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารมรดกโลกแล้ว)
  • 18.00 น. รับประทานอาหาร จากนั้นเข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สี่   กรุงกัวลาลัมเปอร์ – เมืองปุตราจายา – เดินทางกลับ
  • 07.00 น. รับประทานอาหาร จากนั้นนำคณะช้อปปิ้งของฝากพื้นเมืองของมาเลเซีย จากนั้น
  • 08.30 น. เดินทางสู่เมืองปุตราจายา เมืองศูนย์บริหารแห่งใหม่ของมาเลเซีย
  • 09.00 น. ชมสะพานปุตรา และทะเลสาบปุตรา  อาคารรัฐสภา  มัสยิดสีชมพู สร้างด้วยหินอ่อนที่สวยงาม
  • 11.45 น. อาคารที่ทำการของกระทรวงต่างๆ
  • 12.00 น. รับประทานอาหาร จากนั้นเดินทางกลับ
  • 17.30 น. ถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ

                                         ***โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com