ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
ข้อมูล ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูลทั่วไป
เส้นทางท่องเที่ยวโดยนักวิจัย
สถานที่ท่องเที่ยว
ประเภทธรรมชาติ
ประเภทประวัติศาสตร์ และศาสนา
ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
เส้นทางท่องเที่ยวโดยทัวร์อื่นๆ
รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด
รายชื่อมัสยิด
โรงแรม / ที่พัก
โฮมสเตย์
โรงแรม รีสอร์ท และสปา
คอนโด อพาร์ทเม้นต์ และแมนชั่น
ร้านอาหาร
ร้านอาหาร
เบเกอรี่
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ศิลปะหัตถกรรม
ธุรกิจขนาดกลาง/ ขนาดย่อม
กลุ่มอาชีพ / สินค้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาล
การคมนาคม
การเดินทางเข้าสู่ตำบล
 

 

 

 

 

เส้นทางที่ 3 , เที่ยวโครงการพระราชดำริ ชมมัสยิดกลาง เยี่ยมตำหนักทักษิณราชนิเวศน์-ชุมชนมุสลิมบ้านทอน - วัดเขากง - อ่าวมะนาว - ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ - ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง - มัสยิดยุมอียะห์ - พุทธมณฑล 3 เชื้อชาติ - ชุมชนประมงบาเละฮิเล - ชมมัสยิดกลางปัตตานี
 
 
ข้อมูลทั่วไป :

เส้นทางที่ 3 , เที่ยวโครงการพระราชดำริ ชมมัสยิดกลาง เยี่ยมตำหนักทักษิณราชนิเวศน์-ชุมชนมุสลิมบ้านทอน - วัดเขากง - อ่าวมะนาว - ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ - ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง - มัสยิดยุมอียะห์ - พุทธมณฑล 3 เชื้อชาติ - ชุมชนประมงบาเละฮิเล - ชมมัสยิดกลางปัตตานี

กำหนดการเดินทาง 3 วัน- 2 คืน

วันแรก   นราธิวาส - สัมผัสธรรมชาติ และศิลปะท้องถิ่น
07.30 น. บริการอาหาร ณ ที่พัก จากนั้น
08.30 น. ชมวิถีชีวิตชาวเมืองนรา (ตลาดเช้า) บริเวณตรงกันข้ามกับโรงแรมอิมพีเรียล
09.15 น. ชมหัตถกรรมจักสาน/ การต่อเรือกอและ และการผลิตเรือกอและจำลอง ณ ชุมชนมุสลิมบ้านทอน เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ใน จ.นราธิวาส  ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลในเขต ต.โคกเคียน อ. เมือง  ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาอิสลามและส่วนหนึ่งประกอบอาชีพการทำประมงพื้นบ้าน หมู่บ้านทอนเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดชายทะเล คือชายหาดบ้านทอนซึ่งเป็นชายหาดยาวขาวสะอาดและยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน ประมง อาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทำการประมงเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นยังใช้เวลาว่างประ ดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่นการทำเรือกอและจำลอง การสานเสื่อจากใบกระจูด ซึ่งปัจจุบันเป็น ของสินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส
10.00 น.    นมัสการพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล  พระพุทธรูปปางประทานพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนราธิวาส ณ วัดเขากง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง วัดเขากง และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทอง ประทับนั่งปางประทานพร อยู่บนยอดเขา วัดเขากงตั้งอยู่ในตำบลเขากง มีเนื้อที่กว้าง 142 ไร่ พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์พระเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา นอกจากองค์พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลแล้ว ยังมีพระอุโบสถและเจดีย์สิริมหามายา เป็นรูประฆัง ภายในโปร่ง บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์
12.00 น. รับประทานอาหาร ณ ร้านบังลี  จากนั้นเดินทางสู่ อ.ตากใบ
13.30 น. เยี่ยมชมวัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ ชมจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารเก่าเมื่อครั้งอังกฤษได้มลายูเป็นเมืองขึ้นนั้น อังกฤษพยายามจะรวมเมืองนราธิวาสไว้ในเขตมลายูด้วย แต่ ทว่าทางไทยเราได้อ้างว่าหัวเมืองนี้เป็นของไทยมานาน โดยยกเอาวัดชลธาราสิงเห ที่อำเภอตากใบ ซึ่งเป็น วัดไทยมาเป็นข้ออ้าง อังกฤษจึงยอมให้นราธิวาส รวมอยู่ในเขตของไทย ในบริเวณวัดชลธาราสิงเห มีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาศิลปะฝีมือแบบไทยปักษ์ใต้ เป็นจุดเด่น และงดงามหลายชิ้น ในโบสถ์เก่าซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเขียนโดยฝีมือพระภิกษุชาวสงขลางดงามมาก และถ่ายทอดรูปแบบชีวิตวัฒนธรรมความเป็น อยู่ท้องถิ่นปักษ์ใต้ไว้เด่นน่าสนใจเป็นพิเศษ 
14.30 น. นั่งเรือเฟอรี่ข้ามฟาก เลือกซื้อของ ณ ด่านตาบา และสัมผัสวิถีชีวิตและการค้าขายชายแดนของประชาชนทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำตากใบ(ชายแดนไทย – มาเลเซีย)
15.30 น. เที่ยวชม อ่าวมะนาว นั่งพักผ่อนชมทัศนียภาพอันสวยงามของอ่าว / แวะชมวิธีการทำผ้าบาติกและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติก
16.00 น. ชมศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ อ.สุไหงโก-ลก เดิมทีเจ้าแม่โต๊ะโมะนี้ประดิษฐานอยู่ที่บ้านโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน ต่อมาชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่อำเภอสุไหงโกลก เป็นที่นับถือของชาวสุไหงโกลก และชาวจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวจีนในประเทศมาเลเซียเป็นอย่างมากทุกๆ ปี  จะมีการจัดงานประเพณีประจำปีที่บริเวณศาลเจ้า  ตรงกับวันที่ 23 เดือนสามของจีน (ประมาณเดือนเมษายน) 
17.00 น. เดินทางกลับ  
18.00 น. บริการอาหาร ณ ห้องอาหารโรงแรม จากนั้นพักผ่อน ตามอัธยาศัย 

วันที่สอง นราธิวาส - ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง - มัสยิดยุมอียะห์ 
07.00 น. บริการอาหาร ณ ที่พัก จากนั้นเดินทางสู่
08.30 น. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริแหล่งเรียนรู้/สร้างความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร(เศรษฐกิจพอเพียง)
10.00 น. เยี่ยมชมตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ แวะศูนย์ศิลปาชีพซึ่งเป็นแหล่งฝึกงานพร้อมทั้งจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก
12.00 น. บริการอาหาร ณ ร้านบังลี หรือ ... จากนั้น ปฎิบัติภารกิจทางศาสนา 
13.30 น. เยี่ยมชมมัสยิดยุมอียะห์ (มัสยิดประจำจังหวัดหลังเก่า) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 อยู่ใกล้สี่แยกหอนาฬิกา มีเนื้อที่ 2 ไร่เศษ เป็นมัสยิดเก่าแก่ของจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "มัสยิดรายอ" คำว่ารายอ หมายถึงเจ้าเมือง เนื่องจากเป็นมัสยิดของพระยาภูผาภักดี และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับหอนาฬิกาเมืองนรา
14.20 น. เยี่ยมชมพุทธมณฑล 3เชื้อชาติ(ไทย-มุสลิม-จีน) 
15.00 น. เยี่ยมชมชุมชนประมงบาเละฮิเล และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของประมงพื้นบ้าน
16.30 น. บริการอาหาร ณ ห้องอาหารโรงแรม ที่พัก ....พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สาม  นราธิวาส - ปัตตานี (มัสยิดกลางปัตตานี ) - หาดใหญ่
07.30 น. บริการอาหาร จากนั้นออกเดินทางสู่ จ.ปัตตานี
08.45 น. แวะเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวนรา ณ ตลาดเช้า จากนั้นเดินทางสู่ จ. ปัตตานี
09.30 น. แวะเยี่ยมชมมัสยิดกลางปัตตานี ที่สวยงาม ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปีและทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดียตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศมีหอคอยอยู่สองข้างบริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถงมีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ
12.00 น. บริการอาหาร ณ ห้องอาหารบุหงารายา หลังปฏิบัติศาสนกิจ เดินทางสู่ อ.หาดใหญ่
14.00 น. ถึงสนามบินหาดใหญ่ เดินทางกลับที่หมาย และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพด้วยรอยยิ้มและความประทับใจ

***โปรแกรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม***

 

 

แผนที่ : 
 

 

 

 

   
หน้าหลัก | ข้อมูล 5 จังหวัดชายแดนใต้ | เส้นทางท่องเที่ยวอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | เส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ | รายงานสรุปแต่ละจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา บุนนาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถนนเจริญประดิษฐ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
มือถือ 081-6980383 โทรศัพท์ +66-73-313-929 Fax+ 66-73-312-232
E-mail Address : saranya.b@psu.ac.th; bsaranya70@hotmail.com
---------------------
Developed and Designed by ME-FI dot com